เครือโงบ สมุนไพรที่เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปวดหลัง ปวดเอว

WM

ภาพจาก medthai

สรรพคุณของสมุนไพรเครือโงบ(เขาควายไม่หลูบ)เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปวดหลัง ปวดเอว

เครือโงบ จัดเป็นสมุนไพรพรรณไม้เถาขนาดกลาง กิ่งก้านเป็นสีเขียว ตรงปลายมักเป็นสี่เหลี่ยม มีรูระบายอากาศตามกิ่งอ่อน ส่วนปลายยอดเมื่อนำมาขยี้จะมีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง และควรปลูกในที่มีแสงทั้งวัน พรรณไม้ชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยมักพบขึ้นตามป่าชื้นที่ความสูงประมาณ 50-1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล[1]

โดย เครือโงบ ชื่อวิทยาศาสตร์ Uncaria homomalla Miq. จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)[1]

และ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เขาควายไม่ว้อง เขาควายไม่หลูบ (ลำปาง), พญาท้าวเอว (สุโขทัย), โงบ อีโงบ (ประจวบคีรีขันธ์), เกียวโซ้ (ปัตตานี), ยอน้ำ อีโงบ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), เครือสี่เหลี่ยม, งบ เป็นต้น[1],[2]

ใบเครือโงบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่สลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีกว้าง รูปไข่ หรือรูปไข่แกมใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-11 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียวเข้มเหลือบมัน ส่วนท้องใบเป็นสีขาว มีขนนุ่มแน่น เส้นใบมีประมาณ 6-8 คู่ หูใบมีลักษณะแผ่มน มักพบรยางค์ที่มีลักษณะคล้ายงอออกเป็นคู่ตามข้อ[1],[2]

ดอกเครือโงบ ออกดอกเป็นช่อกลมแน่น โดยจะออกตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีขาวนวลหรือสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ดอกย่อยมีลักษณะเป็นหลอดยาว ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ[1],[2]

ผลเครือโงบ ผลออกเป็นกระจุกแน่น ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม มีขนาดประมาณ 4 เซนติเมตร[1]

WM
ภาพจาก medthai

สรรพคุณของเครือโงบ

  1. แพทย์ตามชนบทบาทภาคอีสานจะใช้รากเหง้าหัว นำมาปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ (รากเหง้าหัว)[1]
  2. รากเหง้าหัวใช้ปรุงเป็นยาน้ำนิ่วในไต (รากเหง้าหัว)[1]
  3. ใช้ปรุงเป็นยาแก้ปวดหลัง ปวดเอว (รากเหง้าหัว)[1]
  4. ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดเมื่อย (ต้น)[2]

ประโยชน์ของเครือโงบ

  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีบริเวณกว้าง โดยนำมาปลูกลงในที่แจ้งและทำซุ้มให้เลื้อยไต่และหมั่นตัดแต่งกิ่ง

สมุนไพรไทย แพทย์แผนไทย สมุนไพรประจำบ้าน ที่คนไทยรู้จักกันดี สรรพคุณเป็นยา รักษาโรคได้ ควรมีติดไว้ประจำบ้าน พืชที่ใช้เป็นยารักษาโรค หรือ เสริมสุขภาพ ช่วยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี การหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรกับชีวิตประจำวัน

สมุนไพรที่ได้จากส่วนของพืชโดยตรง (พืชวัตถุ) โดยส่วนต่างๆ ที่นำมานั้นมีสารที่สามารถใช้เป็นยาได้ ได้แก่ ใบ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด รากหรือหัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้ สมุนไพรที่ได้จากอวัยวะของสัตว์ (สัตว์วัตถุ) ได้แก่ ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ฯลฯ เช่น ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา สมุนไพรที่ได้จากแร่โดยธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆ ตามกรรมวิธี (ธาตุวัตถุ) นำมาใช้เป็นยา  ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา : medthai.com

  1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ).  “เครือโงบ”.  หน้า 87.
  2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “เขาควายไม่ว้อง”.  หน้า 218.