ข้อควรรู้!! สัญญาณปัญหาวัยทองที่เหล่าคนสูงวัยต้องพบเจอ

WM

“สตรีวัยทอง” หมายถึงสตรีที่อยู่ในภาวะสิ้นสุดของการมีประจำเดือน

วัยทอง นั้นก็เป็นอีกหนึ่งช่วงวัยที่สำคัญในชีวิตล่ะค่ะ เพราะว่าเป็นช่วงเวลาที่เหล่าคนวัยกลางคนกำลังย่างกรายมาเป็นวัยสูงอายุ ดังนั้นก็จะมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางร่างกายและอารมรมณ์อย่างมาก ซึ่งถ้าหากว่าคนรอบตัวไม่เข้าใจแล้วนั้นก็อาจจะส่งผลเสียตามมาทีหลังก็ได้ค่ะ ซึ่งก็ด้วยเหตุนี้ก็ทำให้แน่ใจได้ว่าปัญหาวัยทองนั้นไม่ได้เป็นปัญหาที่ผู้ที่เป็นนั้นพบเจอเพียงคนเดียวแต่คนรอบๆ ข้างพวกเค้าเหล่านั้นก็ต้องทำความเข้าใจในตรงนี้และเตรียมพร้อมที่จะรับมือด้วยล่ะค่ะ

เมื่อพูดถึงคำว่า “วัยทอง” คนทั่วไปอาจจะเข้าใจว่า หมายถึง ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน แต่ผู้ชายก็ต้องก้าวสู่วัยทองเช่นเดียวกัน เมื่อฮอร์โมนเพศชายหรือเทสโทสเทอโรนลดลง ซึ่งในทางการแพทย์เรียกผู้ชายวัยทองว่า “แอนโดรพอส” (Andropause) ค่ะ ซึ่งวันนี้เราจะมีทำความเข้าใจเรื่องนี้ไปพร้อมกันค่ะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://www.pexels.com/th-th/@geralt

สัญญาณเตือนภัยผู้ชายวัยทอง

ตามปกติชายวัย 40 ปีขึ้นไปจะมีระดับฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนลดลงประมาณปีละ 1 % โดยจะลดลงไปเรื่อยๆ แต่ไม่มีการหยุดทำงาน ซึ่งแตกต่างจากวัยทองในเพศหญิงที่รังไข่จะหยุดผลิตฮอร์โมนเพศหญิงโดยสิ้นเชิง ดังนั้นอาการผิดปกติต่างๆ ที่เกิดในชายวัยทองจึงไม่ชัดเจนและรุนแรงเหมือนกับสตรีวัยทอง และหากว่ามีการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ แม้จะย่างเข้าสู่วัย 80 ผู้ชายก็อาจจะยังมีฮอร์โมนเพศและมีสุขภาพที่ดีอยู่ได้ อย่างไรก็ดี สำหรับคุณผู้ชายที่ย่างเข้าสู่วัยทอง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 40-52 ปี ก็อาจจะมีสัญญาณเตือนภัยให้สังเกตกันดังต่อไปนี้

ด้านร่างกาย เช่น อ่อนเพลียง่าย ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเช้าและตอนกลางคืน กล้ามเนื้อที่เคยฟิตเริ่มลดขนาดลง อ้วนลงพุง และภาวะกระดูกพรุน

ด้านสติปัญญาและอารมณ์ เช่น มีอาการกระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย เฉื่อยชา ซึมเศร้า สมาธิลดลง ความจำระยะสั้นถดถอย

ด้านระบบไหลเวียนโลหิต อาจจะมีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก ชีพจรเต้นเร็ว

ด้านจิตใจและเพศสัมพันธ์ เช่น มีอาการนอนไม่หลับ ความสนใจทางเพศลดลง อวัยวะเพศไม่แข็งตัว และการหลั่งน้ำอสุจิลดลง ทั้งปริมาณและความถี่

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://www.pexels.com/th-th/@vlada-karpovich

ปัจจัยที่เป็นตัวเร่งสำหรับผู้ชายวัยทอง

นอกจากอายุ ซึ่งเป็นปัจจัยธรรมชาติที่ทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลงแล้ว ยังมีสภาวะบางอย่างที่เป็นตัวเร่งให้ผู้ชายเข้าสู่วัยทองเร็วกว่าปกติ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหนัก การพักผ่อนน้อย ความเครียด ความวิตกกังวล การดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการสูบบุหรี่และโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง แต่ในอีกด้านหนึ่งการใช้ชีวิตที่ถูกต้องและการดูแลร่างกายที่ดีก็จะมีส่วนช่วยชะลอเวลา หรือชะลอปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากภาวะผู้ชายวัยทองได้ ฉะนั้นจึงควรดำเนินชีวิตอย่างสมดุล ด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6 – 8 ชั่วโมง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกต้องตามหลักโภชนาการ โดยควรลดอาหารประเภทไขมัน  และควรรับประทานพืชผักและผลไม้มากขึ้น โดยเฉพาะมะเขือเทศ เนื่องจากมีสารไลโคปีน ซึ่งสามารถต้านโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ที่สามารถเกิดขึ้นกับผู้ชายวัยทองโดยทั่วไปได้ นอกจากนี้ยังควรมองโลกในแง่ดี ลดความเครียด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ต้องเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล รวมถึงงดสูบบุหรี่และดื่มเหล้า

ปัญหาของสตรีวัยทอง 

สตรีวัยทองหรือสตรีวัยหมดประจำเดือน หมายถึงสตรีที่อยู่ในภาวะสิ้นสุดของการมีประจำเดือน เนื่องจากรังไข่หยุดทำงานจึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ โดยมีสาเหตุเนื่องมาจากฮอร์โมนเพศ คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen hormone) การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ใช่เกิดจากสาเหตุของการเป็นโรค แต่เป็นการหยุดของรอบเดือน การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยปกติแล้วจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ในสตรีวัยทองเมื่อรังไข่หยุดทำงาน ผลก็จะไม่มีการตกไข่อีกต่อไป สิ่งที่ตามมาก็คือ จะไม่มีประจำเดือนและไม่มีการสร้างฮอร์โมนเพศ จึงทำให้อวัยวะต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเพศเสื่อมถอยลง ทำให้มีผลต่อการแสดงออกทั้งทางกายและจิตใจแปรปรวนไปจากเดิมได้  ผลที่มีต่อระบบต่างๆ เช่น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@jwwphotography
  1. ผลทางด้านร่างกาย
  • จะทำให้ผนังบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตได้ไม่ดี หรืออาจทำให้ประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือขาดหายไปได้หลายๆ เดือน บางรายอาจมีอาการเลือดออกผิดปกติได้ พบว่าประมาณร้อยละ 50-70 ของวัยนี้ จะเกิดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืนหรือเวลาหลับ และส่วนใหญ่รู้สึกว่าอาการที่กล่าวนี้ค่อนข้างน่ารำคาญ เพราะทำให้ตกใจตื่น จึงทำให้นอนหลับได้ไม่เต็มที่ หลับไม่สนิท ส่งผลให้ปวดศีรษะตามมา
  • ต่อมที่สร้างเมือกที่หล่อเลี้ยงช่องคลอดลดลง ทำให้ช่องคลอดรู้สึกแห้งและเจ็บในขณะมีเพศสัมพันธ์
  • เกิดปัญหาการนอนไม่หลับ จนอาจทำให้เกิดภาวะความวิตกกังวล เครียด หงุดหงิดและอารมณ์แปรปรวน
  • ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันในกระแสเลือด โดยมีการศึกษาพบว่าระดับของคอเลสเตอรอล  ไตรกลีเซอไรด์ และ LDL (low density lipoprotein) จะเพิ่มขึ้น ในขณะที่คอเลสเตอรอลดี (เป็นประโยชน์) ที่เรียกว่า HDL (high densitylipoprotein) ลดลง เหตุนี้เองจึงทำให้สตรีวัยทองมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้สูงกว่าปกติถึง 7 เท่า
  • สตรีที่หมดประจำเดือนใหม่ๆ จะมีผลทำให้ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ปีแรก ดังนั้นการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนจึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการกระดูกหักหรือกระดูกแตกได้ง่าย
  1. ผลทางด้านจิตใจ

ก่อให้เกิดความวิตกกังวล ความกลัว หงุดหงิด อารมณ์ฉุนเฉียว ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง หวาดระแวง และไม่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้

แนวทางการรักษาและการแก้ไข  โดยทั่วไปมักให้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายกลับมาเทียบเท่ากับตอนอายุ 25-35 ปี แต่การใช้ฮอร์โมนจากภายนอก ไม่ว่าเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน หรือฮอร์โมนหนุ่มสาวก็มีผลเสียและมีอันตรายตามมาเช่นกัน และก็มีข้อห้ามใช้เกิน 5 ปีกำกับอยู่ ด้วยพบว่าผู้ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์เป็นประจำมีแนวโน้มก่อเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งลำไส้ได้สูง

แต่ร้อยทั้งร้อย ไม่มีใครอยากที่อยู่ในช่วงเวลาวัยทองหรอกใช่มั้ยล่ะคะ ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วมันก็คงจะดีกว่าถ้าหากทุกคนสามารถที่จะยืดเวลานี้ออกไปได้บ้าง ซึ่งแน่นอนว่าว่าวิธีการที่จะยืดเวลานั้นออกไปนั้นก็ต้องเป็นการที่จะต้องพักผ่อนให้เพียงพอ เลือกทานแต่อาหารที่เป็นประโยชน์หากรู้ว่าสิ่งไหนไม่ดีต่อสุขภาพแล้วก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงหรือควบคุมในความพอดี งดแอลกอฮอลล์และบุหรี่ด้วยนั้น DooDiDo ก็ถือเป็นสิ่งที่ดีมากเลยล่ะค่ะ เพราะงั้นแล้วหากใครที่อยยากจะยื้อเวลาตรงนี้ไว้แล้วล่ะก็อย่ารีรอที่จะดูแลสุขภาพของตัวเองตั้งแต่วันนี้นะคะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: https://absolute-health.org