ระวัง!! อาการนอนไม่หลับ นอนน้อย เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานได้

WM

นอนอย่างไร เพื่อไม่ให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน!!

การนอนไม่หลับ นอนน้อย ส่งผลเสียต่อสุขภาพและอาจเป็นสาเหตุนำไปสู่โรคต่างๆ ได้ค่ะ ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งลำไส้ โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง โรคอ้วน หรือแม้แต่โรคเบาหวานก็เช่นกัน วันนี้เรามีข้อมูลสุขภสพเกี่ยวกับการนอนไม่หลับกับโรคเบาหวานมาฝากค่ะ ว่าแต่จะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร มาดูกันเลยค่ะ

ถ้าคุณมีปัญหาการนอนหลับมาเป็นเวลานาน ควรปรึกษาคุณหมอ เนื่องจากปัญหาการนอนหลับอาจส่งผลต่อสุขภาพ นอกจากนี้นักวิจัยยังกล่าวว่า โรคเบาหวานกับการนอน เกี่ยวข้องกันอย่างมาก เพราะโรคเบาหวานสามารถส่งผลกระทบต่อการนอนได้ และผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานจึงอาจมีปัญหานอนไม่หลับ หรือนอนไม่เพียงพอ บทความนี้จะมาลองแนะนำท่านที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ให้ลองสังเกตการนอนของตัวเอง และเสนอเทคนิคเกี่ยวกับการนอนหลับสำหรับผู้ป่วยเบาหวานให้มีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/free-photos-242387/

โรคเบาหวานกับการนอนหลับ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

งานวิจัยปี 2012 นักวิจัยได้ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างการรบกวนการนอนหลับกับโรคเบาหวาน เพื่อตรวจสอบว่าเบาหวานสามารถการรบกวนการนอนหลับ ทำให้นอนหลับยาก นอนไม่หลับ หรือนอนหลับมากเกินไปได้หรือไม่ งานวิจัยพบว่าโรคเบาหวานกับการนอนหลับนั้นเกี่ยวข้องกันอย่างชัดเจน และนักวิจัยยังเผยอีกว่า การนอนหลับไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน และอาจเป็นปัจจัยที่สามารถควบคุมได้

อย่างไรก็ตามเบาหวานไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการนอนเสมอไป ปัญหาการนอนขึ้นอยู่กับอาการของโรคเบาหวานที่คุณพบและวิธีที่คุณจัดการกับอาการเหล่านี้ อาการที่อาจเป็นสาเหตุของปัญหาในการนอนหลับ เช่น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/stevepb-282134/
  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้ปัสสาวะบ่อย หากอาการนี้เกิดขึ้นในตอนกลางคืน ก็อาจทำให้คุณต้องตื่นนอนกลางดึกเพื่อเข้าห้องน้ำ
  • น้ำตาลกลูโคสมากขึ้น น้ำตาลกลูโคสจะดึงน้ำออกจากเนื้อเยื่อ ทำให้คุณรู้สึกกระหายน้ำ และต้องตื่นมาดื่มน้ำกลางดึก
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น อาการตัวสั่น วิงเวียน และมีเหงื่อออก สามารถส่งผลต่อการนอนหลับของคุณ

ภาวะนอนหลับผิดปกติกับโรคเบาหวาน ภาวะนอนหลับผิดปกติเหล่านี้ อาจส่งผลกระทบกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้มากกว่าคนปกติ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://health.mthai.com

1. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นหนึ่งในอาการนอนหลับผิดปกติที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ร่างกายจะหยุดหายใจและเริ่มหายใจใหม่ซ้ำๆ ตลอดคืน งานศึกษาวิจัยในปี 2009 ชิ้นหนึ่งพบว่า 86% ของกลุ่มตัวอย่างมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับและโรคเบาหวาน และ 55% ของกลุ่มตัวอย่างนี้มีอาการรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษา

2. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ พบมากในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพราะมักมีน้ำหนักเกิน จึงส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ หากพบว่าตัวเองรู้สึกเหนื่อยล้าระหว่างวัน และนอนกรนตอนกลางคืน อาจเป็นสัญญาณของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ดังนั้น คุณจึงควรรักษาสุขภาพ โดยเริ่มต้นจากการลดน้ำหนัก ให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://women.thaiza.com

3. กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless leg syndrome หรือ RLS) คือ อาการขากระตุกเป็นพักๆ ที่มักเกิดขึ้นตลอดทั้งคืนจนทำให้คุณนอนไม่หลับ กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก แต่ปัญหาสุขภาพบางประการ เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ปัญหาโรคไต ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ ก็จัดเป็นปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการนี้เช่นกัน

หากคุณมีความเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข ควรปรึกษาคุณหมอ และหากสูบบุหรี่ ก็ควรเลิกบุหรี่ให้ได้ เพราะสามารถกระตุ้นการเกิดกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/cuncon-3452518/

โรคนอนไม่หลับ หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือเครียดมาก ความเสี่ยงในการเกิดโรคนอนไม่หลับก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น การบรรเทาความเครียดอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนอนไม่หลับได้ แต่ถ้าคุณนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรปรึกษาแพทย์

เทคนิคที่จะช่วยทำให้คุณนอนหลับดีขึ้น หากอยากนอนหลับพักผ่อนได้ดีขึ้น ลองใช้เทคนิคเหล่านี้ดู

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/sweetlouise-3967705/

1. หลีกเลี่ยงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเล่นโทรศัพท์มือถือก่อนนอน อาจรบกวนการนอนหลับได้ จึงควรเปลี่ยนไปทำกิจกรรมผ่อนคลายอื่นๆ เและปิดอุปกรณ์มือถือขณะนอนหลับ เพื่อช่วยให้หลับสนิทยิ่งขึ้น

2. กำจัดสิ่งรบกวน หากได้รับแจ้งเตือนข้อความกลางดึกบ่อยๆจนนอนไม่หลับหรือหลับๆตื่นๆ ควรปิดโทรศัพท์ก่อนนอน หรือปิดโหมดการใช้งาน ลดการรบกวนจากเสียงโทรศัพท์

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/free-photos-242387/

3.ควรเข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดียวกันทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นวันธรรมดาหรือวันหยุด เพื่อให้ร่างกายของคุณสามารถนอนหลับตรงเวลา และตื่นนอนด้วยตัวเองโดยไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุก

4.หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นกลางดึก คุณควรงดดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนหลังบ่ายสอง และการออกกำลังกายในตอนกลางคืน เพราะอาจกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำให้ตื่นตัว จนกระทบต่อการนอนหลับ

จากข้อมูลที่ DooDiDo นำเสนอมาข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่า คนที่นอนตื่นสาย พักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ผิดปกติไปและส่งผลต่อการทำงานของตับอ่อนที่แย่ลง ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะดื้อต่ออินซูลินได้ จึงแนะนำว่าควรพักผ่อนโดย เข้านอน 2-3 ทุ่ม แล้วตื่นนอนเวลา 6 โมง ให้สัมพันธ์กับนาฬิกาชีวภาพค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : https://hellokhunmor.com