กระแตไต่หิน เป็นยาสมุนไพรรักษามะเร็งในปอด แก้หอบหืด 

WM

ภาพจาก medthai

สมุนไพร กระแตไต่หิน เป็นยารักษามะเร็งในปอด ปอดพิการ แก้หอบหืด

กระแตไต่หิน จัดเป็นสมุนไพรจำพวกเฟิร์นเลื้อยเกาะแน่นตามก้อนหิน โขดหิน หรือกิ่งไม้ เหง้ามีลักษณะแบน มีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และหนาประมาณ 5 มิลลิเมตร มีเกล็ดสีน้ำตาลอมเหลืองขึ้นปกคลุมและมีขนสีน้ำตาลอยู่หนาแน่น มีเขตการกระจายพันธุ์ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตรเลียเขตร้อน และพอลินีเซีย

ในประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งภาคตะวันตก โดยมักขึ้นบนหินหรือคาคบในป่าดิบแล้งและในป่าเบญจพรรณ ที่ความสูงระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 1,000 เมตร

กระแตไต่หิน มีชื่อสมุนไพรเรียกอื่น ๆ ว่า กระจ้อน, กระแตไต่ไม้, กระแตพุ่มไม้, กระปรอกเล็ก, ฮอกกาบลม และมีชื่อวิทยาศาสตร์ Drynaria bonii Christ. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Drynaria meeboldii Rosenst.) จัดอยู่ในวงศ์ POLYPODIACEAE[1]

ใบกระแตไต่หิน ใบมี 2 ชนิด รูปร่างต่างกัน คือ ใบไม่สร้างสปอร์ หรือใบรังนก หรือใบประกบต้น หรือใบเกล็ด (nest-leaves) ซึ่งมีจำนวนมาก ออกเรียงสลับซ้อนกันปิดเหง้าไว้เกือบมิด ลักษณะเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่ ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4.5-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร เส้นกลางใบและเส้นใบเห็นได้ชัดเจน ใบอ่อนเป็นสีเขียว

WM
ภาพจาก ต้นกล้าความรู้

ส่วนใบแก่เป็นสีน้ำตาล และอีกชนิดคือ ใบที่สร้างสปอร์ หรือใบแท้ (foliage-leaves) ซึ่งจะเป็นใบเดี่ยว ชี้ขึ้นข้างบนและอยู่สูงกว่าใบประกบต้น ใบด้านล่างส่วนที่ต่อกับก้านใบจะแผ่ออกเป็นปีก ขอบใบจะเว้าลึกเข้าหาเส้นกลางใบเป็นแฉกหรือพูลึก ลักษณะของแฉกเรียงแบบขนนก ปลายพูแหลม

ส่วนขอบพูหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบชนิดนี้จะมีขนาดกว้างประมาณ 20-40 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร แต่ละแฉกเป็นรูปใบหอกกลับหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก มีขนาดกว้างได้ถึง 3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-22 เซนติเมตร[1],[2]

สปอร์กระแตไต่หิน กลุ่มสปอร์จะอยู่ในอับสปอร์มีลักษณะรูปร่างค่อนข้างกลม เรียงกระจายไม่เป็นระเบียบอยู่ระหว่างเส้นใบทางด้านหลังใบ แอนนูลัส ประกอบไปด้วยเซลล์เพียงแถวเดียว เรียงตัวในแนวตั้ง ไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์[1],[2]

สรรพคุณของกระแตไต่หิน

  • ยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้เหง้านำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษามะเร็งในปอด ปอดพิการ (เหง้า)[1]
  • เหง้าใช้ผสมกับหัวยาข้าวเย็น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้หอบหืด (เหง้า)[1]
  • ยาพื้นบ้านจะใช้ขนจากเหง้านำมาบดให้ละเอียดใช้สูบแก้หืด (ขนจากเหง้า)[1]
  • นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่นที่ระบุด้วยว่า รากสามารถนำมาใช้ฝนกับน้ำมะนาวกินและทาแก้เนื้อตายจากพิษงูเขียวหางไหม้ได้ และยังระบุด้วยว่า ในตำราสมุนไพรจีนนั้น
  • เฟิร์นสกุลนี้จัดว่าเป็นตัวยาที่มีความสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ใช้สำหรับบำบัดอาการป่วยเนื่องจากกระดูกแตกและเส้นเอ็นฉีกขาด (ใช้เป็นตัวยาเดี่ยวหรือใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น) และยังครอบคลุมไปถึงอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว

เฟิร์นสกุลนี้เมื่อนำไปผสมกับ Dipsacus และอื่น ๆ จะช่วยบำบัดอาการป่วยได้ดี อีกทั้งยังใช้สำหรับบำบัดอาการปวดเข่าและปวดหลัง แก้ปวดฟัน และเลือดออกตามไรฟัน นอกจากนี้เหง้าของ Drynaria ยังมีรสขม

ซึ่งมีสรรพคุณช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด แก้อาการมืดเท้าเย็น ลดอาการเจ็บปวดเนื่องจากกล้ามเนื้อฉีกขาด แก้ไขข้ออักเสบ ปวดข้อ ปวดหลัง และกระดูกแตก ข้อมูลจาก : thailand-an-field.blogspot.com (ข้อมูลนี้ไม่มีแหล่งอ้างอิง)

ประโยชน์ของกระแตไต่หิน

  • ใช้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับทั่วไป ปลูกเป็นเฟิร์นประดับตามโขดหินหรือต้นไม้ในสวนได้ ชอบพื้นที่ที่แสงไม่จัดนัก[2],[3]

สมุนไพรไทย แพทย์แผนไทย สมุนไพรประจำบ้าน ที่คนไทยรู้จักกันดี สรรพคุณเป็นยา รักษาโรคได้ ควรมีติดไว้ประจำบ้าน พืชที่ใช้เป็นยารักษาโรค หรือ เสริมสุขภาพ ช่วยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี การหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรกับชีวิตประจำวัน

สมุนไพรที่ได้จากส่วนของพืชโดยตรง (พืชวัตถุ) โดยส่วนต่างๆ ที่นำมานั้นมีสารที่สามารถใช้เป็นยาได้ ได้แก่ ใบ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด รากหรือหัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้ สมุนไพรที่ได้จากอวัยวะของสัตว์ (สัตว์วัตถุ) ได้แก่ ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ฯลฯ เช่น ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา สมุนไพรที่ได้จากแร่โดยธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆ ตามกรรมวิธี (ธาตุวัตถุ) นำมาใช้เป็นยา  ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา : medthai.com

  • หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “กระแตไต่หิน”.  หน้า 96.
  • ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้.  “กระแตไต่ไม้ (Drynaria bonii)”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th.