5 อาหารโซเดียมแฝงที่ควรเลี่ยง ช่วยลดความเสี่ยงโรคไตได้

WM

โซเดียมแฝงคือ โซเดียมที่อยู่ในสารประกอบต่างๆ  ที่ไม่ใช่เกลือ

เรารู้กันดีว่าการทานอาหารที่มีโซเดียมสูงนั้นส่งผลเสียต่อร่างกายของเรา หากร่างกายเราได้รับปริมาณโซเดียมมากเกินไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูง ทำให้ไตต้องทำงานหนัก และหลายคนเข้าใจว่าโซเดียมนั้นจะอยู่ในอาหารรสเค็ม ซึ่งจริง ๆ แล้วเรายังเสี่ยงได้รับโซเดียมแฝงจากอาหารที่ไม่เค็มแต่อันตรายต่อร่างกายอย่างมาก มาทำความรู้จักกับซเดียมแฝงกันค่ะ

โดยปกติร่างกายคนเราควรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบเท่า เกลือ 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัม เมื่อเฉลี่ยแล้วไม่ควรได้รับโซเดียมเกิน 600 มิลลิกรัมต่อมื้ออาหาร โซเดียมแฝงคือ โซเดียมที่อยู่ในสารประกอบต่างๆ  ที่ไม่ใช่เกลือ มักจะถูกนำมาใช้ในการปรุงอาหาร ประกอบอาหารต่าง ๆ โดยโซเดียมเหล่านี้อาจไม่ได้มีรสชาติเค็ม จึงทำให้เราบริโภคมาเกินไปโดยที่ไม่รู้ตัวได้ ซึ่งโซเดียมแฝงที่ไม่ใช่เกลือนี้จะสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ คือ เป็นวัตถุเจือปนที่มักมีคำว่าโซเดียมประกอบอยู่ในชื่อนั่นเอง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://www.freepik.com/author/azerbaijan-stockers

1. เครื่องปรุงรสทั้งที่มีรสเค็มและไม่มีรสเค็ม
แน่นอนว่าเครื่องปรุงรสที่มีสรเค็มย่อยมีโซเดียมสูง แต่ทั้งนี้เครื่องปรุงรสที่ไม่มีรสเค็มก็มีโซเดียมแฝงอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำปลา ซีอิ๊วขาว กะปิ ซอสหอยนางรม น้ำปลาร้า ซุปก้อน ผงชูรส เครื่องปรุงรสอื่นๆ หากใส่แต่น้อยก็จะช่วยลดการบริโภคโซเดียมในปริมาณที่มากกว่าปกติไปได้ค่ะ

2. อาหารแปรรูป
อาหารแปรรูป ทั้งอาหารสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋องทุกชนิด อาหารหมักดอง อาหารเค็ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ เนื้อเค็ม ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผักผลไม้ดอง มักจะมีโซเดียมสูงจากเกลือ และโซเดียมแฝงจากวัตถุเจือปนอาหาร

3. ขนมที่มีการเติมผงฟู
ผงฟู ก็คือโซเดียมชนิดหนึ่ง ซึ่งมีชื่อว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ เบกกิ้งโซดา (Baking Soda) นั่นเอง ซึ่งผงฟูนั้นมักจะอยู่ขนมอบทั้งหลาย เช่น เค้ก คุกกี้ แพนเค้ก ขนมปัง แป้งสำเร็จรูป เป็นต้น

4. เครื่องดื่มเกลือแร่และน้ำผลไม้
เครื่องดื่มเกลือแร่ มักมีการเติมสารประกอบของโซเดียมลงไปด้วย สำหรับนักกีฬาหรือผู้ที่สูญเสียเหงื่อมาก ส่วนน้ำผลไม้บรรจุกล่อง ขวด หรือกระป๋อง ก็มักจะมีการเติมเกลือปรุงรสชาติ และโซเดียมแฝงจากวัตถุเจือปนอาหาร โดยเฉพาะสารกันบูด ซึ่งอีกชื่อหนึ่งก็คือ โซเดียมเบนโซเอต นั่นเอง

5. อาหารธรรมชาติทุกชนิด
อาหารธรรมชาติทุกชนิดมักมีโซเดียมเป็นองค์ประกอบ โดยเนื้อสัตว์ นม ไข่ จะมีปริมาณโซเดียมสูงกว่าผักผลไม้ ธัญพืช และถั่วเมล็ดแห้ง ที่ยังไม่แปรรูป แต่อย่างไรก็ตามอาหารธรรมชาติถือว่ามีปริมาณโซเดียมน้อยกว่าอาหารที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งทั้งหมด และมีสารอาหารที่ร่างกายต้องการได้รับอีกด้วย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://www.freepik.com/author/jcomp

ประโยชน์ของ “โซเดียม”
-ช่วยให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อทำงานได้อย่างเป็นปกติ
-ช่วยป้องกันอาการอ่อนเพลียจากความร้อนหรือลมแดดได้
-โซเดียมจะช่วยให้แคลเซียมและแร่ธาตุอื่น ๆ สามารถละลายในเลือดได้

โทษของ “โซเดียม” ต่อสุขภาพ
-หากโซเดียมในร่างกายสูง ก็จะทำให้เลือดข้น แล้วส่งผลให้มีการดึงน้ำจากในเซลล์ออกมาในกระแสเลือด และทำให้เกิดความดันโลหิตสูงตามมา
-ไตต้องทำงานหนักขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง และเกิดภาวะไตวายในอนาคตได้
-หัวใจก็ต้องทำงานหนักขึ้นเช่นกัน จึงเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
-โซเดียมจะทำให้ร่างกายบวม โดยเฉพาะตรงบริเวณ ใบหน้า มือ เท้า ขา เนื่องจากโซเดียมดึงน้ำออกมารอบ ๆ เซลล์
-ขณะเดียวกัน ก็จะทำให้ผิวเหี่ยวและแห้งกร้าน เพราะมีการดึงน้ำออกจากเซลล์ผิว ทำให้ผิวหนังเสียความชุ่มชื้น

ร่างกายของเราต้องการ โซเดียม โดยโซเดียมจะทำหน้าที่ในการรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย DooDiDo มีความสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อ และไตจะทำหน้าที่ในการควบคุมโซเดียมในร่างกายของเราโดยการขับออกทางปัสสาวะและทางเหงื่อ ดังนั้นหากเราได้รับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูงจะส่งผลทำให้ไตต้องทำงานหนัก  เสี่ยงเป็นโรคไตได้ค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา :  https://mgronline.com, https://women.trueid.net