เครื่องดื่มจาก”เกลือหิมาลายันสีชมพู”ช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้

WM

“เกลือหิมาลายันสีชมพู” เครื่องดื่มที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหัว โดยไม่ต้องพึ่งยาแก้ปวด

หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่มักปวดหัวจากไมเกรน คุณจะรู้เลยว่าเป็นอาการปวดหัวที่รุนแรงและสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทำให้มีอาการคลื่นไส้ เวียนหัว ส่งผลให้สุขภาพของเราทรุดโทรมได้ เมื่อรู้สึกปวดหัวหลายคนมักจะมีนิสัยติดการรับประทานยาแก้ปวด ซึ่งคุณรู้หรือไม่ว่าอาจเกิดผบข้างเคียงจากยาได้ วันนี้เรามีสูตรการทำเครื่องดื่มที่จะเป็นตัวช่วยให้คุณบรรเทาจากอาการปวดหัวเนื่องจากไมเกรนได้โดยไม่ต้องพึ่งยาแก้ปวดให้เกิดผลข้างเคียงกับร่างกายค่ะ มาดูกันค่ะว่าเครื่องดื่มที่ว่านี้ผสมอะไรลงไปบ้าง

เกลือสีชมพู (Pink Salt ) เป็นเกลือธรรมชาติที่เกิดจากกระบวนการระเหยของน้ำทะเลและการควบแน่นของแร่ธาตุ ตกออกมาเป็นผลึกเกลือ โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 250 ล้านปี ทำให้เกิดโครงสร้างของผลึกเกลือที่สมบูรณ์ตามธรรมชาติ บางครั้งถูกเรียกในชื่อเกลือหิมาลายัน (Himalayan Salt, Himalayan crystal salt) นั่นเพราะแหล่งที่พบเกลือชนิดนี้จะอยู่ลึกลงไปใต้พื้นดินกว่า 5,000 ฟุต บริเวณแนวภูเขาหิมาลายัน ในประเทศปากีสถาน ซึ่งเป็นสถานที่ที่อุดมไปด้วยเกลือมากที่สุดในโลก เกลือสีชมพูอุดมไปด้วยแร่ธาตุกว่า 84 ชนิด อาทิเช่น แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผลึกเกลือหิมาลายันมีสีชมพู และวันนี้เราจะมาพูดถึงประโยชน์ของเกลือสีชมพู ว่าทำอะไรได้บ้าง ? หากใครที่อยากรู้เกี่ยวกับเกลือสีชมพูตามมาดูกันเลยค่ะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/stocksnap-894430/

สูตรเครื่องดื่มบรรเทาอาการปวดหัว

  1. น้ำเปล่าสะอาด 1 แก้ว (250 มิลลิลิตร) 
  2. น้ำเลม่อนคั้น 2 ลูก 
  3. เกลือหิมาลายันสีชมพู 2 ช้อนชา
  4. นำวัตถุดิบทั้งหมดผสมเข้าด้วยกัน แล้วดื่มเมื่อเกิดอากาณปวดหัวไมเกรน

ข้อควรระวังคือ เมื่อดื่มแล้ว หากรู้สึกอยากอาเจียนควรหยุดดื่มทันที หรือในรายที่มีความดันโลหิตสูง ไม่ควรรับประทานสูตรนี้เช่นกัน นอกจากการรักษาอาการปวดหัวด้วยยาแผนปัจจุบันแล้ว การรักษาแบบธรรมชาติบำบัด นับว่าเป็นทางเลือกหนึ่งแก่ผู้ป่วยที่น่าสนใจไม่แพ้กัน

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/monicore-1499084/

รู้หรือไม่ “เกลือหิมาลายันสีชมพู” ช่วยลดอาการ ปวดหัวไมเกรน ได้

“เกลือหิมาลายันสีชมพู” (Himalayan Pink Salt) หลายท่านอาจจะสงสัยว่านี่คือเกลืออะไร ทำไมถึงเป็นผลึกสีขาวอมส้ม สีส้ม หรือสีชมพู ดูผิวเผินแล้วคล้ายลูกกวาด แต่รู้หรือไม่ว่า เกลือหิมาลายันสีชมพู สีสันสวยงามนี้ มีสรรพคุณช่วยลดอาการปวดหัวไมเกรนได้

เกลือหิมาลายันสีชมพู เป็นเกลือธรรมชาติที่มีคุณภาพดีที่สุด เนื่องจากเป็นเกลือที่มีแร่ธาตุอยู่ถึง 84 ชนิด เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม โดยเป็นเกลือที่ตกผลึกจากการระเหยของน้ำทะเลเมื่อกว่า 25 ล้านปีก่อน จึงมีความบริสุทธิ์ปราศจากสารพิษ มีอยู่มากในรัฐปัญจาบ ทางตะวันออกของประเทศปากีสถาน โดยการขุดและลำเลียงเกลือจะไม่ใช้จักรกลหนักใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อรักษาความบริสุทธิ์และเป็นธรรมชาติของเกลือเอาไว้

ซึ่งคุณสมบัติเด่นของเกลือหิมาลายันสีชมพู นำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาอาการหลายอย่าง นอกจากช่วยลดอาการไมเกรน เช่น ใช้ในการดีท๊อกซ์ขับสารพิษจากร่างกาย การแช่น้ำที่ใส่เกลือหิมาลายันสีชมพูในอ่างจะช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติและลดผดผืน ช่วยควบคุมความมันบนใบหน้า เมื่อมีคุณสมบัติที่ดีต่อผิวกาย เราจึงเห็นการใช้เกลือหิมาลายันสีชมพูในวงการสปากันมากมายหลายร้านเช่นกัน

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/theresaharris10-2900150/

นอกจากนี้ การนำเกลือหิมาลายันสีชมพู นำมาปรุงอาหารก็จะทำให้ได้รสชาติที่ดีขึ้น ลดความคาวของปลาหรืออาหารทะเล ช่วยดูแลสุขภาพในช่องปาก ช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้เกิดความสมดุลในระบบไหลเวียนโลหิตและแคลเซียม ทั้งนี้ในเกลือหิมาลายันสีชมพูยังช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ฟันไม่ผุกร่อนง่ายอีกด้วย

สำหรับข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสรรพคุณของเกลือหิมาลายันสีชมพูอีกประการคือ ช่วยให้ผู้ป่วยไมเกรนได้บรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้นั้น เพราะในเกลือหิมาลายันสีชมพู มีแร่ธาตุแมกนีเซียมอยู่ ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีส่วนช่วยบรรเทาอาการไมเกรน เนื่องจากผู้ป่วยที่มีอาการไมเกรนจะมีแมกนีเซียมต่ำ จึงควรรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมเสริมเข้าไป ซึ่งแมกนีเซียมจะเข้าไปช่วยปรับสมดุลของระบบหลอดเลือดในสมองให้ปกติขึ้น

ง่ายมากๆ ใช่ไหมคะ กับสูตรการทำเครื่องดื่มที่ช่วยในการบบรเทาอาการปวดหัวเนื่องจากไมเกรนตามที่ DooDiDo ได้นำมาเสนอให้สำหรับคนที่มักเจอกับอาการปวดหัวอย่างรุนแรง ผู้ที่ปวดไมเกรนบ่อยๆ ลองสังเกตอาการของตนเองดูนะคะ หากอาการปวดหัวไม่บรรเทาลงให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไปค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา :  https://xn--12c7bgb2bje2i0cudyb4c.blogspot.com/2018/08/blog-post_75.html