การปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิด ให้ชีวิตคิดบวกกับสถานการโควิด

WM

เทคนิคการออมเงินในช่วงโควิดแต่ละคนก็ขึ้นกับไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกันไป

สำหรับการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) เป็นแนวทางที่หลายๆ คนจะต้องปรับเปลี่ยนชุดพฤติกรรม ในช่วงไวรัสตัวนี้ออกมาระบาดแล้วเปลี่ยนชีวิตเราไปอีกนาน ทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิตไปพร้อมกันทั่วโลก จากที่เราเคยออกจากบ้าน เพื่อไปทำงาน ไปโรงเรียน เราต้องหันมาทำทุกอย่างที่บ้าน หากมีความจำเป็นต้องออกจากบ้านไปช้อปปิ้ง หรือแม้กระทั่งไปพบแพทย์ เราต้องใส่หน้ากากเพื่อป้องกันโรค ต้องเว้นระยะห่างสำหรับบุคคล ล้างมือบ่อยๆ นาน 20 วินาที เช็ดมือด้วยแอลกอฮอร์ฯ รวมถึงการปรับเปลี่ยนทางด้านธุรกิจและบริการต่าง ๆ ให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันจึงต้องปรับเปลี่ยนไปสู่การเปิดระบบลงทะเบียนออนไลน์ 

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบหลายด้าน ทั้งด้านจิตใจ สังคม เศรษฐกิจ เรื่องงาน รวมไปถึงเรื่องปากท้องและเงินทอง แต่อยากให้ทุกคนลองมองว่า ในทุกเหตุการณ์ที่เรามองว่าเป็นวิกฤติ “ย่อมมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ” เรามาลองเปลี่ยนมุมมองกับสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ครั้งนี้กันดีกว่า เพราะอาจจะทำให้เรามีพลังใจสู้กับวิกฤตการณ์ครั้งนี้ และเป็นจุดเปลี่ยนเพื่อให้เราได้ปรับทัศนคติในมุมใหม่ เข้าใจโลกปัจจุบันมากขึ้น รวมถึงเพื่อเตรียมตัวตั้งรับเมื่อสถานการณ์เช่นนี้กลับมาใหม่อีกครั้ง วันนี้เรามีวิธีปรับเปลี่ยนความคิดให้ชีวิตคิดบวกเพื่อสู้กับสถานการโควิดกัน

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/visionpics-4638469/

พัฒนาแนวทางการทำงานที่ดีกว่า มีเวลาพัฒนาศักยภาพตัวเอง

จากสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เราอาจใช้เวลาทบทวนแนวทางการทำงานของตัวเอง ด้วยการเพิ่มศักยภาพในการใช้เทคโนโลยี ยุค 5G ให้ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การนำนวัตกรรมต่างๆ อาทิ แอปพลิเคชัน แพลตฟอร์มต่างๆ เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น รวมถึงการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ด้วยการใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม เช่น การลงเรียนออนไลน์ตามความสนใจและความชอบของตัวเอง เพิ่มประสบการณ์ให้มากขึ้น และสามารถเพิ่มเป็นช่องทางการหารายได้เสริมได้

ปรับวิถีชีวิตใหม่/มีเวลาให้ตัวเองมากขึ้น

ในสถานการณ์เช่นนี้ ทำให้เรามีโอกาสใส่ใจ ดูแลตัวเองมากขึ้น ทั้งทางด้านสุขภาพกาย และจิตใจ  ใช้เวลาออกกำลังกาย หรือหางานอดิเรกต่าง ๆ ทำ เช่น การอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น เพื่อรักษาสุขภาพร่างกาย ให้แข็งอยู่เสมอ รวมถึงสังเกตตัวเองว่ามีอาการป่วยหรือไม่ หากมีควรรีบพบแพทย์โดยด่วนเพื่อลดการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด- 19 รวมถึงภาวะเครียด ซึมเศร้าที่อาจจะแฝงมาโดยที่  เราไม่รู้ตัว

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/stevepb-282134/

รู้จักการวางแผนทางการเงิน

เราทุกคนปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินส่งผลต่อการใช้ชีวิตของเรา ยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด- 19 ทำให้หลายคนขาดสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจากเกิดข้อจำกัดในเรื่องของรายได้ ฉะนั้นเราควร มีการวางแผนในการใช้จ่ายเงิน ควรวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทให้ชัดเจน อาทิ

  • ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ เป็นต้น
  • ค่าใช้จ่ายยามฉุกเฉิน เช่น ค่ายา ค่าซ่อมบำรุงต่างๆ เป็นต้น

ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและฟุ่มเฟือยออก รวมถึงชะลอการสร้างหนี้ใหม่เพื่อลดภาระการใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้น และหากเราเริ่มเก็บออมเงินวันละเล็กน้อยเพื่ออนาคต และเตรียมตัวสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเทคนิคการออมแต่ละคนก็ขึ้นกับไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกันไป เช่น การหยอดกระปุก ฝากประจำธนาคาร ซื้อพันธบัตรรัฐบาล ซื้อประกันแบบสะสมทรัพย์ การซื้อสินทรัพย์เพื่อเก็งกำไร การนำเงินไปลงทุนในกองทุนรวม เช่น RMF SSF รวมถึงการออมเงินกับกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ซึ่งเหมาะกับคนที่มีอาชีพอิสระ ไม่มีรายได้ประจำ เพื่อแก่ตัวไปจะได้มีเงินออมใช้ในวัยเกษียณ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เราทุกคนต้องเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 นอกจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจแล้ว ยังกระทบกับสุขภาพทางการเงินอีกด้วย บางคนถูกลดเงินเดือน บางคนต้องตกงาน และเมื่อไม่มีงานทำก็ขาดรายได้ เริ่มเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน หากใครมีเงินเก็บอยู่บ้าง ก็พอจะประคับประครองให้รอดพ้นวิกฤติไปได้ แต่หากใครใช้เงินเดือนชนเดือนไม่เคยเหลือเก็บคงเครียดกันน่าดู ในวิกฤติย่อมมีโอกาสมองสถานการณ์นี้ให้เป็นบทเรียน ที่จะทำให้เราหันกลับมา “ดูแลเงินในกระเป๋า” ของตัวเอง เพื่อเตรียมวางแผนทางการเงินในอนาคตและในยามฉุกเฉิน 

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/firmbee-663163/

“เริ่มควบคุมรายจ่ายอย่างรัดกุม” อาจจะเป็นเรื่องยากสักหน่อยในสถานการณ์ช่วงนี้ แต่ก็ไม่ยากเกินที่เราจะทำได้ เพียงแค่เราแยกแยะค่าใช้จ่ายในส่วนที่จำเป็น และส่วนที่ไม่จำเป็นให้ชัดเจน โดยจัดสรรค่าใช้จ่ายที่จำเป็นไว้เป็นอันดับแรก จากนั้นค่อยปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออก เพื่อนำมาเป็นเงินสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน

“เริ่มมองหาอาชีพเสริม สร้างรายได้” การหาอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้เพิ่มในช่วงวิกฤตินี้ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเอาตัวรอด โดยดูว่าอาชีพไหนที่เหมาะกับเรา   เช่น พนักงาน Delivery ก็เป็นอาชีพเสริมที่น่าสนใจไม่น้อย เช่น Lineman, Grab, Food Panda, Get, Lalamove เป็นต้น หรือจะหาช่องทางทำงานออนไลน์เสริม อาทิ ติวเตอร์ออนไลน์ ขายของออนไลน์ หรือผันงานอดิเรกมาทำให้เกิดรายได้ เช่น ทำอาหาร ทำขนม งานฝีมือ เย็บหน้ากากผ้าขาย เป็นต้น

“เริ่มตรวจสอบข้อมูลมาตรการเยียวยาต่างๆ” อาทิ มาตรการช่วยลดค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าอินเตอร์เน็ต โครงการ “คนละครึ่ง” โครงการ “เราชนะ” โครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” รวมถึงมาตรการทางการเงินของสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องและการพักชำระหนี้  โดยหากเราเริ่มศึกษาและตรวจสอบคุณสมบัติที่เข้าเกณฑ์การใช้สิทธิ์นั้นๆ แล้วก็จะเป็นอีกตัวช่วยในการบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยลดค่าใช้จ่ายอีกด้วย

จากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ DooDiDo คิดว่าทำให้เราเกิดความตระหนักถึงการป้องกันตัวเองและคนที่เรารักให้ห่างไกลจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกครอบครัวดีขึ้น เพราะได้ใช้เวลาอยู่ด้วยกันที่บ้าน รวมถึงได้แสดงออกถึงความรัก ห่วงใย ใส่ใจกันมากขึ้น กระชับความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น เป็นการวางแผนการใช้ชีวิต ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน วางแผนการใช้เงิน และแนวทางต่างให้สอดคล้องกับสถานการณืที่เปลี่ยนไปและพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ต่อไป 

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.nsf.or.th