ข้อควรรู้!! หากทำงานอยู่หน้าจอนานๆ อาจเสี่ยงเป็นโรคที่เกี่ยวกับมือได้

WM

มาดู !! 3 โรคที่เกิดกับมือ เมื่ออยู่หน้าจอนานๆ 

ในยุคที่ทุกคนมีมือถือและคอมพิวเตอร์มาเป็นอีกปัจจัยหลักในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันนั้น คงจะหนีไม่พ้นที่จะต้องใช้มือเพื่อเป็นตัวช่วยในการใช้งานเครื่องมือเหล่านี้ มือนับเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีความสำคัญเพื่อใช้ในการหยิบจับสิ่งของ รวมทั้งทำกิจวัตรประจำวันแทบทุกอย่างในชีวิต มือมีเส้นประสาทที่รับความรู้สึกมากที่สุดในร่างกายรองจากดวงตา จะสังเกตว่าคนตาบอดจะใช้มือคลำอักษรเบรลล์ มือของเราประกอบไปด้วย กระดูก เส้นเอ็น เส้นประสาท เส้นเลือด และข้อเล็กๆ ปัญหาในมือที่พบได้บ่อยมีสาเหตุหลักจากอุบัติเหตุ และปัญหาที่เกิดจากการทำงาน 

อาการที่สามารถพบได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ที่ใช้มือและแขนในการทำงานอย่างหนัก โดยจะรู้เจ็บแปล๊บที่บริเวณปลายนิ้ว คล้ายถูกเข็มแทงหรือไฟฟ้าช็อต ซึ่งอาการเหล่านี้ หากเกิดขึ้นแบบนานๆ ครั้ง ก็ไม่น่าเป็นห่วง เพราะอาจเกิดจากการขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงแบบชั่วคราว แต่หากเกิดขึ้นบ่อยๆ จนไม่สามารถใช้งานมือได้ตามปกติ อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของมือและนิ้วมือ โดยสามารถจำแนกบริเวณที่ชาตามสาเหตุของโรคได้ โดยปัญหามือที่เกิดจากการทำงานมาจาก 3 โรคมือสุดฮิตที่พบบ่อย มาดูกันค่ะว่ามีโรคอะไรบ้าง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/pexels-2286921/

1.นิ้วล็อค

เกิดจากการใช้งานมากไปหรือใช้มืออย่างไม่ถูกต้อง เช่น จับหรือเกร็งนิ้วมือเป็นเวลานาน จนเกิดการอักเสบที่โคนนิ้วมือ สาเหตุเกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นที่ทำหน้าที่งอนิ้วมือ เมื่อปลอกหุ้นเอ็นอักเสบจะเกิดการหดตัว ทำให้เส้นเอ็นในปลอกประสาทถูกล็อค งอหรือเหยียดนิ้วไม่ได้ ทั้งนี้การรักษาโรคนิ้วล็อคในระยะแรก แพทย์จะรักษาให้หายอักเสบด้วยการทานยา หรือการฉีดยาก็จะช่วยให้ไม่ต้องผ่าตัดได้ แต่ถ้าปล่อยไว้นานจนถึงขั้นล็อคแล้วปวดมาก งอเหยียดไม่ได้ ฉีดยาแล้วไม่ได้ผล แพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดขยายปลอกหุ้มเอ็นที่มีปัญหาเพื่อให้กลับมาใช้งานได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/nastya_gepp-3773230/

2.เส้นประสาทที่ข้อมืออักเสบ หรือโรคผังผืดเส้นประสาทที่ข้อมือ

ซึ่งเป็นโรคมือที่พบบ่อยที่สุด เนื่องจากบริเวณข้อมือจะมีช่องว่างจำกัดและเส้นประสาทเส้นใหญ่อยู่ในบริเวณนั้น คนที่มีการใช้ข้อมือมากๆ เยื่อหุ้มเอ็นเกิดการอักเสบ จากนั้นจะเกิดผังผืดไปกดเส้นประสาทที่ข้อมือ ทำให้เกิดอาการ 3 อย่างคือ ปวด ชาที่มือ มืออ่อนแรง สำหรับบางคนที่มีอาการมากจะสังเกตดูได้จากบริเวณเนินพระจันทร์ (กล้ามเนื้อนูนๆ บริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือจะลีบ) จะมีอาการชานิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง และบางส่วนของนิ้วนาง

หากเป็นในระยะแรกจะมีอาการปวดชาเล็กน้อย แพทย์อาจรักษาด้วยการฉีดยา หรือใส่ปลอกข้อมือ หรือลดการใช้ข้อมือให้น้อยลง โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่หากมีผังผืดกดเส้นประสาทมากๆ กล้ามเนื้อบริเวณเนินพระจันทร์จะลีบฝ่อและหายไป มืออ่อนแรงหยิบจับสิ่งของไม่ได้ การผ่าตัดรักษาโรคนี้ใช้เทคนิคผ่าตัดแผลเล็ก เพื่อขยายช่องเส้นประสาท ใช้เวลาประมาณ 10 -15 นาที โดยแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ เมื่อผ่าตัดแล้วสามารถกลับบ้านได้ ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดคือ แผลผ่าตัดห้ามโดนน้ำ 7 วัน จากนั้นแพทย์จะทำการตัดไหม ภายหลังตัดไหมแล้วสามารถกลับไปใช้งานได้ตามปกติ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/andreas160578-2383079/

3.เอ็นข้อมืออักเสบ

เป็นโรคที่พบบ่อยในกลุ่มคนที่ใช้มือทำงานหนักๆ จนเกิดการอักเสบที่เอ็นบริเวณข้อมือทางด้านหลังฝั่งนิ้วหัวแม่มือ เจ็บเมื่อกระดกนิ้วหัวแม่มือ การรักษาในระยะแรกทำได้โดยการประคบเย็นบ่อยๆ ตามด้วยการขยับเบาๆ เพื่อให้เอ็นมีการยืดตัว ไม่ควรทำรุนแรง ร่วมกับการพักการใช้มือข้างที่อักเสบ

การรักษาเนื้องอกเส้นประสาทบริเวณมือ คนไข้จะมาพบแพทย์ด้วยก้อนที่เกิดขึ้นบริเวณข้อมือ โดยจะรู้สึกเหมือนไฟช็อต มีอาการชามือ ปวด เนื่องจากเส้นประสาทถูกกดทับ เนื่องจากเส้นประสาทที่เราอาจมองเห็นจากภายนอกเป็นเส้นใหญ่ๆ ความเป็นจริงแล้วมีเส้นประสาทเส้นเล็กๆ อยู่ข้างในเป็นร้อยๆ เส้น ดังนั้นการผ่าตัดเนื้องอกในเส้นประสาทต้องใช้กล้อง Microsurgery ที่มีความละเอียดเป็นพิเศษในการตัดเนื้องอกหรือถุงน้ำในเส้นประสาทเพื่อแยกเส้นประสาทเล็กๆ ออกมา เพราะหากผ่าตัดโดนเส้นประสาทคนไข้อาจสูญเสียความรู้สึกที่มือได้

หากมือประสบปัญหาหรือเกิดอุบัติเหตุอันเป็นสาเหตุทำให้มือเกิดความผิดปกติไป DooDiDo ขอแนะนำว่าควรรีบทำการรักษาจากแพทย์ที่มีประสบการณ์ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น เพราะมือเป็นอวัยวะขนาดเล็กและมีความซับซ้อน ที่ต้องใช้ความละเอียดเป็นอย่างมากในการรักษาค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.bangkokhospital.com