“โรคเบาหวาน” ไม่อยากเป็นต้องระวังอาหารที่ทำให้ร่างกายทำงานหนัก

WM

การกินที่อาจทำให้เราเป็นโรคเบาหวาน แล้วการทำงานหนักก็เกิดไปก็เสี่ยงเป็นเบาหวานได้เช่นกัน

การกินโน้นกินนี้ อยากกินของที่ชอบให้หมดเลย แต่ก็กลัวเป็นโรคร้ายตามมา ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนไม่มีเวลาเลือกทานอาหารสักเท่าไหร่ ไหนจะของมัน ของทอดรู้ว่าไม่ดีต่อสุขภาพแต่ของมันอร่อยอดใจไม่ได้ที่จะกิน ไหนทำงานเครียดต้องพึ่งของหวานๆแก้เครียด ไม่มีเวลาออกกำลังกายอีกพุงน้อยๆก็เริ่มมาแล้วด้วย ทำไงดี แต่นอกจากอาหารการกินที่อาจทำให้เราเป็นโรคเบาหวานแล้วการทำงานหนักก็เกิดไปก็เสี่ยงเป็นเบาหวานได้เช่นกัน ตัวฮอร์โมนคอร์ติซอลและอะดรีนาลีน ที่จะหลั่งออกมาในเวลารู้สึกเครียด เมื่อเราเกิดรู้สึกเครียดมากจึงทานมากขึ้น หากปล่อยไว้เป็นเวลานานก็จะทำให้ร่างกายเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ ได้ง่าย อาทิ ตา ไต รวมไปถึงระบบประสาท

ถ้าคุณชอบกินผลไม้ อาจลองกินเชอร์รี่ที่มีรสเปรี้ยว แทนการกินผลไม้สุกที่อาจมีน้ำตาลสูง เนื่องจากเชอร์รี่มี แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งมีงานวิจัยที่ชี้ว่าแอนโทไซยานินอาจช่วยป้องกันโรคเบาหวานและโรคอ้วน ส่วนผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน การกินเชอร์รี่ยังคงดีต่อสุขภาพ เนื่องจากเชอร์รี่เป็นผลไม้ที่มีค่าดัชนีไกลซีมิกต่ำ (Low Glycemic Index) ซึ่งการกินอาหารที่มีดัชนีไกลซีมิกต่ำ สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดในระยะยาว สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/photos/tEJm9fvlju8

โรคเบาหวาน คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนซึ่งไม่สามารถหลั่งอินซูลิน เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้

โรคเบาหวานมี 2 ชนิดคือ

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่พึ่งพาอินซูลินส่วนมากเกิดในเด็ก
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่ต้องพึ่งพาอินซูลินเกิดจากกรรมพันธุ์ ความอ้วน โดยเฉพาะอ้วนลงพุงจากพฤติกรรมการกิน และสาเหตุอื่นๆ

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคเบาหวาน

  • มีอาการกินจุหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะเวลากลางคืน อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ผู้หญิงมักมีอาการคันบริเวณช่องคลอดหรือขาหนีบ
  • โดยการตรวจเลือด (หลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง) สูงเกิน 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

กินอย่างไร ห่างไกลโรคเบาหวาน

กินอาหารให้ครบ 5 หมู่และหลากหลาย ตามโภชนาการ

  • ปฏิบัติตามโภชนบัญญัติ 9 ประการ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม
  • หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ หวานๆ
  • ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละ 30 นาที
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/pexels-2286921/

การเลือกอาหารเพื่อควบคุมเบาหวาน

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

  • ขนมหวานทุกชนิดเพราะปรุงจากแป้ง น้ำตาล ไข่ เนยสด มาการีน กะทิ
  • ทองหยิบ ทองหยอด ขนมที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบไอศกรีม เบเกอรี่ต่างๆ เช่น เค้ก คุกกี้
  • อาหารทอด อาหารมัน เช่น ปาท่องโก๋ กล้วยแขกทอด ถั่วลิสงทอด อาหารชุบแป้งทอด แกงกะทิ ข้าวเกรียบทอด มันฝรั่งทอด เมล็ดมะม่วงหิมพานต์อบ
  • น้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ผสมน้ำตาล เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มแอลกฮอล์
  • นมรสหวาน เช่น นมเปรี้ยว นมปรุงแต่งรสต่างๆ ไมโลชนิด UHT โอวัลตินชนิด UHT นมข้นหวาน ยาคูลย์ นมถั่วเหลือง รสหวาน
  • ผลไม้รสหวานจัด เช่น ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน น้อยหน่า ละมุด ขนุน อ้อย
  • ผลไม้เชื่อม กวน ดอง แช่อิ่ม ตากแห้ง อบน้ำผึ้ง รวมทั้งผลไม้กระป๋อง
  • อาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง อาหารรสเค็มจัด อาหารบรรจุกระป๋องหรือถุง เช่น เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ผักดอง
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/photos/jUPOXXRNdcA

อาหารที่รับประทานได้ แต่จำกัดปริมาณ

  • กลุ่มนม ควรทาน นมรสจืด นมพร่องมันเนย นมขาดมันเนย นมถั่วเหลือง สูตรไม่มีน้ำตาล ปริมาณที่เหมาะสม 1-2 แก้ว/วัน(ปริมาณ 250 ซี ซี)
  • กลุ่มข้าว แป้ง และธัญพืช ควรทาน ข้าวกล้อง ธัญพืชไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีท ปริมาณที่ เหมาะสม 8-9 ทัพพี/วัน
  • กลุ่มเนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ ควรทาน เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง ไข่โดยเฉพาะไข่ขาว ปริมาณที่เหมาะสม 12 ช้อนทานข้าว/วัน (ไข่ทั้งฟอง สามารถทานได้ ในผู้มีโคเลสเตอรอลใน เลือดไม่สูง โดยทานได้ 2-3 ฟอง/วัน)
  • กลุ่มผลไม้ ควรทานผลไม้สด รสไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง มะละกอ แอ๊ปเปิ้ล ส้มเขียวหวาน ส้มโอ ชมพู่ เป็นต้น ปริมาณที่เหมาะสม 3-4 ส่วน/วัน (1 ส่วนผลไม้ เท่ากับ 6-8 ชิ้นคำ)
  • กลุ่มไขมัน ควรทาน น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด หลีกเลี่ยง น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ ครีมเทียม ปริมาณที่เหมาะสม 6-7 ช้อนชา/วัน
  • กลุ่มน้ำตาล เกลือ เครื่องปรุงรสควรทาน โดยหลีกเลี่ยงการเติมน้ำตาล เกลือ และเครื่อง ปรุงรสมากเกินความจำเป็น สำหรับผู้ที่ติดหวานอาจใช้น้ำตาลเทียมให้ความหวานแทน น้ำตาลทรายได้
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/photos/KPDbRyFOTnE

อาหารที่รับประทานได้ ไม่จำกัดปริมาณ

กลุ่มพืชผักชนิดต่างๆ เนื่องจากกลุ่มผักให้สารประเภทแป้งน้ำตาลน้อยและมีเส้นใยสูง ช่วยในการขัดขวางการดูดซึมของน้ำตาลและไขมัน ควรทานผักใบเขียวชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักตระกลูผักกาด แตงกวา กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ มะระ ผักตระกลูถั่ว มะเขือเทศ มะเขือยาว เป็นต้น ปริมาณที่เหมาะสม 4-6 ทัพพี/วัน

ควรเลือกทานให้มากขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทานอาหารพวกแป้ง และน้ำตาล ซึ้่งเป็นต้นเหตุของโรคที่กำลังมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้สูง เพราะฉะนั้น DooDiDo แนะนำว่าควรรีบพบแพทย์เพื่อการตรวจที่ละเอียด และทำการรักษา สิ่งสำคัญของการป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิด คือต้องคอยหมั่นระวังระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่เกณฑ์ปกติ เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ท่านมีสุขภาพที่ดี และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.thonburihospital.com