“คริลล์ออย” ตัวช่วยสำคัญป้องกัน Long Covid ได้

WM

มาดู!! สาเหตุการเป็นลองโควิด (Long Covid)

หากคุณเคยติดเชื้อไวรัสโควิด –19 และได้รับการรักษาจนหายดีแล้ว แต่กลับรู้สึกว่าร่างกายยังไม่แข็งแรงเท่าเดิมและมีอาการผิดปกติต่อร่างกายหลังจากหายจากโควิด อีกทั้งยังมีอาการป่วยไม่ต่างกับติดเชื้อ แม้ว่าเวลาจะผ่านไปแล้วหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนแล้วก็ตาม อาจมีความเป็นไปได้ว่าคุณกำลังตกอยู่ใน ภาวะโพสโควิด (Post Covid Syndrome) หรือ Long COVID

Long COVID คือ อาการเจ็บป่วยที่ตามมา แม้จะมีการรักษาการติดเชื้อ จนร่างกายไม่พบเชื้อโควิด-19 แล้ว แต่ยังพบอาการเจ็บป่วยหลงเหลืออยู่ ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วกว่า 30 – 50 % และมักพบหลังการติดเชื้อตั้งแต่ 4 สัปดาห์ จนถึง 12 สัปดาห์ขึ้นไป มีลักษณะอาการคล้ายขณะติดเชื้อ หรืออาจอาการที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกระบบของร่างกาย ตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท เป็นต้น ซึ่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวสาเหตุของ Long COVID ไว้ดังนี้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/tumisu-148124/

สาเหตุการเป็นลองโควิด (Long Covid)

– มีเชื้อไวรัสหลงเหลือในอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดการอักเสบต่อเนื่อง

– การอักเสบในหลายอวัยวะ ทำให้อวัยวะผิดปกติแบบถาวร ส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว

– ผลกระทบจากการรักษา และนอนโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน

– ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติภายหลังการติดเชื้อ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@theyshane

อาการ Long Covid มีอะไรบ้าง ?

สำหรับอาการลองโควิดมีมากกว่า 200 อาการ  โดยพบได้ในทุกระบบของร่างกาย แต่อาการที่พบได้บ่อย 3 อันดับแรก ได้แก่

  1. อ่อนเพลีย
  2. หายใจไม่เต็มอิ่ม ทำกิจกรรมปกติได้ลดลง เหนื่อยง่าย
  3. ภาวะสมองเสื่อม เช่น ขาดสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อในสิ่งที่จะทำ มีปัญหาการนอนหลับ รวมทั้งความสามารถในการควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมลดลง

นอกจากนี้อาจพบภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับ ระบบหัวใจและหลอดเลือด หรือที่วงการแพทย์เรียกว่า COVID Heart (Cardiovascular COVID) อาการต่อเนื่องหลังติดเชื้อที่ส่งผลโดยตรงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งพบได้ในทุกกลุ่มคนที่เคยติดเชื้อ โดยอาการที่พบบ่อย ก็คือ ใจสั่น เหนื่อยง่าย หายใจติดขัด เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ เสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและอ่อนแรงบีบตัวได้น้อยลง

และล่าสุดมีผลการวิจัยพบว่าผู้ที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 มีความเสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือดอุดตันเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเชื้ออาการรุนแรง และผู้ติดเชื้อในการระบาดในระลอกแรกมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันสูงที่สุด  โดยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ลิ่มเลือดที่หัวใจ ลิ่มเลือดในปอดหรือเส้นเลือดอุดตันที่ปอด รวมทั้งเลือดออกที่อวัยวะภายใน เช่น หลอดเลือดสมอง เป็นต้น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@jsnbrsc

อาการ Long Covid รักษาได้หรือไม่ ?

ในปัจจุบันยังไม่มียาหรือวิธีรักษาเฉพาะสำหรับอาการ Long Covid ดังนั้นเมื่อหายจากการติดเชื้อจึงควรปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หมั่นสังเกตและประเมินสุขภาพอยู่เสมอ หลังจากหายป่วย และต้องเน้นดูแลร่างกายเพิ่มเติมเพื่อลดผลกระทบจากการอักเสบ เช่น เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ พักผ่อนให้เพียงพอ เเละออกกำลังแบบไม่หักโหมจนเกินไป  เป็นต้น  

นอกจากวิธีดูแลตัวเองในเบื้องต้นแล้ว ผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำให้รับประทานสารอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีคุณสมบัติลดการอักเสบที่เป็นสาเหตุหลักของอาการ Long Covid และมีส่วนช่วยในการบำรุงระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งส่งเสริมภูมิต้านทานให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงดังเดิม

คริลล์ออย (Kill oil)   หรือ สารสกัดจากกุ้งขนาดเล็กคือ สารอาหารธรรมชาติจากใต้ท้องทะเลลึกที่อุดมไปด้วย กรดไขมันหลายชนิดทั้ง Omega-3 ,Omega-6 และ Omega-9 ซึ่งเป็นสารอาหารที่รู้จักกันดีในผู้ที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูง เพราะคุณประโยชน์ของกรดไขมันหลากหลายชนิดมีส่วนช่วยในการลดภาวะไขมันในเลือดสูง อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดให้แข็งแรงขึ้น ลดการเกาะตัวของเกร็ดเลือด ป้องกันลิ่มเลือดอุดตัน รวมทั้งลดภาวะอักเสบในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการ Long Covid

นอกจากนี้สารสกัดจากกุ้งขนาดเล็กยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ที่สามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้ดีกว่าวิตามินซี วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน มีผลต่อการป้องกันและชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ และช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้นด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม หากพบว่าอาการ Long Covid เป็นอุปสรรค์ต่อการใช้ชีวิต หรือมีอาการที่รุนแรง DooDiDo ขอแนะนำว่าควรรีบเข้าพบแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากอาการที่เกิดขึ้นอาจมีสาเหตุมาจากความเจ็บป่วยอื่น ๆ ซึ่งต้องได้รับการรักษาที่ต่างออกไป หากปล่อยเรื้อรังก็อาจเป็นอันตรายในระยะยาวได้

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: www.megawecare.co.th