เช็ดด่วน!! ก่อนสายเกินแก้อาการขี้หลงขี้ลืม โรคอัลไซเมอร์

WM

มาทำความรู้จักกับโรคความจำเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ ตรวจรู้ผลไวไม่เจ็บตัว

พฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความถดถอยด้านการทำงานของสมอง อาจเริ่มจากากรสังเกตดูตัวเองว่าเอากุญแจบ้านหรือกุญแจรถไปวางไว้ตรงไหน หรือในสมัยก็มีแบบทดสอบบนโลกออนไลน์ให้เราได้ทำการตรวจสอบเรื่อความจำว่า ตัวเรามีภาวะที่เป็นโรคอัลไซเมอร์หรือเปล่า สำหรับใครที่เริ่มสงสัยว่าตัวเองจะเป็นโรคอัลไซเมอร์จะมีอาการหลงลืม สับสน เอาเรื่องโน้นมาสะสมกับเรื่องนี้ คุยเอาเรื่องมาป่นกันไปหมด ลืมสิ่งใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อสักครู่ หรือที่เรียกว่าความจำระยะสั้น ลืมวันสำคัญหรือเหตุการณ์สำคัญที่เพิ่งผ่านมา และคนที่เริ่มมีอาการเป็นโรคอัลไซเมอร์จะซึมเศร้า เฉื่อยชา มีอารมณ์หงุดหงิดง่ายขึ้น โมโหรุนแรงฉโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน เห็นภาพหลอน หวาดระแวง กาหใครที่กลัวว่าตัวเองตะเป็นภาวะโรคอัลไซเมอร์ วันนี้เราได้ทำความรู้ดี วิธีการ ตรวจสอบ เช็ดด่วน ก่อนสายเกินแก้ อาการขี้หลงขี้ลืม โรคอัลไซเมอร์  มาฝากให้ทุกท่านได้อ่านกัน

โรคความจำเสื่อมเป็นปัญหาสุขภาพที่คุกคามคนไทยมานานแล้ว ซึ่งระยะหลังมานี้เราเริ่มพบโรคนี้ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลง เพราะคนส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นโรคนี้ และกลัวการรักษาจนปล่อยให้โรคลุกลามเกินกว่าจะรักษาได้ ซึ่งปัจจุบันมีเทคนิคใหม่ในการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของสมองที่รู้ผลได้ไวและไม่เจ็บตัว

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/geralt-9301/

รู้จักอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อมเกิดจากความผิดปกติของเซลล์สมองถูกทำลาย มีหลายสาเหตุ เช่น การเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย พันธุกรรม อุบัติเหตุทางสมอง โรคหลอดเลือดสมอง โรคการติดเชื้อของสมอง โรคทางกายที่มีผลกระทบต่อเซลล์สมอง เป็นต้น ปัจจุบันไม่ได้เริ่มเกิดในผู้ป่วยอายุ 65 ปี เพราะจากการศึกษาพบว่าการเกิดโรคจะเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 40-65 ปี ซึ่งในเมืองไทยตอนนี้มีสถิติผู้ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ถึงเกือบ 2 ล้านคน โรคอัลไซเมอร์มีระยะเวลาก่อโรคนาน 15-20 ปีกว่าจะมีอาการสมองเสื่อมชัดเจน การแสดงอาการของโรคจะเป็นไปอย่างช้าๆ เริ่มต้นจากไม่มีความผิดปกติเรื่องความจำ และเริ่มมีอาการความจำถดถอย ซึ่งการที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการความจำถดถอยเกิดขึ้นเป็นผลมาจากการสะสมของสารเบต้าอมีลอยด์ที่ทำลายเซลล์สมองมาแล้ว 10-15 ปี ต่อมาผู้ป่วยจึงจะมีอาการมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมีอาการสมองเสื่อมชัดเจน ทำให้การวินิจฉัยและรักษาทำได้ไม่ทันท่วงที ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความเพิกเฉยคิดว่าผิดปกติทางความจำเล็กน้อยไม่ได้เป็นอาการเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อมและเข้าใจผิดที่คิดว่าโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกิดในผู้สูงอายุ ไม่สามารถป้องกันหรือรักษาให้หายขาดได้และต้องทานยาอย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต

หมั่นสังเกตความผิดปกติ

การสังเกตตัวเองหรือบุคลใกล้ชิดว่าเริ่มมีอาการหล ๆ ลืมๆ ผิดปกติหรือไม่ เช่น ลืมทานยาประจำตัว ลืมปิดเตาแก๊ส ลืมกุญแจ ลืมปิดประตูบ้าน ลืมปิดไฟ ลืมทำในสิ่งที่เคยทำในชีวิตประจำวันต่างๆ มากขึ้น มีปัญหาด้านการเรียนรู้ ใครบอกอะไรไปแล้วไม่จำ ซึ่งแต่ก่อนไม่เป็น นึกชื่อสิ่งของไม่ออก ภาวะการนอนผิดปกติหรือเห็นภาพหลอน ควรรีบพบแพทย์ระบบประสาททันทีเพื่อตรวจหาสาเหตุแต่เนิ่นๆ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/photos/UkUz15Rzkic

PET Scan สแกนความผิดปกติของสมอง

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้พัฒนาไปมากมีการตรวจความผิดปกติของ สมองด้วยเครื่อง PET Scan หรือการสแกนด้วยรังสีเพื่อตรวจหาความผิดปกติทางสมอง การตรวจเรื่องความจำและผลจากการตรวจทาง PET scan จะสามารถยืนยันความผิดปกติได้ถูกต้องได้มากกว่า 90% ทำให้การที่ผู้ป่วยรู้ตัวล่วงหน้าว่าตัวเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมในอนาคตจะช่วยให้ผู้ป่วยวางแผนปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต โดยเน้นการบริหารสมองด้วยการอ่านหนังสือ เล่นเกมที่อาศัยการคิดคำนวณ การพบปะพูดคุยเข้าสังคม ทั้งหมดที่สามารถช่วยชะลอ หรือทุเลาอาการเสื่อมที่จะเกิดขึ้นได้ เครื่อง PET Scan ว่ามีไว้สำหรับการรักษาโรคมะเร็ง แต่ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่ช่วยให้การวินิจฉัยและรักษาโรคที่ต้องใช้สารกัมมันตรังสีต่างๆ มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

โดยใช้ปริมาณรังสีให้น้อยที่สุดกับผู้ป่วยแต่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย เวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่ใช้กันในปัจจุบันคือการนำนิวเคลียร์เทคโนโลยี เช่น สารเภสัชรังสีชนิดต่างๆ นำมาสังเคราะห์รวมกับสารที่มีลักษณะเดียวกับสารชีวเคมีในร่างกาย เช่น น้ำตาล กรดอะมิโน ฉีดหรือรับประทานเข้าร่างกายของผู้ป่วยเพื่อดูการทำงานของระบบและอวัยวะในร่างกาย สารเภสัชรังสีนี้จะแพร่กระจายไปตามกระแสเลือดและเนื้อเยื่อ โดยกระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) ของร่างกาย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/bokskapet-7322944/

วิธีการตรวจด้วยเครื่อง PET เป็นวิธีการถ่ายภาพทางการวินิจฉัยที่ไม่เจ็บปวด โดยสามารถแสดงภาพในแบบ 3 มิติ แบบภาพตัดขวางตามแกนของร่างกาย และสามารถตรวจวัดหาค่าเชิงปริมาณของการกระจายของสารในร่างกาย, การทำงานของเซลล์, การทำงานของร่างกาย สรีรวิทยา และเมตาบอลิซึมของเนื้อเยื่อได้ อย่างไรก็ตามสามารถนำวิธีดังกล่าวมาวินิจฉัยโรคอื่น ๆ นอกจากโรคมะเร็ง เช่น ภาวะหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจตาย วินิจฉัยและติดตามผลการรักษาเนื้องอกในสมอง วินิจฉัยและกำหนดตำแหน่งสาเหตุการชักในสมอง และวินิจฉัยภาวะความจำเสื่อมได้อีกด้วย ซึ่งการวินิจฉัยโรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ด้วยเครื่อง PET Scan คือการวัดการทำงานของเซลล์สมองจากระดับกลูโคสหรือน้ำตาลในสมองที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นชัดเจนในผู้ป่วยความจำเสื่อม แสดงภาพได้ทั้งในแบบ 2 และ 3 มิติ ซึ่งผลของภาพถ่ายที่แสดงจะให้สีที่แตกต่างชัดเจนในบริเวณที่มีปัญหาหรือมีแนวโน้มที่จะพบภาวะเสื่อมได้ในอนาคต

เราสามารถสังเกตพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความถดถอยด้านการทำงานของสมอง จากนั้นจะเริ่มการทดสอบทางสมอง เพื่อวัดสมรรถภาพการทำงานประเมินความบกพร่องในการรับรู้เพื่อใช้วินิจฉัยโรคต่อไป การรรักษาจากโรคอัลไซเมอร์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดไปเพียงต่อจะเป็นการชะลอให้โรคอัลไซเมอร์เกิดช้าลง นอกจากนี้หากเราไม่อยากเป็นโรคอัลไซเมอร์ DooDiDo แนะนำว่าควรบำรุงสมองด้วยการจดบันทึกว่าในแต่วันละเราทำอะไรมาบ้างเหมือนเป็การจดไดอารี ที่เล่าเรื่องราวที่เราได้พบเจอมาในแต่ละวันหรือการเล่นเกมที่ช่วยกระตุ้นระบบประสาทของสมองให้มีความทรงจำดีขึ้นนั้นเองค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.bangkokinternationalhospital.com