เคล็ดลับการกินขนมปัง แบบไม่อ้วนของสาวญี่ปุ่นต้องทำอย่างไร?

WM

แนะนำ 7 วิธี การทานขนมปังโดยไม่ให้ส่งผลเสียต่อกระบวนการลดน้ำหนัก

ในปัจจุบันนี้ในญี่ปุ่นมีขนมปังรสหวานอร่อยหลากหลายชนิด ได้แก่ เมล่อนปัง อังปัง ครีมปัง ขนมปังไส้ช็อคโกแลต และขนมปังไส้หวานต่างๆ เป็นต้น ซึ่งขนมปังเหล่านี้ให้พลังงานสูง หากรับประทานมากเกินไปและไม่ถูกเวลาอาจจะส่งผลในการเพิ่มน้ำหนักกลับคืนมาในระหว่างที่กำลังลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก มารู้วิธีการรับประทานขนมปังรสหวานรวมทั้งขนมปังต่างๆ ซึ่งมีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index : GI) สูง โดยไม่ส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มกลับมาในช่วงที่กำลังลดหรือควบคุมน้ำหนักตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นกัน มาดูเคล็ดลับการกินขนมปัง แบบไม่อ้วนของสาวญี่ปุ่นกันว่าจะเป็นอย่างไร

ขนมปังโฮลวีตและขนมปังขาวจัดได้ว่าเป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่คนลดน้ำหนักควรเลือกรับประทานขนมปังโฮลวีตมากกว่าการทานขนมปังขาว เนื่องจากมีปริมาณไฟเบอร์มากกว่า 2.5 กรัม ในส่วนของขนมปังขาวมีปริมาณไฟเบอร์เพียง 0.9 กรัมต่อหนึ่งแผ่นเท่านั้น แต่ไม่ควรเลือกทานขนมปังเท่านั้นควรรับประทานอาหารอื่น ๆ ที่มีไฟเบอร์สูงในปริมาณที่มีความเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวันด้วย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/pexels-2286921/

1. รับประทานในตอนเช้าไม่เกิน 13.00 น.

เนื่องจากขนมปังหวานมีพลังงานสูงจากส่วนผสมแป้งสาลี นมเนยและน้ำตาล ดังนั้นจึงควรรับประทานครั้งละไม่เกิน 2 ฝ่ามือ และควรรับประทานในช่วงเช้าจนถึงเวลาไม่เกิน 13.00 น. เพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้ดี

2. รับประทานพร้อมกับอาหารที่ให้โปรตีน

การรับประทานขนมปังพร้อมกับอาหารที่ให้โปรตีน ได้แก่ ไข่ แฮม ปลาทูน่ากระป๋อง และชีส เป็นต้น จะช่วยเสริมการตั้งเวลานาฬิกาชีวภาพในร่างกายเพื่อเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน

3. รับประทานพร้อมเครื่องดื่มอุ่น

เครื่องดื่มอุ่น เช่น นม ชา และกาแฟ เป็นต้น จะช่วยเพิ่มอุณหภูมิแกนกลางของร่างกายซึ่งส่งผลในการเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายได้ดีขึ้น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@phaelnogueira

4. รับประทานอาหารอย่างช้า โดยใช้เวลาอย่างน้อย 20 นาที

การเคี้ยวอย่างละเอียดและใช้เวลารับประทานอาหารเช้ารวมถึงขนมปังหวานประมาณ  20 นาที จะช่วยให้รู้สึกอิ่มไวและอิ่มนานแม้จะรับประทานเพียงเล็กน้อย อีกทั้งการเคี้ยวอย่างละเอียดจะช่วยลดภาระการย่อยของระบบทางเดินอาหารด้วย

5. รับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำเป็นอาหารมื้อเย็น

หากรับประทานขนมปังที่มีรสหวานในตอนเช้าหรือกลางวัน ก็ควรเลือกรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวบาร์เลย์ หรือโซบะเป็นอาหารมื้อเย็นแทนการรับประทานข้าวขาว

6. ไม่รับประทานทุกวัน

หากรับประทานขนมปังทุกวัน น้ำตาลและไขมันจากเนยจะส่งให้อ้วนได้ง่ายขึ้น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@sagarcia

7. รับประทานผักก่อน

ผักอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร การรับประทานผักก่อนขนมปังจะกดการเพิ่มของระดับน้ำตาลในเลือดและทำให้รู้สึกอิ่มนาน ส่งผลให้อ้วนได้ยากกว่าการรับประทานขนมปังเพียงอย่างเดียว

ขนมปังมีประโยชน์ในตัวเอง แต่จะมีโทษได้ในยามที่กำลังลดน้ำหนัก น้ำตาล คาร์โบไฮเดรตและน้ำมัน เพราะคืออุปสรรคของความผอม อย่างไรก็ดี บางครั้งคนเราจำเป็นต้องรับประทานของหวานเพื่อความสุขทางใจ หากอยากรับประทานขนมปังที่มีรสหวานหรือขนมหวานอื่นๆ  โดยไม่ให้ส่งผลเสียต่อกระบวนการลดน้ำหนัก DooDiDo แนะนำให้ลองรับประทานตามคำแนะนำข้างต้นดูค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล : www.sanook.com