6 คุณสมบัติในการเป็นพี่เลี้ยง ที่ช่วยสอนงานรุ่นน้องให้มีประสิทธิภาพ

WM

ใครๆ ก็สามารถเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) ได้ แต่การเป็นพี่เลี้ยงที่ดีนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย

เมื่อมีน้องใหม่มาเริ่มงานในที่ทำงานวันแรก จะต้องมีพี่เลี้ยงในคอยดูแล คอยสอนงานให้กับน้องใหม่ ซึ่งพี่เลี้ยงหรือ Mentor ไม่ใช่ตำแหน่งหน้าที่ในการทำงาน ไม่ใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง พี่เลี้ยงต้องเสียสละหลายสิ่งหลายอย่างโดยเฉพาะเสียสละเวลาในการมาดูแล สอนงานให้น้อง เป็นการเพิ่มภาระงานของตน นั่นเลยทำให้หลายคนอาจไม่อยากเป็นพี่เลี้ยงค่ะ

ระบบ Mentoring system หรือระบบการดูแล แนะนำงาน รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้กับพนักงานน้องใหม่ที่ประสบการณ์น้อยกว่านั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะหลายองค์กรก็มีการนำระบบนี้มาใช้ในการดูแลพนักงานใหม่ หรือทีเรียกว่า รุ่นพี่ (Mentor) สอนรุ่นน้อง (Mentee) แต่ไม่ใช่ทุกองค์กรที่จะประสบความสำเร็จในการนำระบบพี่สอนน้องแบบนี้มาใช้ เราจึงมี 4 คุณสมบัติที่ช่วยให้การ สอนงานรุ่นน้อง มีประสิทธิภาพ ได้ใจ และได้งาน มาฝากทุกคนกัน

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/089photoshootings-4258482/

1.มีความเป็นผู้นำ
ภาวะความเป็นผู้นำนั้นถือเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของผู้ที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้เป็น Mentor หรือเป็นรุ่นพี่ที่จะมาสอนรุ่นน้อง การที่ได้รับเลือกเป็น Mentor องค์กรย่อมต้องเล็งเห็นภาวะความเป็นผู้นำในตัวคุณอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณอยู่ในตำแหน่งหัวหน้างาน ภาวะความเป็นผู้นำยิ่งเป็นสิ่งที่พึงมี เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับรุ่นน้อง ซึ่งลักษณะของการเป็นผู้นำที่ดี คือ คุณต้องมีความสามารถในการจัดวางแผนการทำงานได้ดี วิเคราะห์และแก้ปัญหาได้ ตลอดจนสามารถบริหารทีมและลูกทีม ให้เกิดประสิทธิภาพ มีความน่าเคารพนับถือในตัว รวมไปถึงสามารถถ่ายทอดงานให้ลูกทีมได้เป็นอย่างดี เพื่อทำให้รุ่นน้องรู้สึกมั่นใจและวางใจว่าสามารถพึ่งพา Mentor คนนี้ได้

2.เข้าใจทิศทางขององค์กรและเนื้องานที่ทำ
อีกหนึ่งสิ่งสำคัญของการเป็น Mentor ที่ดีนั่นคือ Mentor ต้องสามารถเล่าความเป็นมาขององค์กร วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร และทิศทางที่องค์กรจะก้าวไปข้างหน้า เพื่อให้รุ่นน้องรู้จักและเข้าใจทิศทางขององค์กรมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังต้องอธิบายรายละเอียดของเนื้องานที่ Mentor รับผิดชอบอยู่ และสิ่งที่รุ่นน้องต้องรับผิดชอบต่อไปได้อย่างละเอียด รวมไปถึงพร้อมที่จะให้คำปรึกษา ตอบคำถามข้อสงสัยของรุ่นน้องได้อีกด้วย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/free-photos-242387/

3.พร้อมแลกเปลี่ยนความคิด และมีความคิดที่เปิดกว้าง
พนักงานรุ่นใหม่ โดยเฉพาะพนักงานที่เป็น Gen Z มักมีแนวความคิดที่ล้ำสมัย และแปลกใหม่ ซึ่งคนที่เป็น Mentor ที่ดีควรเปิดกว้างทางความคิดให้รุ่นน้องหรือพนักงานใหม่ได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ โดย Mentor ควรทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะแนวทาง ให้แนวคิดนั้นอยู่ในทิศทางที่สามารถนำมาปรับใช้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพื่อให้รุ่นน้องรู้สึกมั่นใจที่จะนำเสนอความคิดใหม่ ๆ ให้กับองค์กร

4.ผลักดันและส่งเสริมลูกน้องให้ก้าวหน้า
การส่งเสริมและผลักดันให้ลูกน้องก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ต้องอาศัยวิจารณญาณที่เฉียบคม Mentor ที่ดีต้องไม่กั๊ก ไม่หวงความรู้ และพร้อมส่งเสริมลูกน้องให้เติบโตทั้งในสายงานและนอกสายงาน หาก Mentor มองเห็นแววว่า รุ่นน้องไปต่อในด้านนี้แล้วรุ่ง ก็ควรให้คำแนะนำ และปูทางให้กับรุ่นน้องเพื่อผลักดันและส่งเสริมให้รุ่นน้องก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

5.มีทักษะการสื่อสารที่ดี
คุณสมบัตินี้ถือเป็นคุณสมบัติสำคัญข้อหนึ่งเลยทีเดียว เพราะไม่ใช่ว่าคนเก่งทุกคนจะเข้าใจการสอนหรือถ่ายทอดงานที่ดี ในขณะเดียวกันผู้ที่จะรับหน้าที่ในการถ่ายทอดงานที่ดีนั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นคนที่เก่งที่สุดเสมอไป แต่หากคนเก่งแล้วมีทักษะการสื่อสารที่ดีนั้นก็จะยิ่งเป็นพี่เลี้ยงที่ยอดเยี่ยมที่สุด พี่เลี้ยงควรจะต้องมีทักษะในการสื่อสารถ่ายทอดข้อมูลที่ดี รู้จักการถ่ายทอดงานให้เป็นขั้นเป็นตอน ใช้ภาษาที่ทำให้เข้าใจง่าย เหมาะสม ทักษะการสื่อสารที่ดีจะช่วยทำให้น้องเลี้ยงเข้าใจได้ง่ายขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากเลือกคนที่ไม่มีทักษะในการสื่อสารที่ดีมาทำหน้าที่ตรงนี้ ก็อาจทำให้การสื่อสารระหว่างกันไม่รู้เรื่อง สอนงานไม่เป็น ลำดับขั้นตอนไม่ถูก ก็อาจทำให้งานเกิดการเสียหาย หรือน้องเลี้ยงจำวิธีการทำงานแบบผิดๆ ไปได้เช่นกัน

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/free-photos-242387/

6.มีความรับผิดชอบ
ควรเลือกผู้ที่มีความรับผิดชอบมาทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง เพราะผู้ที่มีความรับผิดชอบจะสามารถถ่ายทอดความรับผิดชอบที่ดีสู่น้องเลี้ยงได้เช่นกัน ความรับผิดชอบนี้ตั้งแต่การรับผิดชอบในงานของตน ไม่ทิ้งงาน ปฎิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ เพราะหากเป็นคนไม่รับผิดชอบในการทำงานแล้วน้องเลี้ยงก็จะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี หรือคิดว่าพี่เลี้ยงทำแบบนี้ได้น้องเลี้ยงก็ต้องทำได้บ้าง นั่นทำให้เป็นการปลูกฝังนิสัยไม่ดีกับน้องเลี้ยงได้ ผู้ที่ไม่มีความรับผิดชอบในการทำงานก็อาจส่งผลให้ไม่มีความรับผิดชอบในการสอนงานได้เช่นกัน พี่เลี้ยงอาจเกิดความขี้เกียจ หรือไม่ใส่ใจเพราะไม่ใช่งานของตน ปล่อยปะละเลย ก็อาจทำให้เกิดผลเสียต่อการดูแลและปลูกฝังน้องเลี้ยงได้

เพื่อให้การสอนงานรุ่นน้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้สามารถเรียนรู้งานได้อย่างรวดเร็ว สามารถทำงานได้ DooDiDo พี่เลี้ยงต้องให้ความสำคัญ ทั้งความใจเย็น ความยืดหยุ่นในการทำงาน และต้องพูดให้กำลังใจอยู่เสมอค่ะ การสอนงานด้วยระบบพี่เลี้ยงเป็นสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมความสามัคคีในองค์กร ตลอดจนช่วยเพิ่มพูนศักยภาพในองค์กรได้ในที่สุดด้วยค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : https://th.hrnote.asia, https://th.jobsdb.com