มาดู!! ไลฟ์สไตล์การออกกำลังกายของคน generation สู้โควิด

WM

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ น่าจะนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง

ทุกคนต่างรู้ดีกันอยู่แล้วว่าการออกกำลังกายนั้นส่งผลดีต่อร่างกายของเรายังไงบ้าง และในช่วงเวลานี้จะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายจากความเครียดที่มีมาทั้งวัน ช่วยให้เรานอนหลับได้ดีขึ้น แต่มีข้อควรระวังคือไม่ควรออกกำลังกายหนักในตอนเย็น เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายทำงาน และตื่นตัว  ‘ออกกำลังกาย’ ลดความเสี่ยงจากการตายเพราะติดโควิด-19 เชื่อว่าตอนนี้เพื่อนำงานอยู่บ้าน มีเวลาตอนเช้าในการเตรียมตัว การออกกำลังกายเบา ๆ ยามเช้า ไม่ว่าจะไปจ๊อกกิ้งหรือเล่นโยคะอยู่ที่บ้าน ต่างก็มีงานวิจัยยืนยันว่าช่วยกระตุ้นระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้เลือดสูบฉีดไปทั่วร่างกาย และทำให้สมองได้รับออกซิเจนมากยิ่งขึ้น จึงรู้สึกกระฉับกระเฉงตลอดวัน วันนี้เรามี ไลฟ์สไตล์ กับ  Lifestyle การออกกำลังกายของคน generation สู้โควิด  หากเพื่อนๆทุกคน พร้อมกันแล้วละก็ อย่ารอช้าเลย ได้ดูสาระความรู้ดีๆ จากบทความนี้กันเลยค่าาาาา

ออกกำลังกายลดความเสี่ยงจากการตายเพราะติดโควิด-19

มีการศึกษาที่ระบุให้การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ น่าจะนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 ตอนนี้ทุกคนพูดกันและเครียดกันมากเพราะจำนวนผู้ติดเชื้อ ป่วย และเสียชีวิตจากโควิด-19 มีแต่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งมีความเป็นไปได้สูงว่า รัฐบาลจะไม่มีทางเลือกอื่นเหลือนอกจากจะต้องประกาศล็อกดาวน์เหมือนเมษายน 2563 ในเร็ววันนี้ก็เป็นได้ ซึ่งความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยนั้นแทบจะไม่อยากนึกถึงเลย

แต่ในขณะเดียวกัน ภาวะที่ควบคุมการระบาดไม่ได้และตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่ไม่สะท้อนข้อเท็จจริง (เพราะตรวจเชื้อโควิด-19 ไม่เพียงพอ) นั้น กำลังทำให้ระบบสาธารณสุขถูก “ท่วม” ทำให้จะต้องมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นไปได้อีกเป็นจำนวนมาก

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@areksan

ประเทศไทยจึงดูแล้วไม่มีทางเลือกมากนัก ในภาวะที่มีวัคซีนไม่เพียงพอและจะไม่เพียงพอต่อสภาวการณ์ต่อไปอีกหลายเดือนข้างหน้า เพราะรัฐบาลเพิ่งเร่งสั่งซื้อวัคซีนที่มีข้อสรุปมานานแล้วว่ามีประสิทธิผลมากที่สุดในการเผชิญกันสายพันธุ์ใหม่ของโคโรนาไวรัสที่กำลังแพร่ระบาดอย่างรุนแรงอยู่ในขณะนี้ ทำให้รู้สึกว่าประเทศไทยนั้นปัจจุบันห่างไกลอย่างยิ่งกับเป้าหมายของรัฐบาลที่จะเปิดประเทศให้ดำเนินชีวิตได้อย่างอย่างปกติภายใน 120 วันที่ได้ประกาศเอาไว้เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2564

ในทางส่วนตัวนั้น ผมคิดว่าจะต้องพยายามดูแลตัวเองให้ดีที่สุดและแม้ว่าบางคนจะได้ฉีดวัคซีนไป 1 เข็มแล้วก็ต้องยอมรับว่ายังได้รับความคุ้มกันที่ไม่สูงมากนัก เห็นได้จากงานวิจัยที่ประเทศอังกฤษที่พบว่าผู้ที่ฉีดวัคซีน AstraZeneca ไปแล้ว 1 เข็มนั้นหลังจากรอให้วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันไปแล้ว 4 สัปดาห์ก็ยังลดความเสี่ยงจากการเป็นโควิด-19 ได้เพียง 49% เท่านั้น หากไปสัมผัสกับสายพันธุ์อัลฟ่าและเพียง 30% เท่านั้นหากไปสัมผัสกับสายพันธุ์เดลต้า (แต่ก็จะลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อแล้วป่วยหนักได้ถึง 86-92% อย่างไรก็ดีไม่มีข้อมูลว่าจะยังแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้มากน้อยเพียงใด)

ทั้งนี้จึงต้องรอการฉีดเข็มที่ 2 ซึ่งจะเพิ่มภูมิคุ้มกันได้อีกเป็น 67-74% ในระหว่างการรอเข็มที่ 2 นั้น ผมคิดว่าเราอาจคาดการณ์ต่อไปอีกได้ว่าจะต้องมีเข็มที่ 3 ตามมาและตามด้วยเข็มต่อไปๆ เป็นประจำทุกปีก็เป็นไปได้ เพราะเรื่องนี้ประเทศอื่นๆ เช่น อิสราเอล สหรัฐ อังกฤษและสิงคโปร์ที่ฉีดวัคซีนให้กับประชาชนจนเกือบครบแล้วกำลังทำการศึกษาหาข้อสรุปอยู่ แต่มีแนวโน้มว่าโควิด-19 นั้นในกรณีที่ “ดี” จะเปลี่ยนจากโรคระบาดที่รุนแรง (pandemic) มาเป็นโรคประจำถิ่น (endemic) ที่สามารถอุบัติขึ้นได้ในวงจำกัดเป็นประจำเช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่หรือไข้เลือดออก เป็นต้น

ดังนั้นเราจึงให้ความสนใจอย่างมากกับงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน British Journal of Sports Medicine เมื่อ 13 เม.ย. 2564 โดยติดตามอาการของผู้ที่ป่วยเป็นโควิด-19 จำนวน 48,440 รายที่สหรัฐ ซึ่งเป็นบุคคลที่มีประวัติ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@barcelocarl

ด้านสุขภาพย้อนหลัง ทำให้สามารถแบ่งออกมาเป็น 3 กลุ่มคือ

  1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามมาตรฐานคือออกกำลังกายให้หัวใจเต้นเร็ว 150 นาทีหรือมากกว่าต่อ 1 สัปดาห์ (3,118 คน)
  2. ออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอคือออกกำลังกายสัปดาห์ละ 11 นาทีถึง 149 นาที (38,338 คน)
  3. ไม่ออกกำลังกายเลยคือออกกำลังกายสัปดาห์ละ 0 นาที ถึง 11 นาที (6,984 คน)

จะเห็นได้ว่าคนส่วนใหญ่คือ 38,338 คน จาก 48,440 ตน ออกกำลังไม่เป็นประจำและไม่เพียงพอ ในขณะที่จำนวนผู้ที่ออกกำลังกายเพียงพอต่อการรักษาสุขภาพที่ดีนั้นมีเพียง 3,118 คนหรือเพียง 6.43% เท่านั้น แต่หากดูข้อมูลจากตารางข้างล่างก็จะเห็นว่า คนส่วนน้อยที่หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนั้นได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าอย่างยิ่งในการป้องกันตัวจากโควิด-19

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@gabinvallet

หากจะวิเคราะห์ในเชิงสถิตินั้นก็สามารถมีข้อสรุปที่น่าเป็นประโยชน์ดังนี้

  1. คนที่ออกกำลังกายเป็นครั้งคราวนั้นได้ประโยชน์มากที่สุดจากการลดความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ออกกำลังกายเพราะสัดส่วนที่ต้องป่วยเข้าห้อง ICU ไม่แตกต่างกันมาก (คือ 2.5% กับ 2.8%) แต่คนที่ไม่ออกกำลังกายนั้นเข้าใจว่าเมื่อเข้าห้อง ICU แล้วคงจะแทบไม่รอดชีวิต แต่คนที่ออกกำลังกายเป็นครั้งคราวยังมีโอกาสรอดชีวิต 60% (1.5% กับ 2.5%)
  2. คนที่ไม่ออกกำลังกายเมื่อป่วยเป็นโควิด-19 นั้น 10% เตรียมตัวเข้าโรงพยาบาลได้เลยและในจำนวนนั้นกว่า 20% มีโอกาสไม่ได้กลับบ้านอีกซึ่งเป็นตัวเลขที่น่ากลัวมาก อย่างไรก็ดีหากดูข้อมูลอย่างละเอียดโดยดูปัจจัยอื่นๆ ที่งานวิจัยกล่าวถึงก็ต้องบอกว่าปัจจัยความเสี่ยงที่สูงสุดคืออายุโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุเกินกว่า 30 ปีขึ้นไปนั้นมีความเสี่ยงใกล้เคียงกับคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายและคนที่อายุเกินกว่า 80 ปียิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นไปอีก 8 เท่าตัว
  3. คนที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอนั้น “ได้เปรียบ” คนที่ไม่ออกกำลังกายและคนที่ออกกำลังกายเป็นครั้งคราวอย่างมาก โดยเฉพาะความเสี่ยงที่จะต้องเข้าไปรักษาตัวในโรงพยาบาลและการต้องเข้าไปรักษาตัวในห้อง ICU

เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ ก็จบลงไปแล้วน้า กับ ไลฟ์สไตล์ การชีวิตของคนในยุคนี้ กับ “Lifestyle การออกกำลังกายของคน generation สู้โควิด ” DooDiDo หวังว่าเพื่อนทุกคนจะได้รับความรู้จากบทความนี้ไม่มากก็น้อยนะค่ะ  ดังนั้น เมื่อเราจะต้องอยู่กับโควิด-19 ไปอีกหลายปี (หรือตลอดไป) และเมื่อมีวัคซีนให้ฉีดอย่างครบถ้วนแล้วเราก็อาจจะยังติดเชื้อได้อีก การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจึงน่าจะนำมายึดให้เป็นไลฟ์สไตล์เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิผลของวัคซีนในการปกป้องคุ้มครองตัวเราโดยเฉพาะในผู้สูงอายุค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : https://advicecenter.kkpfg.com