ทัศนคติในการใช้ชีวิตที่อาจส่งผลเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในระยะยาว

WM

แนะนำวิธีการรับมือกับความเครียดช่วยให้คนทำงานสามารถมีสุขภาพใจที่ดีมากขึ้น

ลองมาดูแนวทางการใช้ชีวิตขอวเราย่อมที่จะประสบพบเจอกับสิ่งที่เรียกว่า “อุปสรรค” ค่ะ แต่อุปสรรคเหล่านั้นจะมาทำให้การใช้ชีวิตในการเรียน การทำงาน ของเราบั่นทอนไม่ได้เด็ดขาด เพื่อนๆ ทุกท่านที่เข้าสู่วัยเรียนที่ทำงานเป็นกลุ่ม หรือท่านที่ทำงานในบริษัทหรือองค์กรที่มีความจำเป็นต้องทำงานประสานกันอยู่ทุกวัน เคยพบเจกกับเพื่อนรวมงานแย่ๆมั้ยค่ะ เพื่อนที่ไม่รับผิดชอบต่อหน้าอยู่บ่อยครั้ง จนเราเองนั้นถึงขึ้น ปลง และมักจะอุทาน ว่า “เฮ้ออออออ” หรือแม้แต่ต้อนที่เราเครียดเราก็มักจะเผลอ“เฮ้ออออออ” ออกมาอย่างเสียไม่ได้  รู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมแบบนี้ไม่ดีต่อสุขภาพจิตนะคะ มาอ่านข้อมูลที่เรารวบรวมมาได้เลยค่ะ

 ไลฟ์สไตล์ดี ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต

“เฮ้อ…”

เสียงถอนหายใจจากเพื่อนร่วมงานที่นั่งทำงานอยู่ตรงข้าม ซึ่งดังเป็นครั้งที่เท่าไหร่แล้วก็ไม่รู้ของวันนี้ ทำให้ภาคินอดไม่ได้ที่จะเงยหน้าขึ้นไปมองด้วยความเป็นห่วง เพราะเหมือนว่าช่วงนี้เพื่อนร่วมงานของเขาจะดูเครียด ไม่ค่อยพูดค่อยจา และหงุดหงิดง่ายกว่าปกติ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@elisa_ventur

เป็นธรรมดาของการทำงานที่บางครั้งอาจจะมีเรื่องที่ทำให้ต้องเครียดบ้าง แต่สิ่งสำคัญก็คือ เราต้องไม่ปล่อยให้ความเครียดนั้นมีมากเกินไป เพราะมันไม่เพียงส่งผลเสียต่อสุขภาพกายของเราเท่านั้น แต่มันยังสามารถทำให้สุขภาพจิตของเราแย่ลงด้วยเช่นกัน วันนี้เราจึงมีคำแนะนำที่จะช่วยให้คนทำงานสามารถรับมือกับความเครียดและมีสุขภาพใจที่ดีมากขึ้นมาฝาก ซึ่งเป็นวิธีการง่าย ๆ ที่ทำได้ผ่านกิจกรรมและการใช้ชีวิตประจำวันของเรานั่นเอง

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นได้เมื่อต้องเผชิญกับความเครียด และได้หยุดคิดถึงปัญหาต่าง ๆ อีกทั้งหากเป็นการออกกำลังกายที่ได้ทำร่วมกับคนอื่น ๆ ก็จะยิ่งช่วยในเรื่องการเข้าสังคม มีเพื่อนให้พูดคุยอีกด้วย

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลากหลาย เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน เพราะคุณค่าในอาหารสามารถส่งผลต่ออารมณ์ สมาธิ และความจำของเรา

หาอะไรใหม่ ๆ ทำดูบ้าง เพราะมันจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรืออาจจะเลือกออกไปท่องเที่ยว ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัว ทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น ๆ ก็จะช่วยให้เราผ่อนคลาย และเยียวยาอาการเครียดได้

ลองช่วยเหลือและดูแลคนอื่นดูบ้าง นอกจากจะมีประโยชน์ต่อคนอื่นแล้ว การที่เราได้ให้ความสุขกับคนอื่น เราก็จะได้รับความสุขกลับคืนมา และแน่นอนว่าเมื่อมีความสุข จิตใจเราก็จะดีตามไปด้วย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@chrisjoelcampbell
  1. ออกกำลังกาย

เวลาที่คนเราเครียด หรือวิตกกังวล เราจะไม่สามารควบคุมตัวเองได้ การออกกำลังกายจะช่วยให้เราสามารถควบคุมร่างกายของตัวเองซึ่งเป็นขั้นแรกที่จะทำให้เราเริ่มรู้สึกดีขึ้น นอกจากนั้น การออกกำลังกายเป็นประจำยังช่วยรักษา และลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย เพราะขณะออกกำลังกายจะทำให้หยุดคิดถึงปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการออกกำลังกายร่วมกับคนอื่น ๆ ก็จะยิ่งช่วยในเรื่องการเข้าสังคม ซึ่งดีกว่าการเก็บตัวอยู่คนเดียวแล้วคิดถึงแต่เรื่องที่ทำให้ไม่มีความสุข

  1. ทานอาหารที่มีประโยชน์

การรับประทานอาหารมีส่วนสำคัญต่อสภาพจิตใจมาก เพราะคุณค่าในอาหารสามารถส่งผลต่อสมาธิ อารมณ์ และความจำของเรา เช่น อาหารจำพวกโฮลเกรน มีสารอาหารประเภทกลูโคสซึ่งมีประโยชน์ต่ออารมณ์ ถั่ว ผัก ผลไม้ต่าง ๆ ที่มีวิตามินบีและโฟเลต หรือปลาจำพวก Oily Fish อย่างปลาทูน่า ปลาแซลมอน หรือปลาแมคเคอเรล ที่มีโอเมก้า 3 ก็ช่วยในเรื่องอาการของโรคซึมเศร้าได้

อย่างไรก็ตาม ไม่มีอาหารชนิดไหนที่ดีที่สุด ดังนั้นเพื่อให้เราได้รับประโยชน์จากอาหารให้มากที่สุด ในแต่ละวันเราจึงควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย เพื่อที่จะได้สารอาหารอย่างครบถ้วน

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@septdoigt
  1. อยู่กับธรรมชาติ

การออกไปท่องเที่ยว อยู่ท่ามกลางแสงแดด สูดอากาศบริสุทธิ์ และฟังเสียงธรรมชาติ จะช่วยลดและเยียวยาอาการเครียดได้ หรือถ้าไม่มีเวลาที่จะไปเที่ยวไกล ๆ การออกไปเดินเล่นนอกออฟฟิศสักพัก ก็ช่วยได้เช่นกัน

  1. เข้าสังคม

การใช้เวลากับครอบครัว หรือเข้าสังคมกับคนอื่น ๆ จะช่วยพัฒนาความสุขและคุณภาพชีวิตของเราได้ ในทางกลับกัน คนที่ชอบอยู่ตัวคนเดียวจะมีความเสี่ยงที่จะมีสุขภาพไม่ดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@miracleday
  1. ทำงานอดิเรกหรือกิจกรรมต่างๆ

เลิกนั่งอยู่หน้าจอทีวี แล้วทำงานอดิเรก หรือหากิจกรรมอะไรใหม่ ๆ ทำดูบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำกิจกรรมกลางแจ้ง เพราะการทำกิจกรรมต่าง ๆ จะช่วยเรารู้สึกผ่อนคลาย ฝึกให้มีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และช่วยลดความเครียดลงได้

  1. ดูแลและช่วยเหลือผู้อื่น

การได้ดูแลช่วยเหลือคนอื่น เช่น การทำงานอาสาสมัคร นอกจากจะมีประโยชน์ต่อคนเหล่านั้นแล้ว ก็มีประโยชน์ต่อตัวเราเองเช่นกัน เพราะเมื่อเรามอบความสุขให้กับคนอื่น เราก็จะได้รับความสุขกลับมา และเมื่อเรามีความสุข สุขภาพจิตของเราก็จะดีตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การเปิดใจ ปัญหาเรื่องสุขภาพจิตเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่สังคมมักจะมองเรื่องเหล่านี้ในแง่ลบ ทั้งที่การเปิดกว้างเรื่องสุขภาพจิตนั้นส่งผลดีต่อทุกคน เมื่อเริ่มมีปัญหาเกิดขึ้น สิ่งที่เราควรทำคือต้องเปิดใจยอมรับมัน และรีบหาวิธีแก้ไข

มาถึงในส่วนท้ายของบทความกันแล้วนะคะ เป็นอย่างไรกันบ้างเอ้ย การนั่งทำงานอยู่เป้นเวลานานนั้น สามารถที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตของเราได้อย่างดี การเจอภาวะของความเครียด ความกดดัน ในการทำงาน นั้นเป็นสิ่งที่เราต้องเจอ แต่เราเองก็ต้องรู้จักวิธีที่จะทำให้เราได้ผ่อนคลายบ้าง ในช่วงเวลาที่เรามีเวลาหลังจากการทำงาน อย่างการที่ DooDiDo อยากแนะนำ เช่น การออกไปทำกิจจอย่างอื่น เช่น ออกกำลังกาย ท่องเที่ยว ฟังเพลง วาดรูป ก็สามารถที่จะช่วยให้เรานั้นคลายความเครียดไปได้บ้างเล็กน้อย ซึ่งนั้นดีกว่าที่ท่านจะเก็ยสะสมความเครียดไว้นะคะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : https://blog.jobthai.com