เกียร์ CVT คืออะไร ต่างจากเกียร์อัตโนมัติปกติอย่างไร

เกียร์ CVT

เกียร์ CVT ด้วยวิวัฒนการที่ก้าวหน้าทำให้ยานยนต์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ออกมามากมาย และหนึ่งเรื่องที่เราพบได้บ่อย ๆ กับระบบที่พัฒนาก็คือระบบใช้เกียร์ โดยปกติเราจะรู้จักเกียร์อัตโนมัติ (Auto) และเกียร์ธรรมดา (Manual) กันดีอยู่แล้ว แต่ในส่วนของระบบเกียร์ CVT หลายคนอาจยังสงสัยว่ามันคืออะไร มีความแตกต่างจากเกียร์ออโต้ยังไง และมีข้อดีอะไร วันนี้เราจะมาทำความรู้จักและความเข้าใจเจ้าเกียร์ CVT กัน

เกียร์ CVT คืออะไร

เกียร์ CVT ก็คือ เกียร์อัตโนมัติรูปแบบหนึ่งที่มีอัตราทดแปรผันตามความเร็ว ซึ่งเพิ่งจะได้รับความนิยมเมื่อไม่นานมานี้ แต่เกียร์ CVT หรือชื่อเต็ม ๆว่า  Continuously Variable Transmission นั้นมีเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1490 โดย ลีโอนาร์โด ดาวินซี  และมีการจดสิทธิบัตรอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1886 โดยผู้ผลิตรถยนต์แบรนด์หรูยี่ห้อหนึ่ง ก่อนจะเริ่มได้รับความนิยมในช่วงหลัง โดยเฉพาะกลุ่มรถยนต์ขนาดเล็กและขนาดกลาง

เกียร์ CVT

ความแตกต่างของเกียร์ CVT กับเกียร์ออโต้ และเกียร์ธรรมดา 

ความแตกต่างของเกียร์ CVT กับเกียร์ออโต้ และเกียร์ธรรมดา ก็คือ ในเกียร์ออโต้ และเกียร์ธรรมดา เวลาเปลี่ยนเกียร์ภายในเกียร์จะเปลี่ยนและเลื่อนการขบกันของเฟืองไปยังชุดเกียร์ต่างๆ เพื่อให้ทำงานตามอัตราทดของเกียร์นั้นๆ ซึ่งสามารถสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้จากรอบของเครื่องยนต์ ส่วนเกียร์ CVT นั้น จะไม่มีชุดเฟืองในแต่ละเกียร์ แต่จะปรับอัตราทดด้วยการเปลี่ยนขนาดของพูลเลย์ ที่จะขยายใหญ่หรือลดขนาดไปตามอัตราทดที่ต้องการ เพื่อให้ได้แรงบิดในการออกตัวแทน ซึ่งระบบการปรับขนาดของพูลเลย์นี้มีทั้งแบบทำงานโดยไฟฟ้าและระบบไฮดรอลิก ทำให้นุ่มนวลในการปรับเปลี่ยนอัตราทดในเกียร์ CVTก็คือ ในเกียร์ออโต้ และเกียร์ธรรมดา เวลาเปลี่ยนเกียร์ภายในเกียร์จะเปลี่ยนและเลื่อนการขบกันของเฟืองไปยังชุดเกียร์ต่างๆ เพื่อให้ทำงานตามอัตราทดของเกียร์นั้นๆ ซึ่งสามารถสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้จากรอบของเครื่องยนต์ ส่วนเกียร์ CVT นั้น จะไม่มีชุดเฟืองในแต่ละเกียร์ แต่จะปรับอัตราทดด้วยการเปลี่ยนขนาดของพูลเลย์ ที่จะขยายใหญ่หรือลดขนาดไปตามอัตราทดที่ต้องการ เพื่อให้ได้แรงบิดในการออกตัวแทน ซึ่งระบบการปรับขนาดของพูลเลย์นี้มีทั้งแบบทำงานโดยไฟฟ้าและระบบไฮดรอลิก ทำให้นุ่มนวลในการปรับเปลี่ยนอัตราทดในเกียร์ CVT

ข้อดีและข้อเสียของเกียร์ CVT

  • ข้อดีของเกียร์ CVT

เพราะเกียร์ CVT ที่ใช้พูลเลย์เป็นจำนวน 2 ตัวจึงช่วยให้ขยายขนาดศูนย์กลางของแกนเมื่อปรับอัตราทดตามความเร็วแทนชุดเฟืองเกียร์ได้ไม่สะดุด ราบรื่น และสูญเสียกำลังน้อยกว่า จึงทำให้ประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น 

นอกจากนี้ ยังมีขนาดกะทัดรัดเมื่อเทียบกับเกียร์อัตโนมัติแบบปกติ ทำให้ใช้พื้นที่ในการติดตั้งไม่มาก จึงสามารถออกแบบส่วนของห้องโดยสารให้กว้างขวางขึ้นได้ หรือใช้ติดตั้งในรถขนาดเล็กก็ง่ายขึ้นด้วย

  • ข้อเสียของเกียร์ CVT

เพราะมีชิ้นส่วนเคลื่อนไหวน้อย จึงมีข้อจำกัดในแง่ของการใช้งานเกียร์ CVT ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รองรับการขับขี่อย่างรุนแรงหรือใช้งานหนัก ดังนั้นหากไม่มีความจำเป็นก็ควรขับขี่อย่างนุ่มนวล เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของเกียร์ CVT

ปัญหาเกียร์ CVT ที่พบบ่อย

  1. เกิดความร้อนในระบบเกียร์สูง

เนื่องจากใช้ชุดพูลเลย์ 2 ตัว และสายพานนั้นต้องหมุนอยู่ตลอดเวลา จึงต้องอาศัยระบบหล่อเย็นเพื่อระบายความร้อน หาก เกิดความร้อนสูง ซึ่งสังเกตได้จากกลิ่นไหม้ภายในรถ

  1. น้ำมันเกียร์รั่วซึม

ระบบเกียร์ CVT ก็เหมือนกับระบบเกียร์ทั่วไป คือยังต้องอาศัยน้ำมันเกียร์ในการหล่อลื่น จึงห้ามปล่อยให้น้ำมันเกียร์ขาดเพราะทำให้เกิดการรั่วซึม ส่งผลให้ระบบเกียร์ตอบสนองช้าลง รวมถึงหากน้ำมันเกียร์มีการปนเปื้อนจะทำให้การทำงาน ไม่ราบรื่น เร่งไม่ขึ้น หรือกระตุก หากรถมีอาการเหล่านี้ควรรีบนำไปตรวจเช็กน้ำมันเกียร์โดยด่วน เกรท วอลล์ มอเตอร์ ร่วมกับ นิด้าโพล เผยผลสำรวจรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 2566

  1. สูญเสียกำลังและความเร็ว

จะมีเร่งไม่ขึ้น หรือกระตุก และสั่นเมื่อเดินคันเร่ง โดยเฉพาะเมื่อเกิดความร้อนสูงในระบบ รถจะสูญเสียกำลังลง

  1. ความทนทาน

หากเทียบกับเกียร์อัตโนมัติแบบปกติความทนทานน้อยหรืออายุการใช้งานสั้นกว่าตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันได้พัฒนาให้ มีความทนทานขึ้นจากเดิมมากจนไม่ต้องกังวลนัก เพียงแต่อาจต้องปรับพฤติกรรมการขับขี่ให้เข้ากับรูปแบบเกียร์ที่ใช้เท่านั้น 

ก็คงพอจะเข้าใจได้ว่าระบบเกียร์ CVT มีความนุ่มนวลในการขับขี่ ไม่กระชาก สามารถขยับอัตราทดเกียร์ได้ดีกว่าเกียร์ Auto มีช่วยในการประหยัดน้ำมัน เหมาะกับการใช้ในเมืองเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่เหมาะกับการขับแบบกระชากเร็วมากแนวขึ้นเขาลงห้วยสักเท่าไร เพราะจะทำให้เครื่องเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ดังนั้นหากคุณจะเลือกรถสักคันก็ควรที่จะหาข้อมูลของระบบสักนิด เพื่อให้เหมาะกับงานใช้งาน และยังช่วยให้รถได้อยู่กับเราไปนานๆ 

ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก: https://rabbitcare.com, www.one2car.com, www.one2car.com

ขอบคุณภาพจาก: www.freepik.com

ติดตามข่าวสารอัพเดตล่าสุดได้ที่: Dodidoo ครบเครื่องเรื่องยานยนต์