กระต่ายจาม เป็นสุมนไพรแก้ลมวิงเวียน มึนศีรษะ แก้ปวดท้อง 

WM

ภาพจาก เฟสบุ๊คForest Herbarium - BKF

สุมนไพร กระต่ายจาม เป็นยาแก้ลมวิงเวียน มึนศีรษะ และแก้ปวดท้อง

กระต่ายจาม จัดเป็นสมุนไพรไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน มีความสูงได้ประมาณ 50-100 เซนติเมตร ตามลำต้นมีขนนุ่มละเอียดขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น  มีเขตการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซีย ชวา บอร์เนียว ฟิลิปปินส์ อินเดีย ศรีลังกา พม่า และทางตอนใต้ของจีน

ในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่ แพร่ ตาก เลย นครราชสีมา สระบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี สงขลา ระนอง พังงา และสตูล โดยมักขึ้นในที่โล่งทั่วไป บนพื้นที่ใกล้ระดับน้ำทะเลไปจนถึงสูงประมาณ 360 เมตร

กระต่ายจาม สมุนไพรท้องถิ่นมีชื่ออื่น ๆ ว่า พริกกระต่าย (ชลบุรี), โซเซ ข้าวก่ำ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ข้าวคำ ข้าวก่ำ พริกกระต่าย (ภาคตะวันออกเฉียงใต้, ชลบุรี), กระต่ายจาม (ภาคตะวันตกเฉียงใต้, เพชรบุรี), การบูรป่า (ทั่วไป)

กระต่ายจาม มีชื่อวิทยาศาสตร์ Adenosma indianum (Lour.) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Manulea indiana Lour.) จัดอยู่ในวงศ์เทียนเกล็ดหอย (PLANTAGINACEAE)[1]

WM
ภาพจาก เฟสบุ๊คForest Herbarium – BKF

ใบกระต่ายจาม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามและเรียงเป็นวงรอบ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้างหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมหรือมน โคนใบสอบหรือมน

ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.7-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-6 เซนติเมตร แผ่นใบมีขนนุ่มขึ้นหนาแน่นทั้งสองด้าน และมีต่อมเล็ก ๆ อยู่ด้านล่าง มีกลิ่นฉุนคล้ายการบูร ก้านใบสั้น[1],[2]

ดอกกระต่ายจาม ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่ปลายยอดหรือตามง่ามใบ ลักษณะของช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอกหรือรูปทรงกลม มีขนาดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาวประมาณ 3-8 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็กและจำนวนมาก

เรียงเป็นวงซ้อนกันแน่นรอบแกนช่อ ที่โคนดอกมีใบประดับลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปยาวรี มีความยาวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร มีขนยาว กลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ปลายแยกออกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก แต่ละแฉกมีขนาดไม่เท่ากัน มีความยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร มีขนยาว ส่วนกลีบดอกนั้นเป็นสีม่วงหรือสีน้ำเงิน

โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ปลายเป็นรูปปากเปิด ขนาดไม่เท่ากัน แยกออกเป็นสองปาก ปากด้านบนมี 1 กลีบ ลักษณะเป็นรูปค่อนข้างกลม ปลายกลีบมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย ส่วนปากด้านล่างจะมี 3 กลีบ มีขนาดเล็กกว่าด้านบน

ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน มีก้านชูอับเรณูขนาดสั้น 1 คู่ และขนาดยาวอีก 1 คู่ ติดอยู่ที่โคนหลอดกลีบดอก ส่วนรังไข่มีขนาดเล็ก ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม[1],[2]

ผลกระต่ายจาม ผลเป็นผลแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ส่วนเมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่เช่นกัน แต่มีจะมีขนาดเล็กมาก[1],[2]

สรรพคุณของกระต่ายจาม

ยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้กระต่ายจามทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ลมวิงเวียน มึนศีรษะ (ทั้งต้น)[1]

ในบางประเทศมีการใช้สมุนไพรชนิดนี้เป็นยาแผนโบราณแก้อาการปวดท้อง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[2]

สมุนไพรไทย แพทย์แผนไทย สมุนไพรประจำบ้าน ที่คนไทยรู้จักกันดี สรรพคุณเป็นยา รักษาโรคได้ ควรมีติดไว้ประจำบ้าน พืชที่ใช้เป็นยารักษาโรค หรือ เสริมสุขภาพ ช่วยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี การหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรกับชีวิตประจำวัน

สมุนไพรที่ได้จากส่วนของพืชโดยตรง (พืชวัตถุ) โดยส่วนต่างๆ ที่นำมานั้นมีสารที่สามารถใช้เป็นยาได้ ได้แก่ ใบ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด รากหรือหัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้ สมุนไพรที่ได้จากอวัยวะของสัตว์ (สัตว์วัตถุ) ได้แก่ ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ฯลฯ เช่น ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา สมุนไพรที่ได้จากแร่โดยธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆ ตามกรรมวิธี (ธาตุวัตถุ) นำมาใช้เป็นยา  ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา : medthai.com

  • หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “กระต่ายจาม”.  หน้า 32.
  • ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  “กระต่ายจาม”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/.