หากใช้วิถีชีวิตตามหลัก“นาฬิกาชีวิต”สุขภาพก็ดีตามได้!!

WM

การจัดการนาฬิกาชีวิต ที่หลายคนมักมองข้าม จนส่งผลเสียต่อสุขภาพ
ปัจจุบันนี้การใช้ชีวิตที่ต้องมีการปรับพฤติกรรมให้ได้ตามหลัก “นาฬิกาชีวิต” อาจต้องใช้เวลาสักหน่อย หรืออาจจะลองช่วงเวลาที่เราคิดว่าทำได้ง่ายสุดดูก่อน จากนั้นค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมให้ได้ตามช่วงเวลาอื่น ๆ เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นนั่นเองนอกเหนือจากการกินอาหารที่มีประโยชน์ และการออกกำลังกายแล้ว สิ่งที่หลายๆ คน มักจะละเลยไป โดยเฉพาะในวัยรุ่นหนุ่มสาว นั่นคือการจัดการนาฬิกาชีวิต ที่ไม่ให้ผิดเพี้ยน

ด้วยเหตุผลจากปัจจัยต่างๆ นานา เช่น หน้าที่การงาน ความเครียด หรือสิ่งเร้ารอบๆ ตัวแต่รู้ไหมครับว่า หากเรามีการจัดการนาฬิกาชีวิต ที่ผิดเพี้ยน ไปดำเนินในรูปแบบที่ร่างกายควรจะเป็น มันจะส่งผลเสียอย่างมากกับร่างกายของเรา เพราะร่างกายของคนเรานั้น มีการจัดการนาฬิกาชีวิต อยู่ ซึ่งระบบของร่างกายจะทำงานตามกลไก ที่สัมพันธ์กับช่วงเวลา และกิจกรรมต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ด้วยเหตุนี้ เราจึงพามาทำความรู้จักกับนาฬิกาชีวิต เพราะความสำคัญใน การจัดการนาฬิกาชีวิต ที่เราหลายคนมักมองข้ามนั้น ส่งผลกับสุขภาพในระยะยาวเลยทีเดียว

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@kellysikkema

21.00 – 23.00 น. ช่วงเวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่ควรเริ่มต้นการนอนหลับอย่างจริงจัง เพราะร่างกายเริ่มหลั่งสารเมลาโทนิน ซึ่งมีส่วนในการปรับสมดุลร่างกาย ปกป้องเซลล์ผิวจากอนุมูลอิสระ ทำให้การนอนหลับในช่วงเวลานี้ ส่งผลดีในการชะลอความแก่ชรา
23.00 – 01.00 น. ช่วงเวลานี้ ตับจะเริ่มทำงาน ด้วยการผลิตน้ำดี ออกมาย่อยสลายไขมันที่ลำไส้เล็ก หากช่วงนี้เราหลับสนิท ร่างกายจะย่อยไขมันตกค้างได้ดีขึ้น ทำให้ไม่เกิดโรคอ้วนตามมา
01.00 – 03.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายกำจัดสารพิษตกค้างในร่างกายได้อย่างเต็มที่ ในช่วงเวลานี้ ควรเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้หลับสนิท ทว่า การนอนไม่หลับในช่วงเวลานี้ เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจล้มเหลวได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/congerdesign-509903/

3.00 – 5.00 น. ช่วงเวลาใกล้รุ่งสาง เป็นช่วงเวลาที่ปอดจะทำงานได้ดีที่สุด จึงควรตื่นนอนมารับอากาศบริสุทธิ์ในช่วงเวลานี้
6.00 – 7.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายหลั่งสารคอร์ติซอล เพื่อให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า จึงควรดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น
7.00 – 9.00 น. ช่วงเวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่ร่างการ ต้องการพลังงานอย่างยิ่งยวด หลังจากท้องว่างมาแล้วหลายชั่วโมง ดังนั้นช่วงเวลานี้ จึงควรรับประทานอาหารเช้า

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/pexels-2286921/

9.00 – 11.00 น. ร่างกายเริ่มตื่นตัว และพร้อมสำหรับการทำงานหรือกิจกรรมอื่น ๆ
11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาที่หัวใจทำหน้าที่ สูบฉีดเลือด และสารอาหาร ไปหล่อเลี้ยงร่างกาย

13.00 – 15.00 น. ช่วงเวลานี้ ลำไส้เล็กกำลังทำหน้าที่ดูดซึมอาหาร หากไม่ได้กินมื้อเที่ยง จะรู้สึกหิวมากเป็นพิเศษ
15.00 – 17.00 น. หลอดเลือดหัวใจ และกล้ามเนื้อเริ่มทำงาน ช่วงเวลานี้จึงเหมาะกับการออกกำลังกาย
17.00 – 19.00 น. ช่วงเวลานี้ ไตกำลังทำหน้าที่กรองของเสีย และรักษาสมดุลในร่างกาย ควรงดการดื่มน้ำเย็น และไม่ควรนอนหลับในเวลานี้ เพราะจะทำให้ตื่นมากลางดึกและนอนไม่หลับ
19.00 – 21.00 น. ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้เต็มที่ อุณหภูมิในร่างกายจะสูงขึ้น ช่วงเวลาก่อนนอนนี้ ควรทำใจสบาย ๆ อ่านหนังสือ สวดมนต์ หรือนั่งสมาธิ ให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย

นอกจากจะกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หมั่นออกกำลังกาย และนอนให้เพียงพอแล้ว DooDiDo คิดว่าการรู้เรื่องนาฬิกาชีวิตก็ช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้นได้นะค่ะ เมื่อเราปฏิบัติได้และรู้จัก การจัดการนาฬิกาชีวิต ร่างกายย่อมทำงานได้เป็นปกติ และสามารถทำกิจกรรมในแต่ละวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลระยะยาว ต่อการมีสุขภาพที่ดีขึ้น ไม่แก่ง่าย ร่างกายแข็งแรง รู้อย่างนี้แล้ว เรามาดำเนินชีวิต ด้วยรูปแบบของนาฬิกาชีวิตกันดีกว่า

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.webkios.info