มาดู!! อาชีพที่ได้รับความนิยมของนักศึกษาจบใหม่ที่อยากทำ

WM

สายงานไหนที่มีค่าตอบแทนในการทำงานที่สูง ไม่ตกงาน จบออกมาแล้วมีงานรองรับ

สวัสดีค่ะ เชื่อว่าใครหลายคนที่กำลังมองหาอาชีพในอนาคตที่มีรายได้สูงๆ ปัจจุบันมนุษย์เราได้เปลี่ยนแปลงความคิดไปจากแต่ก่อนโดยสิ้นเชิง ก่อนที่จะเข้าเรียนมหาลัยทุกคนต่างก็อยากเข้าเรียนในสาขาวิชาที่ตัวเองชอบ แต่ด้วยยุคสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงกทางความคิดมาก เนื่องจากค่าครองในปัจจุบันสูงมาก จึงทำให้มนุษย์เราต้องศึกษาว่าเมื่อจบออกไปสายงานไหนที่มีค่าตอบแทนในการทำงานที่สูง ไม่ตกงาน จบออกมาแล้วมีงานรองรับ ซึ่งนอกจากอาชีพที่ได้รับความนิยมภายในประเทศของตัวเอง ยังต้องศึกษาข้อมูลอาชีพที่ได้รับความนิยมในระดับสากล ปัจจุบันโลกของเรามีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีมาก จากที่การทำงานสมัยก่อนจำเป็นต้องใช้แรงงานคนในการทำงาน ตอนนี้การทำงานโดยใช้เครื่องจักรได้รับการนำมาใช้แทนแรงงานเนื่องจากสามารถทำงานได้เร็วมีกำลังการผลิตมากกว่าแรงงานจากมนุษย์  วันนี้เรามี อาชีพที่ได้รับความนิยม Lifestyle ของนักศึกษาจบใหม่อยากทำ ในประเทศไทยมามาฝากให้เพื่อนได้รู้กันอย่ารอช้าไปดูกันเล้ยยยยย

นักศึกษาจบใหม่ เมื่อพ้นออกมาจากรั้วมหาวิทยาลัย ก็ถึงคราวต้องหางานทำ ถึงเวลาต้องออกไปเผชิญโลกกว้างพร้อมเจอสังคมในรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งมีความแตกต่างจากชีวิตสมัยเรียนเป็นอย่างมาก แน่นอนว่าคำถามอันดับ 1 ที่นักศึกษาเหล่านี้จะต้องค้นหาคำตอบให้เจอก็คือ‘ ฉันจะประกอบอาชีพอะไรดี ‘ แน่นอนว่านักศึกษาหลายๆ คน ต้องการประกอบอาชีพตามที่ตัวเองได้ร่ำเรียนศึกษาหาความรู้มาเป็นระยะเวลาถึง 4 ปี แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ผู้คนต่างไขว่คว้าหางานทำตามที่ตนต้องการนั้นก็มีมาก เพราะฉะนั้นนักศึกษาบางคนจึงต้องทำงานด้านอื่นก่อน เพื่อหาเงินเลี้ยงตัว ก่อนจะขยับปรับเปลี่ยนในภายหลัง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/photos/hpjSkU2UYSU

จากการสำรวจของเว็บไซต์หางาน JobThai.com ที่เรานำมาอ้างอิงกันในวันนี้ นี่คือ 5 อันดับของ สาขาการศึกษาของนักศึกษาจบใหม่ระดับปริญญาตรีซึ่งมีจำนวนมากที่สุด

  • การบริหาร , การจัดการบุคคล ร้อยละ 10
  • บัญชี , การเงิน , การธนาคาร ร้อยละ 9
  • วิทยาศาสตร์ , ฟิสิกส์ , เคมี ร้อยละ 7
  • อักษรศาสตร์ , ศิลปะศาสตร์ , มนุษยศาสตร์ ร้อยละ 6
  • วิศวกรรม , สาขาอุตสาหการ – เครื่องกล ร้อยละ 5.9
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/photos/WDCE0T4khsE

สาขาอาชีพที่นักศึกษาจบใหม่สมัครมากที่สุด คือ

  • งานธุรการ,จัดซื้อ ร้อยละ 15.3
  • งานผลิต , งานควบคุมคุณภาพ ร้อยละ 9.2
  • งานวิศวกรรม ร้อยละ 9.2
  • งานบัญชี , การเงิน ร้อยละ 8.2
  • งานทรัพยากรบุคคล ร้อยละ 7.3

งาน logistics และSupply chain ร้อยละ 6.9

  • งานขาย ร้อยละ 6.9
  • งานวิทยาศาสตร์ , งานวิจัยพัฒนา ร้อยละ 5.7
  • งานบริการลูกค้า ร้อยละ 5.5
  • งานการตลาด ร้อยละ 4.2

ในปัจจุบันนี้การที่นักศึกษาจบใหม่หันมาให้ความสนใจกับ งาน logistics และSupply chain มากขึ้น มีสาเหตุมาจากยุคนี้เป็น Globalization คือ ทุกอย่างมันเชื่อมโยงได้ถึงกันหมด ไม่ว่าจะทั้งด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงปัจจัยทางการค้าขายในรูปแบบ E-Commerce ซึ่งมีความเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้นักศึกษาจบใหม่หันมาสมัครงานด้านนี้เยอะขึ้น ในขณะเดียวกัน งานการตลาด นักศึกษาจบใหม่ก็หันไปสมัครงานด้านนี้มากขึ้น เนื่องจากสายงานการตลาด ได้มีการแตกแขนงออกไปในหลากหลายสาขา เช่น PR , สื่อสารการตลาด, การพัฒนาธุรกิจ และงานการตลาดซึ่งกำลังมาแรงมากในปัจจุบันนี้ คือ Digital Marketing

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/photos/MTvPWhQKZK4

นอกจากนี้ จากการสำรวจความคิดเห็นของฝ่ายทรัพยากรบุคคลจากหลากหลายองค์กร ในเรื่องของปัญหาซึ่งพบมากในนักศึกษาจบใหม่ ได้แก่

  • เปลี่ยนงานบ่อย
  • ต้องการเงินเดือนสูงๆ ทั้งที่ยังไม่มีประสบการณ์
  • ไม่มีความอดทนต่อแรงกดดัน ทั้งในเรื่องของการทำงานและคำวิจารณ์
  • การปรับตัวเข้าสู่ชีวิตการทำงาน
  • มีความมั่นใจในตัวเองจนเกินไป
  • การอยู่ภายใต้กฎระเบียบ

ทั้งนี้เมื่อนักศึกษาจบใหม่ได้เข้าทำงานตามต้องการแล้ว ก็ต้องมีการวางตัวอยู่ภายใต้กฎระเบียบ และมุ่งมั่นทำงานของตัวเองให้ดีที่สุด ให้สมความไว้วางใจให้เข้ามาทำงาน

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ก็จบลงไปกันแล้วน้า กับสาระความดีๆ ที่ DooDiDo ได้นำมาฝากกับเรื่อง อาชีพที่ได้รับความนิยม Lifestyle ของนักศึกษาจบใหม่อยากทำ เพื่อนๆ คงเห็นกันหมดแล้วว่ามีอาชีพไหนบ้างที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย แต่ถึงเราจะไม่ได้จบจากคณะที่มีได้รับความนิยมในการมีอาชีพรองรับ ว่าจะเป็นสายงานอาชีพไหนก็มีความสำคัญไม่ต่างกัน จากสถานการณ์ปัจจุบันที่ทั่วโลกเผชิญกับการระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อาชีพที่ได้รับความนิยมจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังนั้นไม่ว่าจะอาชีพไหนก็มีความสำคัญไม่แพ้กันนะค่ะ

แหล่งที่มา : www.thestyletographer.com