ข้อควรรู้ 6 สาเหตุ ที่จะทำให้ร่างกายเสื่อมก่อนวัยได้!!

WM

ลองมาเช็คดูว่าคุณกำลังใช้ชีวิตไปกับปัจจัยที่ทำให้ร่างกายเสื่อมก่อนวัยเหล่านี้นี้หรือไม่?

ถ้าจะมองตามหลักความเป็นจริงแล้ว ตั้งแต่เด็กๆ จนเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่เต็มที่แล้วสุดท้ายร่างกายของเราก็จะค่อยๆ เสื่อมถอยลงไปเองตามธรรมชาติอยู่แล้วล่ะค่ะ ในทุกๆ วันนี้ก็จะสามารถสังเกตุได้ว่าตั้งแต่วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ส่วนใหญ่นั้นต่างก็ให้ความสนใจที่จะดูแล รักษา และยืดสุขภาพของตัวเองให้ยืนนานมากยิ่งขึ้น เพราะอย่างไรแล้วในการดำรงชีวิตต่อๆ ไปนั้นการมีสุขภาพที่ดีนั้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดเลยล่ะค่ะ แต่เชื่อเถอะค่ะว่าต่อให้จะดูแลสุขภาพให้ดีอย่างไรก็ยังจะมีสาเหตุที่คุณควรระวังและหลีกเลี่ยงไว้เหมือนกัน

เป็นเรื่องปกติที่ร่างกายของเราจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือความเสื่อมที่เพิ่มมากขึ้นไปตามอายุ แต่คงไม่มีใครอยากปล่อยให้ร่างกายโทรมหรือเสื่อมก่อนวัยแน่นอน วันนี้เลยมี 6 สาเหตุที่ทำให้ ร่างกายเสื่อม ก่อนวัยมาฝากให้ทุกคนเช็คกันดีๆ ว่า คุณกำลังใช้ชีวิตไปกับปัจจัยที่ทำให้ร่างกายเสื่อมก่อนวัยเหล่านี้นี้หรือไม่ ?

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://www.pexels.com/th-th/@every-thing-3769679

สารพิษจากบุหรี่

ทุกคนคงรู้กันดีอยู่แล้วว่าบุหรี่มีสารก่อมะเร็ง แต่วันนี้เราจะมาเจาะลึกกันว่าสารก่อมะเร็งนั้นคืออะไร และมีโทษต่อร่างกยอย่างไรกันบ้าง ซึ่งสารเหล่านั้น ได้แก่ นิโคติน แอลกอฮอล์ฟีนอล สารแอลดีไฮด์อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน น้ำมันดิน คาร์บอนมอนอกไซด์ สารหนู ไอโดรเจนไซนาไนต์ ไนโตรเจนออกไซด์ ฟอร์มาลดีไฮด์ เบนซิน แคดเมียมโทลูอีน เบนโซไพรีน และยังมีสารกัมมันตรังสี เช่น สารโพโลเนียมอีกด้วย สารเหล่านี้เป็นสารอันตรายที่มีส่วนกระตุ้นทำให้เกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะตัวร้ายอย่างน้ำมันดิน เป็นสารที่รุนแรง เป็นสาเหตุของมะเร็งในช่องปาก และโรคเยื่อบุช่องปาก รวมทั้งทำให้ริมฝีปากดำอีกด้วย

อีกหนึ่งสารที่รู้จักกันดี คือ “นิโคติน” เป็นสารที่ทำให้เกิดการเสพติด และไปกระตุ้นเนื้อเยื่อสร้างสาร Catechuphenolamine ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูงขึ้น ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น และกล้ามเนื้อหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ยังทำให้เกิดสาร “คาร์บอนมอนอกไซด์” ซึ่งจะไปแย่งจับกับฮีโมโกบินแข่งกับออกซิเจน และจับได้ดีและเร็วกว่าด้วย ส่งผลให้เซลล์ในร่างกายได้รับออกซิเจนน้องลงจนเกิดความเสื่อมของเซลล์

นอกจากการเสื่อมภายในร่างกายแล้ว การสูบบุหรี่ยังทำให้กรดต่างๆในบุหรี่ เช่น ฟีนอล กัดกร่อนช่องปาก ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก และอาจกัดไปถึงอวันวะภายใน เช่น ปอด ทำลายขนเล็กๆที่บุผิว เยื่อบุทางเดินหายใจที่คอยดักจับฝุ่นละอองและเชื้อโรค และยังเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร เพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้กระเพาะเป็นแผล

โลหะหนัก

โลหะหนักอย่าง ปรอท ตะกั่ว ดีบุก อลูมิเนียม อาจมีการสะสมในร่างกายจนเกิดการทำลายเซลล์ไปจนถึงอวัยวะ และรบกวนการทำงานของร่างกายจนเกิดความเสื่อมอย่างช้าๆ โดยโลหะหนักเหล่านี้อาจมีการปนเปื้อนมากับยา น้ำหรืออาหารที่คนอาจมองข้าม เช่น อาหารประเภทปลา อาจมีสารปรอทปนเปื้อน หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารพวกน้ำมันปลา ก่อนรับประทานจึงต้องมั่นใจว่ามาจากแหล่งที่ปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อน อย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ไมันปลา ควรเลือกที่ผ่านการรับรองแล้วว่าผ่านมาตรฐานการตรวจสอบปรอทและตะกั่วแล้ว

ความเครียด พักผ่อนน้อย

การพักผ่อน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการฟื้นฟูร่างกาย ซึ่งการพักผ่อนที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ ไม่ใช่การพักผ่อนด้วยการนอนเล่นสมาร์ทโฟนหรือดูโทรทัศน์ แต่เป็นการพักผ่อนโดยการ “นอนหลับ” นั่นเอง เพราะการนอนอย่างเพียงพอ และนอนในเวลาที่เหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายได้ฟื้นฟูและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้เป็นอย่างดี ในทางตรงกันข้าม การนอนน้อยหรือพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้ ร่างกายเสื่อม ได้อย่างรวดเร็ว

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://www.pexels.com/th-th/@enginakyurt

สารพิษจากสุรา

การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อยจะกระตุ้นระบบประสาท ทำให้หลอดเลือดขยายตัว หายใจแรงขึ้น อาจทำให้เสียการทรงตัวและประสาททำงานช้าลง นอกจากนี้การดื่มแอลกอฮอล์ยังเข้าไปทำลายวิตามินบี1 วิตามินบี2 และขัดขวางการดูดซึมกรดโฟลิกและแคลเซียมอีกด้วย

ไม่ควบคุมน้ำหนัก

เช็คกันก่อนว่า ตอนนี้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของคุณอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ ?

BMI (Body Mass Index) เป็นดัชนีชี้ค่าความอ้วนสำหรับคนอายุ 20 ปีขึ้นไป โดยสามารถคำนวณได้จากสูตรดังนี้

BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ได้ผลลัพธ์ออกมาเท่าไหร่ สามารถนำมาแปรผลได้ดังนี้

BMI ต่ำกว่า 19 หมายความว่า รูปร่างผอม

BMI 20-24.9 หมายความว่า รูปร่างพิดี สมส่วน

BMI 25-29.9 หมายความว่า อ้วน น้ำหนักเกินมาตรฐาน

BMI 30 ขึ้นไป หมายความว่า อ้วนถึงขนาดเข้าข่ายการเป็นโรคอ้วน

ดังนั้น การควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม ไม่ได้หมายถึงการหลีกเลี่ยง “ความอ้วน” เพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงการมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ผอมจนเกินไปด้วยเช่นกัน

ทานอาหารไม่เหมาะสม

รู้กันดีอยู่แล้วว่าการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดโรคอ้วนและ ร่างกายเสื่อม แต่อย่าลืมว่าการรับประทานน้อยเกินไปก็อาจทำให้ร่างกายผอมเกินไป และส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมเป็นปัจจัยที่สำคัญในการมีสุขภาพที่ดี

โรคอ้วนมักเกิดจากการรับประทานอาหารพวกนมเนย อาหารไขมันสูง อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงมากเกินไป ดังนั้น ถ้าไม่อยาก ร่างกายเสื่อม ก่อนวัย ควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ หรือรับประทานแต่น้อย และควรเลือกรับประทานที่มีไขมันต่ำ และหลีกเลี่ยงอาหารพวกทอด ผัด แกงกะทิ และหันมาใช้วิธีประกอบอาหารที่ปราศจากน้ำมันแทน เช่น อบ นึ่ง เผา เพื่อลดการสะสมของไขมันเลว (LDL-cholesterol) ในร่างกาย นอกจากนี้ ควรควบคุมปริมาณอาหารที่รับประทานในแต่ละวันให้เหมาะสม เพราะสาเหตุของความอ้วนมักเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินไป ทำให้พลังงานที่ได้จากอาหารมีมากเกินความต้องการใช้ จนเกิดเป็นไขมันสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกาย

ไม่ออกกำลังกาย

การไม่ออกกำลังกาย นอกจากจะมีผลต่อรูปร่างที่ขาดความเฟิร์มกระชับที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนแล้ว ยังส่งผลต่อความแข็งแรงของร่างกายภายใน เช่น การทำงานของหัวใจและกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง และยังส่งผลต่อการเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุนอีกด้วย

ดังนั้น ไม่ว่าค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของคุณจะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ การออกกำลังกายยังเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพของทุกคนเสมอ ดังนั้น ควรจัดเวลาเพื่อออกกำลังโดยเฉพาะ เพื่อให้มั่นใจว่าร่างกายของคุณจะได้ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมอยู่เสมอ ซึ่งการออกกำลังกายนั้นมีหลายแบบให้เลือก ตามความชอบและความเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน โดยการออกกำลังกายสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่

  • การออกกำลังกายหัวใจ (Cardio Exercise) เพื่อความแข็งแรงของระบบหัวใจ และหลอดเลือด เช่น การวิ่ง
  • ออกกำลังกายเวทเทรนนิ่ง (Weight Training) เพิ่มความแข็งแรง และความทนทานของกล้ามเนื้อ เช่น การยกเวท
  • ออกกำลังกายยืดเส้นเอ็น (Stretching) เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เช่น การเล่นโยคะ
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@nci

มองข้ามการไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย

แม้ว่าคุณจะมั่นใจว่าใช้ชีวิตอย่างดี และมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้ว แต่นั่นเป็นเพียงการสังเกตุได้จากภายนอกเท่านั้น เพราะเราไม่สามารถรู้ระบบการทำงานภายในร่างกายได้ว่ามีประสิทธิภาพอย่างไร ดังนั้น จึงควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจให้มั่นใจว่าระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกายยังสามารถทำงานได้เป็นอย่างดี และเป็นสิ่งที่ไม่ควรนิ่งนอนใจหรือมองข้าม

เป็นอย่างไรบ้างล่ะคะ สำหรับสิ่งที่ทุกคนควรหลีกเลี่ยงถ้าหากอยากจะยืดสุขภาพของเราไม่ให้เสื่อมถอยลงเร็วๆ แน่นอนว่าการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้นั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นมากพอๆ กับดูแลสุขภาพเลย และ DooDiDo คิดว่าถ้าหากทุกคนนั้นหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้แล้วทำควบคู่ไปกับกิจกรรมดีๆ ที่จะช่วยให้สุขภาพร่างกายของคุณแข็งแรงขึ้นแล้วล่ะก็ทุกคนก็จะมีสุขภาพที่ดีได้ด้วยล่ะค่ะ ทั้งนี้แล้วทุกคนก็อย่าละเลยสิ่งเหล่านี้ทำเป็นประจำสม่ำเสมอด้วยนะคะ เชื่อว่าสุขภาพของทุกคนก็จะดีขึ้นได้แน่นอนเลยล่ะค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: https://biopharmshop.com