10 สาเหตุที่ทำให้ลูกโตช้า คุณพ่อคุณแม่ห้ามพลาด!!

WM

ปัญหาน้ำหนักตัวน้อยน้ำหนักไม่ขึ้นในเด็ก เกิดจากการได้รับแคลอรีไม่เพียงพอ

การที่ลูกมีส่วนสูงและน้ำหนักที่น้อยกว่าเกณฑ์ เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ไม่น้อย เพราะคุณพ่อคุณแม่กลัวว่าลูกอาจจะขาดวารอาหาร ซึ่งในวัยเด็กนั้นเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายมากมาย เด็กที่มีการเจริญเติบโตช้าอาจจะบ่งบอกถึงความผิดปกติของโรคบางอย่างซ่อนอยู่ การที่ลูกโตช้านั้นอาจเกิดจากหลายสาเหตุค่ะ

ลูกโตช้า – เด็กตัวโตช้า น้ำหนักไม่ขึ้น น้ำหนักน้อย เป็นปัญหาทั่วไปที่เกิดขึ้นได้สำหรับเด็ก พ่อแม่ ผู้ดูแลหรือแพทย์อาจ สังเกตได้ว่าเด็กมีการเจริญเติบโตไม่ดีหรือมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเบี่ยงเบนไปจากรูปแบบการเติบโตมาตรฐาน ซึ่งเมื่อน้ำหนักตัวลดลงหรือไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งในทางคลินิก แพทย์อาจสันนิษฐานว่าเด็กมีภาวะ “ขาดสารอาหาร” หรือมีภาวะ “ไม่สามารถเจริญเติบโต” วันนี้เรามาดู 10 สาเหตุที่ทำให้ลูกตัวโตช้าว่า เกิดจากอะไรได้บ้าง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@rainierridao

1. ได้รับแคลอรีไม่เพียงพอ
สาเหตุ 90% ที่พบสำหรับปัญหาน้ำหนักตัวน้อยน้ำหนักไม่ขึ้นในเด็ก เกิดจากการได้รับแคลอรีไม่เพียงพอ สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อเด็กไม่สนใจที่จะกินเนื่องจากเหตุผลหลายประการ ตลอดจนผู้ปกครองไม่เข้าใจว่าเด็กต้องการปริมาณแคลอรีจากอาหารเท่าไรในแต่ละวัน นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กวัยหัดเดินที่กระฉับกระเฉงและปกติดี แต่ห่วงเล่นซึ่งอาจทำให้สนใจการกินน้อยซึ่งพ่อแม่อาจต้องคอยกระตุ้น นอกจากนี้สำหรับทารกในช่วงสองสามเดือนแรกที่น้ำหนักขึ้นน้อยอาจเป็นเพราะน้ำนมแม่ไม่เพียงพอ หรือสูตรนมผงที่ไม่เหมาะสม

2. ขาดโภชนาการที่ดี
บางครั้ง สารอาหารที่เด็กได้อาจไม่ครบ หรือน้อยเกินไป ซึ่งส่งผลกระทบได้โดยตรงต่อน้หนักตัว นอกจากนี้ ในกรณีของเด็กโตหรือวัยรุ่นอาจเกิดจากการรับประทานแคลอรีที่ไม่เพียงพอ หรืออาจเกิดจาดความเจ็บป่วยต่างๆ เช่น โรคความผิดปกติของการกิน (anorexia nervosa)

3. ปัญหาช่องปากหรือระบบประสาท
เด็กอาจรับประทานอาหารได้ไม่ดีหากมีปัญหาหรือความผิดปกติของสุขภาพในช่องปากหรือมีปัญหาทางระบบประสาท ปัญหาดังกล่าวอาจส่งผลต่อความสามารถในการกลืน ซึ่งอาจเกิดจากภาวะต่างๆ เช่น สมองพิการ หรือเพดานโหว่ ซึ่งจำเป็นต้องให้แพทย์ทำการวินิจฉัยเพื่อให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม

4. อาเจียนบ่อยเกินไป
บางครั้งร่างกายของเด็กไม่สามารถเก็บกักสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตเอาไว้ได้เนื่องจากมีการอาเจียนมากเกินไป ซึ่งสาเหตุอาจเกิดได้จากโรคกรดไหลย้อนรุนแรง หรือปัญหาทางระบบประสาทบางอย่างซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติอื่นๆ ได้หลากหลายที่เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร

ทารกส่วนใหญ่ที่มีอาหารของกรดไหลย้อนที่ไม่รุนแรง อาจมีแนวโน้มที่อาการจะดีขึ้นและหายไปเองได้ซึ่งไม่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต แต่โดยทั่วไปทารกที่อาเจียนมาก อาจเกิดได้จากช่องทางออกของกระเพาะอาหารที่ตีบแคบ (Pyloric Stenosis) ซึ่งถือเป็นความพิการแต่กำเนิด และต้องมีการประเมินพิเศษรวมถึงอัลตราซาวนด์ช่องท้อง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@linsyorozuya

5. ความผิดปกติของตับอ่อน
เด็กที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับตับอ่อนร่างกายอาจไม่สามารถย่อยอาหารได้อย่างเหมาะสม ซึ่งอาจส่งผลทำให้น้ำหนักไม่ขึ้นได้เช่นกัน ในสถานการณ์นี้ เด็กอาจมีอุจจาระที่ขนาดใหญ่ เป็นฟอง มีกลิ่นเหม็น ซึ่งต้องได้รับการวินัจฉัยเพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

6. ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ที่ส่งผลต่อเยื่อบุลำไส้ หรือมีความเจ็บป่วยด้วยโรคในกลุ่ม โรคลำไส้อักเสบที่ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้อง ท้องร่วง เช่น โรคโครห์น (Crohn’s disease) เป็นต้น

7. ปัญหาของต่อมไทรอยด์และเมตาบอลิซึม
ในบางสถานการณ์ ร่างกายของเด็กอาจมีการเผาผลาญแคลอรีมากเกินไป ซึ่งเกิดจากปัญหาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่อยู่บริเวณส่วนหน้าของคอ ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ที่ช่วยควบคุมระบบเมตาบอลิซึม หรือการเผาผลาญพลังงานของร่างกายและควบคุมการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกายให้เป็นปกติ

8. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
เด็กที่ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด อาจมีอาการ เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร กินได้น้อย และอาเจียนบ่อย ซึ่งเกิดขึ้นได้จากภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะเขียว และผลข้างเคียงของยาในการรักษา ซึ่งทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ และน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ได้

9. ความผิดปกติของไต
ภาวะไตวายหรือความผิดปกติอื่น ๆ ของไต จะส่งผลต่อการเพิ่มของน้ำหนัก (รวมถึงส่วนสูง) แต่เป็นสาเหตุที่พบได้ไม่บ่อย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/geralt-9301/

10. ความผิดปกติทางพันธุกรรม
นอกจากนี้ เด็กบางคนอาจมีความผิดปกติทางพันธุกรรมหลายอย่างที่อาจส่งผลต่อการเพิ่มของน้ำหนัก ซึ่งต้องได้รับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ

คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ DooDiDo หากกลัวว่าลูกน้อยจะโตช้า หรือไม่สูง ก็ให้ลูกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนอย่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีประโยชน์ นอกจากนี้ยังสามารถพามาพบและปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแก้ไขและดูแล รักษาได้ทันท่วงที และควรได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมแต่เนิ่น ๆ นะคะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.amarinbabyandkids.com