ฟันคุดคืออะไร เป็นภัยต่อสุขภาพช่องปากหรือไม่?

WM

มาดู!! ข้อควรปฏิบัติหลังการผ่าตัดฟันคุด

หากใครที่ผ่านช่วงอายุ 18-20 ปีมาแล้วยังไม่เคยประสบกับปัญหาฟังคุดแล้วนั้นก็ถือเป็นเรื่องโชคดีเลยก็ว่าได้ค่ะ ถึงแม้ว่าโดยส่วนใหญ่แล้วจะเจอกันก็เถอะ ในช่วงแรกๆ ที่ฟันคุดเกิดขึ้นมาในช่องปากหลายๆ คนก็รู้ตัวแหล่ะค่ะ หรือหลายๆคนก็อาจจะรู้สึกปวดกับฟันคุดที่งอกขึ้นมาใหม่อยู่บ่อยๆ จนถึงขั้นปวกหัวและไม่สามารถกินอะไรได้อีก ซึ่งการถอนฟันคุดนั้นถ้าหากจะไปหาหมอฟันให้ถอนออกให้ก็จบแล้ว แต่ความโชคดีในความโชคร้ายนั้นก็ยังมีคนที่ไม่ได้เจ็บปวดกับฟันคุดอยู่เหมือนกัน เพราะงั้นแล้วฟันคุดนี่จำเป็นต้องถอนมั้ยนะ? นั่นก็คงเป็นอีกหนึ่งคำถามที่ค้างคาใจเหมือนกันค่ะ

ฟันคุดจริงๆ แล้วจะไม่แตกต่างจากฟันซี่อื่นๆ นอกจากเป็นฟันที่เกิดขึ้นมาใหม่ซี่สุดท้ายของฟันกราม ฟันคุดมีประโยชน์เหมือนฟันอื่นๆ ถ้าขึ้นในตำแหน่งที่เหมาะสม สามารถใช้งานได้ปกติ  แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าฟันขึ้นในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม และใช้งานได้ไม่ปกติ ฟันซี่นั้นย่อมเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/oswaldoruiz-3225066/

ทำไมจึงต้องถอนฟันคุด

เมื่อฟันคุดของคุณมีอุปสรรคในการขึ้น ซึ่งทำให้กระทบต่อการใช้งาน ผู้ป่วยสามารถมารับการตรวจกับทันตแพทย์ ซึ่งทันตแพทย์จะทำการเอ็กซเรย์ดูลักษณะและตำแหน่งการวางตัวของฟันและวิเคราะห์ถึงความผิดปกติ ก่อนทำการหาวิธีการแก้ไข เนื่องจากฟันคุดเป็นสาเหตุที่สามารถก่อให้เกิดการอักเสบของเหงือก การติดเชื้อ โรคเหงือก การเป็นฝีในช่องปาก หรือส่งผลให้ฟันซี่ข้างเคียงผุได้ง่ายขึ้นเป็นต้น ดังนั้นทันตแพทย์ส่วนใหญ่จะแก้ปัญหานี้โดยการผ่าตัด เพื่อถอนฟันคดออกไป

ความจำเป็นที่ต้องผ่าตัดเพื่อถอนฟันคุดออกเมื่อฟันคุดที่เกิดขึ้นไม่สามารถใช้งานได้ปกติ ก่อให้เกิดฟันผุ หรือเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์  หรือก่อให้เกิดปัญหากับฟันที่อยู้ข้างเคียง มันเป็นเรื่องยาก ทัตนแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาแผนการรักษาในการผ่าตัดฟันคุดออกหรือไม่ในแต่ละรายอย่างเหมาะสม อาการบ่งบอกว่าคุณเกิดฟันคุดที่ไม่ปกติ และสมควรที่ต้องได้รับการผ่าตัดออกก

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://www.freepik.com/wayhomestudio

อาการของแต่ละคนอาจมีอาการแตกต่างกันออกไปได้แก่

  • มีอาการปวด
  • มีการติดเชื้อในช่องปาก
  • มีการบวมที่ใบหน้า
  • เหงือกบวมบริเวณฟันคุด
  • จะเกิดอะไรขึ้นบ้างถ้าคุณไม่ถอนฟันคุด

ปัญหาทั่วไปจากการที่ไม่ได้รับการผ่าตัดฟันคุดออก ซึ่งมีหลายประการ

  • แบคทีเรียและคราบสะสม
  • มีการเกิดขึ้นของถุงน้ำ
  • มีการเกิดขึ้นของก้อนเนื้อ
  • มีการติดเชื้อ
  • โรคขากรรไกรและโรคเหงือก

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพช่องปากหลายท่านจะแนะนำให้ถอนฟันคุดออก (เมื่อรากฟันเริ่มสร้างและพัฒนาขึ้นได้สมบูรณ์ในช่วงวัยรุ่น) การถอนฟันคุดออกในระยะเริ่มแรกจะช่วยขจัดปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ เช่น ส่งผลกระทบต่อฟันซี่ข้างเคียงซี่ที่ 2 และส่วนใหญ่เกิดผลกระทบที่ทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นกับฟันซี่ที่ 3 มากที่สุด

ข้อควรปฏิบัติหลังการผ่าตัดฟันคุด

  • ไม่ควรน้ำหรือน้ำลาย
  • ไม่ควรดื่มน้ำโดยใช้หลอดดูด
  • ไม่ควรสูบบุหรี่ในช่วง 2-3 วันแรก
  • โดยปกติแล้วอาจจะมีอาการบวม ปวด หรือเลือดออกหลังการผ่าตัด ในผู้ป่วยที่ฟันคุดอยู่ลึกซึ่งหากคุณมีอาการปวดหรือเลือดออกมาก กรุณาโทรแจ้งทางโรงพยาบาลเพื่อเราจะได้แจ้งให้แก่ทันตแพทย์ทราบ
  • คุณสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ แต่ควรงดการออกกำลังกายหรือกิจกรรมที่ใช้แรงเนื่องจากอาจทำให้แผลที่เย็บฉีดขาดหรือเลือดออกได้ อาการปวดและบวมของคุณจะค่อยๆลดลง หลังจากผ่านไป 2-3วัน
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@hubifarago

หากคุณพบอาการต่อไปนี้โปรดรีบแจ้งคลินิคทันตกรรม

  • มีปัญหาในการกลืนหรือการหายใจ
  • มีไข้
  • มีอาการบวมและเจ็บปวดมากขึ้น
  •  มีอาการชาต่อเนื่องไม่หาย
  •  มีเลือดและหนองออกมาทางจมูก

เป็นอย่างไรล่ะค่ะพอจะได้ข้อสรุปบ้างกันแล้วใช่ไหมล่ะค่ะว่า ฟันคุดของคุณนั้นอาจสามารถใช้งานได้และไม่จำเป็นต้องถอนออก แต่นั่นก็เป็นกรณีที่หากฟันคุดนั้นขึ้นแบบปกติและไม่ทำให้เกิดอาการปวดหรือปัญหาใดๆ นะคะ อย่างไรก็ตาม DooDiDo คิดว่าหากฟันคุดขึ้นไม่เต็มที่และเป็นสาเหตุของความกังวลของหลายๆ คนแล้วล่ะก็ ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ทุกคนเอาฟันคุดนั้นออกซะ โดยอาจจะถอนแบบปกติหรือผ่าตัดนั่นก็ขึ้นอยู่แนวของฟันคุดที่โผล่ขึ้นมาและตามความคิดที่เหมาะสมของทันตแพทย์ค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: https://bangkokdental.com