5 โรคป่วยเพราะการเรียนออนไลน์ที่ลูกเสี่ยงเผชิญ??

WM

ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@tjsocoz

การเรียนออนไลน์ เปลี่ยนวิถีชีวิตของเด็กไทยไปค่อนข้างมาก

ในสถานการณืปัจจุบันที่เกิดโรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบทำให้วิถีชีวิตของเราเปลี่ยนไปมาก แม้กระทั่งการเรียนการสอนของเด็กในปัจจุบัน ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากที่เคยไปเรียนที่โรงเรียน ก็ต้องนั่งเรียนออนไลน์ผ่านหน้าจอ โดยใช้เทคโนโลยีช่วยในการสื่อสารและหาความรู้ ส่งผลทำให้ลูกเกิดความเครียด แถมยังเสี่ยงทำให้เป็นโรคอื่น ๆ ตามมาได้อีกด้วย

การเรียนออนไลน์ เปลี่ยนวิถีชีวิตของเด็กไทยไปค่อนข้างมาก จากการวิถีชีวิตที่ได้เคลื่อนไหวร่างกายมีเวลาพักสายตาและอริยาบท มีอิสระในการใช้ชีวิต มีสังคมได้พบปะเพื่อนๆ ครูอาจารย์แบบเห็นหน้าค่าตา แต่กับการเรียนออนไลน์ เด็กๆ จำเป็นต้องอยู่กับหน้าจอทุกวัน ที่สำคัญคือมีการเคลื่อนไวร่างกายที่น้อยลง ส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้า ความเครียด ซึ่งหากไม่มีการรับมือหรือป้องกันผลกระทบที่เกิดกับร่างกายและจิตใจ ก็อาจทำให้เสี่ยงต่อการ ป่วยเพราะเรียนออนไลน์ ด้วย 5 โรค ต่อไปนี้ได้ค่ะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/peggy_marco-1553824/

1.โรคเกี่ยวกับสายตา (Eye strain)
การเรียนออนไลน์ ที่ต้องใช้สายตาจ้องหน้าจอเป็นระยะเวลานาน แน่นอนว่าสามารถส่งผลกระทบต่อดวงตาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาการต่างๆ ที่เกิดจากการใช้สายตามากเกินไป ได้แก่ ตาพร่ามัว ปวดตา เด็กบางคนอาจมีอาการตาแห้ง เคืองตา น้ำตาไหล หรือมีอาการปวดศรีษะร่วมด้วย นอกจากนี้เด็กที่มีสายตาสั้นอยู่เดิมก็อาจทำให้สายตาสั้นแย่ลงไปอีกได้

2.โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)
อาการของโรคออฟฟิศซินโดรมอาจไม่ได้เป็นได้แค่ในผู้ใหญ่อีกต่อไป ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจมีการบัญญัติ ชื่อโรคใหม่ว่า E-Learning Syndrome ก็เป็นไปได้ การเพ่งหรือจ้องคอมพิวเตอร์นานๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง นอกจากจะส่งผลเสียต่อสายตาของเด็กๆ แล้ว กล้ามเนื้อคอ และหลัง ยังเกิดอาการปวดเกร็งได้ เพราะร่างกายขาดการเคลื่อนไหวและไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ ยิ่งต้องนั่งเรียนหน้าจอทุกวันอาการดังกล่าวเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็สามารถพัฒนาจนกลายเป็นอาการปวดคอ หรือปวดหลังเรื้อรังเหมือนดั่งอาการของโรคออฟิศซินโดรมในผู้ใหญ่ได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/finelightarts-890049/

3. โรคอ้วน (Pediatric Obesity)
การใช้เวลาอยู่หน้าจอมากเกินไป เสี่ยงทำให้เด็กๆ ป่วยเป็นโรคอ้วนได้ สาเหตุเกิดจากกิจวัตรประจำวันที่ขาดการเคลื่อนไหวของร่างกาย เพราะเวลาส่วนใหญ่ต้องเฝ้าคอยอยู่หน้าจอ พอถึงเวลาว่างก็อาจขว้าขนมเข้าปากจนเคยชิน เด็กบางคนกินขนมกินอาหารมากกว่าตอนที่ต้องไปเรียนที่โรงเรียนตามปกติด้วยซ้ำ นอกจากนี้ในมื้ออาหารระหว่างส่วนใหญ่ อาจมีความจำเป็นต้องทานอาหารจานด่วนที่พ่อแม่หรือคนเลี้ยงสั่งอาหารเดลิเวอรีให้ด้วยข้อจำกัดในการออกไปซื้อหาอาหาร อาหารจานด่วนทั้งหลายเมื่อทานบ่อยๆ เช่น พิซซ่า ไก่ทอด แฮมเบอร์เกอร์ จะทำให้การควบคุมอาหารทำได้ไม่ดีส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

4. โรคเครียด วิตกกังวล หรือซึมเศร้า ( Stress, Anxiety or Depression )
การเรียนออนไลน์ทำให้เด็กต้องอยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยมแคบๆ เป็นระยะเวลายาวนานติดต่อกัน ไม่ได้พบปะเพื่อนร่วมชั้น ไม่ได้เล่นสนุกตามประสาเด็ก ซึ่งส่งผลให้เกิดความเครียดที่มากกว่าปกติได้ นอกจากนี้การใช้เวลาหน้าจอที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่ไม่ใช่ด้านวิชาการ มีความเชื่อมโยงกับภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และปัญหาความสนใจที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเด็กที่มีปัญหาของโรคเครียด หรือเครียดง่ายกว่าปกติอยู่เป็นทุนเดิม อาจเสี่ยงป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้ในสถานการณ์ที่ต้องอยู่แต่ในบ้านและเรียนออนไลน์ ยิ่งพ่อแม่ประสบกับปัญหาเรื่องรายได้ต่างๆ ด้วยสภาพเศรษฐกิจในยุคที่โควิดกำลังระบาด ความเครียดของพ่อแม่ก็มีโอกาสส่งถึงลูกได้โดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้ ครอบครัวที่เด็กต้องเรียนออนไลน์อยู่กับบ้านเพียงลำพังโดยพ่อแม่ต้องไปทำงาน อาจทำให้เด็กๆ รู้สึกเหงาและโดดเดี่ยวมากกว่าปกติ ซึ่งปัจจัยแวดล้อมเหล่านี้อาจมีส่วนทำให้เด็กเกิดภาวะซึมเศร้าได้ไม่มากก็น้อย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/gemmamm-2591135/

5. โรคพังผืดกดทับเส้นประสาทข้อมือ (Carpal tunnel syndrome)
แม้โรคนี้มักเกิดขึ้นกับวัยกลางคนหรือคนวัยทำงาน แต่ก็สามารถเกิดกับเด็กได้เช่นเดียวกัน ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา เด็กไทยจำนวนมากต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเรียนหน้าอยู่ที่หน้าจอ พอมีเวลาว่างก็อาจนั่งเล่นเกมในคอมพิวเตอร์ เพลิดเพลินอยู่กับหน้าจอท่องโลกออนไลน์ อวัยวะที่ถูกใช้งานบ่อยคงหนีไม่พ้นมือ การใช้มือทำสิ่งเดิมๆ ซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการบางอย่าง เช่น ปวดข้อมือ ปวดแขน นิ้วชา รู้สึกเจ็บเสียวที่มือ และในที่สุดอาจป่วยเป็นโรคพังผืดกดทับเส้นประสาทข้อมือ (CTS) สำหรับอาการของโรคนี้ เมื่อเส้นประสาทถูกกดทับ จะทำให้มีอาการปวดและชาตามนิ้ว และถ้าเส้นประสาทถูกกดทับเป็นเวลานาน บ่อย ๆ เข้า กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือ ด้านนิ้วหัวแม่มือลีบ และเล็กลงได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก ๆ

การปรับตัวในยุคที่ต้องเรียนออนไลน์ที่บ้าน ทำให้มีการปรับตัวอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นตัวของพ่อแม่เอง และลูกน้อยของเรา จำเป็นที่จะต้องทำตามมาตรการป้องกันการระบาดของโรค DooDiDo พ่อแม่ควรใส่ใจและไม่ควรมองข้า ความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของลูก ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อหากไม่มีวิธีจัดการและรับมือที่เหมาะสมค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.amarinbabyandkids.com