อารมณ์แบบไหนที่เสี่ยงเป็นโรคไบโพล่าร์ได้??

WM

มาเช็ค 8 อาการ ว่าคุณมีความเสี่ยงเป็นโรคไบโพล่าร์หรือไม่?

สำหรับในยุคปัจจุบันข่าวการฆ่าตัวตายจากสภาวะสังคมเมืองที่ค่อนข้างกดดัน มีให้เห็นกันอยู่บ่อยๆ ด้วยสภาะวะความเครียดกับสิ่งที่เราต้องเจอ ส่งผลให้คนไทยประมาณร้อยละ 10-15 มีปัญหาด้านสุขภาพจิต แต่มีเพียง 1% เท่านั้นที่มาพบแพทย์ ในขณะที่ผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนหรือ “ไบโพลาร์” มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่ที่น่ากังวลคือ ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ไม่ทราบว่าตนเองป่วย และไม่กล้ามาพบแพทย์

โรคไบโพล่าร์ หรือ Bipolar Disorder เรียกอีกแบบหนึ่งว่า โรคอารมณ์สองขั้ว, โรคคนสองบุคคลิก, โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว เป็น โรคที่มีอาการที่ผิดปกติทางด้านอารมณ์ เป็น โรคจิตรเวช อย่างหนึ่ง ผู้ป่วยมักจะไม่ทราบว่าตนเองป่วย บางครั้งอารมณ์ดีสุดๆ บางครั้งอารมณ์เศร้าสุดๆ ไม่สามารถคาดเดาได้ บางครั้งอันตรายชอบความรุนแรง บางครั้งอยากเก็บตัวอยู่คนเดียว คนใกล้ชิดจะต้องสังเกตุอาการ เพื่อทำการรักษา โดยคนรอบข้างจะเป็นคนที่ใกล้ชิดผู้ป่วยมากที่สุด และ มีผลต่อการรักษามากที่สุด

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@cristian_newman

8 อาการที่บอกว่าคุณกำลังเป็นโรคไบโพล่าร์ ได้แก่  

  1. มีความมั่นใจในตัวเองมากผิดปกติ แต่บางครั้งก็ขี้อายสุดๆ  
  2. พูดมาก พูดเยอะ พูดเร็ว แต่บางครั้ง ก็เงียบ ไม่พูดไม่คุย 
  3. บ้างาน บ้าพลัง มีความแอคทีฟสุดๆ แต่บางครั้ง ก็ไม่อยากทำอะไร ไม่อยากเริ่มอะไร อยากนอนเฉยๆทั้งวัน
  4. คิดเข้าข้างตนเอง ว่าตนเองมีความพิเศษมากกว่าคนอื่น เป็นคนโชคดีสุดๆ แต่บางครั้ง ก็คิดว่าตนเองด้อยกว่าคนอื่นสุดๆ ตนเองเป็นคนโชคร้ายสุดๆ
  5. การใช้จ่าย ใช้เงินแบบไม่คิด ซื้อทุกอย่างที่อยากได้ แต่บางครั้งก็ขี้เหนียวสุด ไม่ยอมใช้เงินแม้จะเป็นเรื่องจำเป็น 
  6. ไม่หลับไม่นอน นอนดึกสุดๆ ทำอย่างไรก็ไม่นอน คิดว่าตนเองเป็นโรคนอนไม่หลับ แต่บางครั้งก็นอนตลอดทั้งวัน ไม่อยากทำอะไร อยากนอนไม่กินข้าวกินน้ำ
  7. อารมณ์ร้อน บ่อยครั้งทะเลาะวิวาท ใครห้ามก็ไม่ฟัง แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆก็ตาม แต่บางครั้งก็อารมณ์ดีสุดๆ ยอมได้ทุกอย่าง ไม่คิดจะมีเรื่อง ใจเย็นสุดๆ
  8. ต้องการให้คนรับฟังเรื่องของตน ให้ความสำคัญตนเอง ชอบตั้งคำถามแต่ตนเองมีคำตอบอยู่แล้วในใจ แต่บางครั้ง ก็นิ่งเงียบ ไม่อยากให้ใครมายุ่งเรื่องส่วนตัว 
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@naomi_august

แนวทางการรักษาโรคไบโพล่าร์

เมื่อรู้ว่าเกิดจากการผิดปกติของสารเคมีในสมอง จุดแรกคือการปรับยังไงให้สารเคมี เข้ามาสู่สภาวะ ปัจจุบันมียาหลายตัวซึ่งสามารถเข้าไปปรับได้ และมีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง นะค่ะ 70-80 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป ถ้ารู้สังเกตว่าญาติ คนใกล้ชิดมีอาการแบบนี้ก็ต้องพยายามหาทางพาเขาไปรักษา แต่ถ้าคนไข้ไม่ร่วมมือแนะนำว่า จริงๆ แล้วเราเป็นญาติเราไปปรึกษาหมอก่อนได้เล่าอาการให้หมอฟัง ค่อยๆ คิดวางแผนการรักษาอย่างทำให้คนไข้ยอมมารักษา การให้ยากินก่อนเพื่อให้สงบลง ยาเข้าไปปรับสมอง สารเคมีสมองคนไข้ให้กลับมาสู่สมดุลตาม

ปกติ แต่กลไกในการปรับซับซ้อน เพราะฉะนั้นจะต้องผ่านการค่อยค่อยปรับตัวยา แก้ไข ปรับสูตรยาให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคนจนกว่าจะเข้าที่ การรักษาโรคไบโพล่าร์ ควรจะพบแพทย์ ด้านจิตเวชเพราะว่า จิตแพทย์จะเป็นคนที่ชำนาญเกี่ยวกับการใช้ยาพวกนี้ มากกว่าแพทย์สาขาอื่น หากท่านหรือ คนใกล้เคียงมีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบปรึกษาจิตรแพทย์เพื่อทำการรักษา ให้คำปรึกษา อย่าปล่อยให้เรื้อรัง เพราะ ยิ่งเวลาผ่านไปนานการรักษาจะยิ่งทำยากมากขึ้น

โรคไบโพล่าร์นี้ สามารถรักษาได้หากได้รับการติดตามและดูแลอย่างเหมาะสมค่ะ สังคมจึงจำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกับโรคและการรักษา DooDiDo ขอแนะนำให้ทุกคนคอยสังเกตตัวเองกันด้วยนะคะ เพราะถ้าหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่อาการซึมเศร้าได้ค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.stou.ac.th, www.thaihealth.or.th