“โรคนอนไม่หลับ” เป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต

WM

มาดูอาการนอนไม่หลับ ส่งผลเสียยังไงกับร่างกายอย่างไรบ้าง

เคยไหมค่ะง่วงนอนแต่พอจะหลับก็นอนไม่หลับแบบมันง่วงจริงๆ แต่พอเราจะหลับจริงๆ มันกลับนอนไม่หลับแต่ก็คือยังง่วงอยู่ จนทำให้เราหงุดหงิด เพราะสำหรับเรื่องของการการนอนเป็นสิ่งสำคัญของร่างกาย เพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มที่หลังจากใช้ร่างกายทำงานมาทั้งวัน เราควรนอนวันละ 7-8 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ ทุกวันนี้เราต่างก็ใช้ชีวิตกันอย่างเร่งรีบต่างจากสมัยก่อน คนเราแต่ละคนนอนหลับไม่เท่ากันอาจมาจากอายุหรือหน้าที่การงาน เกิดความเครียด อาการวิตกกังวล แรงกดดัน หรือมีอาการซึมเศร้าและท้อแท้ หมดกำลังใจ หมดหวังในการใช้ชีวิต คิดว่าตัวเองไร้ค่า ยึดติดและอยู่กับตัวเองมากเกินไป อาการนอนไม่หลับส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าที่คิดส่งผลให้เป็น “โรคนอนไม่หลับ” เป็นปัญหาใหญ่ของคนยุคใหม่ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิติเป็นอย่างมาก

นอนไม่หลับเป็นภาวะหรืออาการที่เกิดขึ้นร่วมกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจทำให้นอนหลับไม่เพียงพอตื่นขึ้นมาแล้วไม่สดชื่นหากนอนไม่หลับมากกว่า 1 สัปดาห์อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและความสัมพันธ์กับผู้อื่นจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที

สาเหตุของอาการนอนไม่หลับมีหลายปัจจัยดังนี้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/engin_akyurt-3656355/

ปัจจัยทางกาย

  • อาการผิดปกติของโรคเช่นโรคสมองเสื่อมความผิดปกติของฮอร์โมนไอเรื้อรังปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืนมีอาการเจ็บปวดทรมานมากจนทำให้นอนไม่หลับ
  • ความผิดปกติของระบบการหายใจเช่นหายใจไม่สะดวกหายใจลำบากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • เกิดจากความผิดปกติของร่างกายเช่นการขาที่ผิดปกติขณะนอนหลับ
  • การได้รับสารกระตุ้นบางอย่างเช่นชากาแฟน้ำอัดลมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ปัจจัยทางจิตใจ

  • เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นส่งผลต่อจิตใจอาจเป็นเรื่องที่ทำให้เสียใจหรือไม่สบายใจ
  • เกิดจากอาการเริ่มแรกของโรคทางจิตบางอย่างเช่นโรคซึมเศร้าโรควิตกกังวลโรคจิตเวช
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@sidekix

ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม

  • สภาพห้องนอนเช่นแสงสว่างมากเกินไปเสียงดังอุณหภูมิร้อนเกินไป
  • รู้สึกแปลกต่อสถานที่การเปลี่ยนสถานที่นอนและการเดินทางข้ามเส้นแบ่งเวลาโลก
  • การนอนที่ไม่เป็นเวลาเช่นการทำงานกะดึกทำกิจกรรมตื่นเต้นผาดโผนก่อนนอน

แอลกอฮอล์ไม่ช่วยให้นอนหลับ

เมื่อนอนไม่หลับบางคนอาจหาทางออกด้วยการจับแอลกอฮอล์เย็น ๆ เพราะรู้สึกว่าผ่อนคลายทำให้นอนหลับได้ดี แต่จริงๆ แล้วแอลกอฮอล์ไม่ได้ช่วยให้นอนหลับและยังส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวานโรคอ้วนโรคไขมันอดสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคมะเร็งและโรคหยุดหายใจขณะหลับ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@all_who_wander

การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการนอน

  • เข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลาให้ร่างกายปรับวงจรการนอนเป็นปกติและหลับง่ายขึ้น
  • จัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนเช่นอากาศไม่ร้อนหรือหนาวเกินไปเสียงไม่ดังเกินไปไม่สว่างเกินไป
  • ใช้เตียงนอนสำหรับการนอนเท่านั้นไม่ควรทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่นทำงานรับประทานอาหารนอนดูทีวี
  • หลีกเลี่ยงอุปกรณ์สื่อสารอย่างน้อย 30 นาที และกิจกรรมที่ทำให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ
  • ควรนอนเมื่อรู้สึกง่วง หากนอนไม้หลับใน 20 นาที ให้ลูกไปทำกิจกรรมที่สบายใจแล้วกลับมานอนใหม่
  • อย่าบังคับตัวเองให้นอนหลับ เพราะอาจทำให้เกิดความกังวลและหลับยาก
  • อย่านอนชดเชยตอนกลางวันเพราะจะทำให้นอนไม่หลับตอนกลางคืน
  • รับประทานอาหารที่มีส่วนช่วยในการนอนหลับเป็นมื้อเย็นเช่นนมสดจืดเนื้อไก่ไข่เนื้อปลาเมล็ดทานตะวันเมล็ดฟักทองและถั่วรวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนักก่อนนอน 2 ชั่วโมง
  • งดสารกระตุ้นหลังเที่ยงวันเช่นกาแฟชาน้ำอัดลมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวันห้ามออกกำลังกายก่อนนอนเพราะจะทำให้หลับยากขึ้นกว่าเดิม
  • อาบน้ำอุ่น ดื่มนมอุ่น และผ่อนคลายต่าง เช่น ทำสมาธิจะช่วยให้หลับง่ายขึ้น
  • ไม่ควรใช้ยาเพื่อทำให้หลับเพราะเมื่อหยุดยาจะทำให้นอนไม่หลับมากขึ้นยกเว้นแพทย์เป็นผู้สั่งยาให้
  • มาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็วตั้งแต่ระยะแรกจะทำให้ปัญหารุนแรงน้อยลง

อาการของโรคนอนไม่หลับอาจมีสาเหตุนอกเหนือจากที่ DooDiDo ได้กล่าวไว้ในเบื้องต้นนี้ เมื่อมีอาการนอนไม่หลับในช่วงตอนกลางคืนนั้นก็จะส่งผลกระทบในตอนกลางวันทำให้รู้สึกอ่อนแรง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ไม่มีสมาธิ ง่วงซึม หรืออาการที่ชอบง่วงตอนบ่ายหลังจากท่านข้าวมาท้องอิ่มหนังตาหย่อนผลอยหลับ พอตกดึกมาร่างกายตื่นตัวไม่ง่วงหรือความเครียดจากคนรักหรืองาน ลองออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพยายามหลับให้ได้ด้วยตัวเอง หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับนะค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.siphhospital.com