อาการเจ็บปวดตามข้อสัญญาณเตือนว่าร่างกายกำลังขาด”แคลเซียม”

WM

รู้ทัน!! สัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าร่างกายกำลังขาด “แคลเซียม”

สุขภาพของเรามีวันเสื่อมลงไปตามกาลเวลา ตอนที่เราอายุน้อยปัญหาเรื่องสุขภาพแทบจะไม่มี แต่พออายุเพิ่มากทุกวันๆ เริ่มมีอาการเจ็บปวดตามข้อกระดูก ปวดเมื่อยตามร่างกาย เหนื่อยง่าย รู้สึกอยกนอนพักเฉยๆไม่ต้องทำอะไร ซึ่งทุกวันนี้ร่างกายของเราถูกดูดซับสารอาหารไปใช้ในการดำรงชีวิตทุกวัน อาหารทุกมื้อที่เรากินเข้าไปจะเป็นพลังงานและสารอาหารที่หล่อเลี้ยงร่างกาย การดำรงชีวิตร่างกายจำเป็นต้องดูดเอาแคลเซียมที่ถูกนำไปใช้ในการเดิน วิ่ง อายุเพิ่มมากขึ้นความแข็งแรงของกระดูดจะเสทื่อมถอยลง

และเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุดคือการทำให้กระดูกมีความแข็งแรง ซึ่งต้องเริ่มมาตั้งแต่ตอนนี้ อายุยังน้อยมวลกระดูกมีค่าสูงสุดในช่วงอายุที่ควรมีความหนาแน่นของมวลกระดูกสูงที่สุด ซึ่งจะเป็นการสะสมต้นทุนให้กระดูกแข็งแรงและมีคุณภาพที่ดีในตอนที่อายุเพิ่มมากขึ้น หากใครที่มีอาการเจ็บปวดตามข้อ สัญญาณเตือนว่าร่างกายกำลังขาดแคลเซียม เฉพาะนั้นเราควรทานแคลเซียมหรืออาหารเสริมแคลเซียมให้แข็งแรง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/stocksnap-894430/

ในบรรดาสารอาหารและแหล่งโภชนาการ ต่างๆ มีแร่ธาตุอีกชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายแบบสุดๆ บทบาทของมันคือการสร้างมวลกระดูก และชะลอการผุกร่อน ไปพร้อมๆ กับเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างร่างกายในตัว หรือก็คือร่างกายคนเราไม่ว่าจะวัยไหน ล้วนแต่ต้องการแร่ธาตุอย่าง แคลเซียม (Calcium) ด้วยกันทั้งนั้น

เราต่างรู้ว่าแคลเซียมคือแร่ธาตุสุดสำคัญที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง แต่ด้วยความที่เรามองไม่เห็นกระดูกในร่างกายได้ (ถ้าไม่นับที่ฟัน) จึงทำให้มีคนจำนวนไม่น้อยละเลยการเสริมแคลเซียมให้กับร่างกาย พอรู้ตัวอีกที มวลกระดูกที่แข็งโป๊กมาตลอด กลับส่งสัญญาณร้องบอกให้เห็นอาการที่น่าเป็นห่วงเข้าเสียแล้ว

สัญญาณอันตราย ที่บอกว่าร่างกายเราขาด “แคลเซียม”

  • เมื่อคนเราขาดแคลเซียม ร่างกายจะส่งเสียงผ่านสารพัดอาการ เช่น
  • อ่อนเพลีย
  • เหนื่อยง่าย
  • นอนไม่หลับ
  • ผิวแห้ง
  • เล็บเปราะ

หรือที่ร้ายแรงกว่านั้น คือโรคเกี่ยวกับกระดูกจะถาโถมมาแบบไม่ทันตั้งตัว เช่น ปวดตามข้อ กระดูกอ่อนอักเสบ หรือกระทั่ง “โรคกระดูกพรุน” ซึ่งทางสถิติบ่งชี้ว่า เมื่ออายุแตะเลข 30 ปี มวลกระดูกจะเริ่มสูญสลายไป และจะมีผู้หญิงไทยร้อยละ 50 รวมถึงผู้ชายอายุมากกว่า 65 ปี ร้อยละ 20 ที่มีอาการของโรคกระดูกพรุน

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/stocksnap-894430/

อันตรายจากโรคกระดูกพรุน

ความน่ากลัวของโรคกระดูกพรุนและอาการขาดแคลเซียม คืออันตรายที่เป็นภัยเงียบอย่างแท้จริง เพราะปกติแล้วในช่วงอายุระหว่าง 30-35 ปี ร่างกายจะมีทั้งขั้นตอนของการ “สร้างและสลายกระดูก” ที่สมดุลกัน แต่เมื่อวันเวลาล่วงเลยจนเข้าสู่ช่วงอายุ 40 ปี ขั้นตอนการสลายกระดูกจะเริ่มมีมากกว่าการสร้างอย่างชัดเจน หรือพูดได้ว่า “ครึ่งชีวิตของเรา ล้วนอยู่กับขั้นตอนการสลายกระดูกตลอดเวลา”

ขั้นตอนต่อมาเมื่อกระดูกสลายไปเรื่อยๆ เราจะเริ่มรับรู้ถึงสภาพโครงสร้างแสนจะเปราะบางในตัว เพียงการกระแทกเบาๆ หรือการไอ-จาม จนเกิดบิดเอี้ยวตัวกะทันหัน ก็มากพอที่จะทำให้กระดูกแตกหักได้แล้ว และยังมีโอกาสสูงมากที่จะเกิดการแตกหักครั้งที่ 2 หรือ 3 ตามมา สิ่งเดียวที่มนุษย์สามารถชะลออาการธรรมชาตินี้ได้ จึงมีเพียงการเสริมแคลเซียมให้กระดูกเท่านั้น

อาหารที่มีแคลเซียม

จริงๆ แล้วแร่ธาตุแคลเซียมเป็นอะไรที่อยู่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิด อย่างแรกที่หลายคนนึกออกคงจะเป็น “นมและผลิตภัณฑ์จากนม” ซึ่งมีปริมาณแคลเซียมที่สูงและยังหาได้ง่าย แต่หากใครไม่สะดวกดื่มนม ก็อาจเลือกแก้ไขได้ด้วยอาหารชนิดอื่น อย่าง พวกปลาตัวเล็ก ผักใบเขียว หรือธัญพืชบางชนิด เช่น งาดำ เป็นต้น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@briansuman

ทำไมเราถึงยังเสี่ยงขาดแคลเซียม?

ในอาหาร 3 มื้อ ที่เราทานไปแต่ละวันนั้น เฉลี่ยแล้วเท่ากับเราได้รับแคลเซียมเพียงวันละ 361 มิลลิกรัมเท่านั้น เทียบกับปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน คือ วัยเด็ก ต้องการแคลเซียมประมาณ 800 มิลลิกรัม/วัน , วัยรุ่น ต้องการแคลเซียมประมาณ 1,300 มิลลิกรัม/วัน และวัยผู้ใหญ่ ต้องการแคลเซียมประมาณ 1,000-1,200 มิลลิกรัม/วัน หรือคิดโดยเฉลี่ยตลอดช่วงชีวิตของคนเรา “ต้องการปริมาณแคลเซียมประมาณ 1,000 มิลลิกรัม/วัน” นั่นเอง

นั่นบ่งบอกได้ว่า ถ้าเราใช้ชีวิตสบายๆ ทานอาหารปกติ เราจะขาดแคลเซียมในปริมาณที่ร่างกายควรจะได้ไปเฉลี่ยวันละ 640 มิลลิกรัมเลยทีเดียว หรือเท่ากับเราต้องดื่มนมเพิ่ม อย่างน้อยๆ วันละไม่ต่ำกว่า 3 แก้ว จึงจะได้แคลเซียมเพียงพอต่อความต้องการ

อย่างไรก็ตาม หากใครที่ไม่แน่ใจว่าตัวเองกำลังขาดแคลเซียมอยู่หรือไม่ มีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนมากน้อยแค่ไหน และต้องการยาหรืออาหารเสริมแคลเซียมหรือเปล่า สามารถเข้ารับการตรวจร่างกายกับคุณหมอใกล้บ้านก่อนได้

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับอาการเจ็บปวดตามข้อสัญญาณเตือนว่าร่างกายกำลังขาดแคลเซียม ควรทำการเสริมสร้างกระดูกเพื่อทดแทนการสูญเสีย เพราะมวลกระดูกมีความหนาแน่นลดลงอย่างรวดเร็ว และจะลดลงอย่างต่อเนื่องในวัยสูงอายุ ยิ่งไปกว่านั้นผู้สูงอายุมีความเสื่อมถอยของร่างกาย และหมั่นออกำลังแบบใช้แรงต้าน ที่ไม่กระทบต่อกระดูก DooDiDo แนะนำว่าควรออกกำลังกายครั้งละอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย และหากไม่สามารถรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมได้มากพอ ก็ให้รับประทานยาเม็ดแคลเซียมแทนหรือรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียม รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมตามคำแนะนำของกรมอนามัย โดยให้ได้แคลเซียม 800 มิลลิกรัมต่อวัน

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.sanook.com