จริงหรือไม่!! ผงชูรส เป็นตัวอันตราย บ่อนทำลายสมองและทำให้ผมร่วง

WM

ผงชูรสเป็นที่นิยมในการเป็นส่วนประกอบที่ช่วยเสริมรสชาติของอาหารอร่อยกลมกล่อม

สำหรับคนรักสุขภาพแล้ว สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงมากที่สุดก็คงจะเป็นในเรื่องของอาหารใช่มั้ยล่ะคะ ซึ่งแน่นอนว่าการเลือกทานอาหารที่มีรสจัดนั้นไม่มีทางเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนรักสุขภาพแน่นอน ดังนั้นแล้วหลายๆ คนก็คงจะเลี่ยงการทานอาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็นขนมเค้กแสนหวาน มีเปี่ยมไปด้วย เนย นม น้ำตาล ผัดกระเพราะรสจัดเด็ด เผ็ดจัดจ้าน พร้อมกัยเครื่องปรุงรสสุดบ้าระห่ำของแม่ครัว ซึ่งแน่นอนว่าจำเลยของผัดกระเพราะจานโปรดเราเหล่านนี้ก็คงจะไม่พ้น ผงชูรสนี่ล่ะค่ะ

“ผงชูรส” ถูกตีตราว่าเป็นตัวอันตราย บ่อนทำลายสมอง ทำให้ผมร่วง แต่ทั้งหมดเป็น “ความเชื่อ” ที่บอกต่อๆ กันมานาน แต่จากข้อมูลการวิจัยและทดลอง พบว่า “ผงชูรส” ไม่ได้เป็นผู้ร้ายอย่างที่เข้าใจ ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักกับ  “ผงชูรส”  ว่า คืออะไร ? “ผงชูรส” หรือโมโนโซเดียมกลูตาเมท (MSG) ประกอบไปด้วยโซเดียม (เกลือ) และกรดกลูตามิก (กรดอะมิโนชนิดหนึ่ง)

“ผงชูรส” เกิดจากการหมักกากน้ำตาลจากอ้อย หรือน้ำตาลจากแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นวัตถุดิบธรรมชาติ โดยผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่ได้จะเป็นผลึกขาวบริสุทธิ์ ละลายน้ำได้ง่าย และเข้ากับอาหารได้ทุกชนิด ผงชูรสเป็นที่นิยมในการเป็นส่วนประกอบที่ช่วยเสริมรสชาติของอาหารอร่อยกลมกล่อม หรือเรียกภาษาชาวบ้าน คือ “ผงนัว” ที่นั่นเอง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://www.freepik.com/racool-studio

เปิด 5 ข้อกล่าวหาที่ “ผงชูรส” ตกเป็นจำเลยของสังคม

1. รับประทานผงชูรสมากๆ ทำให้ ผมร่วง หรือ หัวล้าน เป็นความเชื่อที่ผิด ซึ่งข้อกล่าวหานี้ ยังไม่มีปรากฎในวารสารทางการแพทย์ หรือผลงานวิจัยใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งที่จริงแล้ว สาเหตุใหญ่ ๆ ของผมร่วง เกิดจากความผิดปกติของรูขุมขนบนหนังศีรษะ และเส้นผมเอง  ฮอร์โมน หรือ กรรมพันธุ์ ของแต่ละคน

2. คอแห้ง กระหายน้ำ ลิ้นชา แขน หลัง และคอมีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ใจสั่น แน่นหน้าอก หน้าแดง จนถึงขั้นเป็นลม กระตุ้นอาการหืดหอบ และไมเกรนให้กำเริบ ฯลฯ ถึงจะมีรายชื่อของโรคต่าง ๆ เป็นหางว่าว แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปฟันธงได้ว่า อาการผิดปกติดังกล่าว มาจากผงชูรสเพียงอย่างเดียว เพราะจากเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น และจากการทดลอง มีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องอีกมากมาย เช่น ร่างกายของแต่ละคนขณะทาน โรคประจำตัว รวมทั้งส่วนประกอบของอาหารต่าง ๆ ที่ส่งผลต่ออาการเหล่านั้นได้ด้วยเช่นกัน

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://www.freepik.com/mdjaff

3. กรดอะมิโน ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ กับกลูตาเมตจากผงชูรสไม่มีความแตกต่างกัน และในอาหารธรรมชาติที่เรารับประทานในแต่ละวันนั้น ก็มีกลูตาเมตมากกว่าที่ได้รับจากผงชูรส 20-40 เท่า

4. หากเทียบกันแล้ว เกลือแกง ยังมีโซเดียมมากเกินกว่า ผงชูรสด้วยซ้ำ  แต่ไม่มีใครกล่าวโทษ ความเค็มที่มาจากเกลือเลย

5. ผงชูรสปลอม (ผสมบอแรกซ์) ข้อนี้สำคัญมาก เป็นถ้าเป็นผงชูรสปลอม จะมีสารอันตรายหลายชนิด ที่ส่งผลต่อสุขภาพจริงๆ และทำให้คนพิพากษาผงชูรสในแง่ลบไปทั้งหมด

ผลจาก 5 ข้อ ดังกล่าว ทำให้ “ผงชูรส” กลายเป็นผู้ร้าย แต่ในความเป็นจริง ถ้าร่างกาย ได้รับผงชูรสมากเกินไป ก็ยังไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ เพราะกลูตาเมตในผงชูรส ส่งผลต่อระบบประสาทไม่รุนแรงนัก เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ของเหลวในร่างกายก็จะทำการย่อยสลายออกไปจึงทำให้ไม่ส่งผลเสียแต่อย่างใด

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://www.freepik.com/azerbaijan-stockers

อย่างไรก็ตาม สำหรับบางคนที่ยังไม่สามารถตัดผงชูรสออกไปจากมื้ออาหารได้ ก็ไม่ต้องวิตกกังวล เพราะเราสามารถรับประทานได้ไม่เกินวันละ 2 ช้อนชา หรือหากต้องการให้รสชาติของอาหารที่ความอร่อยกลมกล่อมใกล้เคียงกับการใส่ผลชูรส สามารถใส่วัตถุดิบจากธรรมชาติได้ เช่น สาหร่าย น้ำต้มกระดูก

เป็นอย่างไรล่ะคะ เพียงเท่านี้ก็ถือว่าได้ข้อสรุปกันแล้วล่ะค่ะว่าเจ้าผงชูรส ที่หลายๆ คนกลัวนักกลัวหนา นั้นแท้จริงแล้วก็ไม่ได้อันตรายขนาดนั้น และนั่นก็ไม่ได้อันตรายจนถึงขนาดที่ว่าถ้าหากทานในปริมาณที่มากเกินพอดีก็ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายด้วย (ถึงจะไม่ได้ให้คุณประโยชน์อะไรแต่ก็ทำให้มื้ออาหารของเราอร่อยขึ้นนะ) ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีเลยใช่มั้ยละคะ แต่อย่างไรก็ตาม DooDiDo คิดว่าก็ไม่ใช่ว่าทุกคนสามารถใส่ผงชูรสลงไปในมื้ออาหารได้ทุกมื้อหรอกนะคะ เพราะเดี๋ยวจะกลายเป็นว่าทุกคนจะติดการทานอาหารรสเค็มมากเกินไป

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.komchadluek.net