เกษตรต้องก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีการเกษตร

WM

ภาพจาก pixabay

การเปลี่ยนแปลงของโลกทำให้การเกษตรต้องก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว

ภาคการเกษตรของไทยมีความเข้มแข็งไม่แพ้ใครในโลกนี้ หากได้รับการส่งเสริมอย่างถูกวิธี ก็พร้อมที่จะเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เพิ่มตัวเลข GDP ให้ขึ้นไปอยู่ในระดับแนวหน้าได้อย่างแน่นอน นี่คือความท้าทายในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทย ในยุคดิจิทัลที่รุกคืบเข้ามา และการปฏิวัติประเทศในแทบทุกด้าน ภาคการเกษตรไทยจะปรับทิศทางไปอย่างไรดี เพื่อรองรับการข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ

ที่ผ่านมามีผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน ให้คำตอบของประเด็นคำถามข้างต้นนี้ด้วย มุมมองและประสบการณ์ที่แตกต่างกันไป  เพราะการเกษตรเป็นรากฐานหลักของประเทศ มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าภาคท่องเที่ยวและภาคอุตสาหกรรม ทว่า ต้องยอมรับว่า ระบบเกษตรของไทยยังอยู่ในยุค 1.0 – 1.5 เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ ไม่มีเทคโนโลยี ไม่มีการบริหารจัดการ ไม่มีการตลาด ไม่มีทุน ไม่มีองค์ความรู้

อีกทั้งยังมีความเสี่ยงจากโรคระบาด ภัยธรรมชาติ ความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) เกษตรกรจึงมีหนี้สินล้นพ้นตัว  เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยยังติดอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) เราจะไม่สามารถก้าวหลุดจากการเป็นประเทศกับดักรายได้ปานกลางได้ถ้ายังไม่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภาคเกษตร

แต่นับจากนี้ ทิศทางการเกษตรของไทยกำลังจะเปลี่ยนแปลง (Transformation) ตามการขับเคลื่อนของโลกยุคดิจิทัล และปรากฏการณ์น่าสนใจ เพราะอนาคตของภาคเกษตรมีความสำคัญมากสำหรับประเทศไทย  และในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ก้าวสู่ยุคดิจิตอล หรือ 4.0

เทคโนโลยีที่เป็น Mega Trend อันได้แก่ Biotech NanoTech Space Tech Robotic และ Digital  ได้เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลง (Disrupt) ไปทุกหย่อมหญ้า ถึงเวลาแห่งการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่เว้นแม้แต่ภาคเกษตรของไทย ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานคณะกรรมการบริหารบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าว

ทั้งนี้มีการคาดว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับภาคการเกษตรไทยหากมีการเปลี่ยนแปลง อย่างจริงจัง จะมีองค์กระกอบดังนี้

WM
ภาพจาก pixabay
  1. ดาวเทียมเพื่อการเกษตร (Satellite for Agriculture)

เทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนโลกอย่างแท้จริง เมื่อมี Google Map ที่ใช้ในการค้นหาสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ โดย Google Map จัดเป็นระบบ Satellite หรือดาวเทียม เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่นำเทคโนโลยีดาวเทียมมาใช้ในระบบเกษตร ก็เท่ากับว่าเราไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก

แต่ถ้านำดาวเทียมเข้ามาใช้ในระบบเกษตร การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่จะบอกได้ว่าที่ดินในพื้นที่นั้น เหมาะกับการเพาะปลูกอะไร ปัจจุบันระบบดาวเทียมสามารถถ่ายรูปได้ชัดถึงเฉดสี ที่ระบุได้ถึงแร่ธาตุสภาพดิน และความพร้อมของดินแค่ไหน ในเวลาเดียวกันระบบดาวเทียมยังช่วยในการวางแผนเพาะปลูกที่แม่นยำ รวมไปถึงการบริหารจัดการด้านการเก็บเกี่ยว และผลผลิตจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนแก้ปัญหา สินค้าเกษตรล้นตลาด และ การอุดหนุนราคาจากภาครัฐ

  1. การวางแผนจัดการพื้นที่ (Zoning, Geo Strategy vs Market)

การวางแผนจัดการพื้นที่หรือโซนนิ่ง คือแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ภาคเกษตร โดยการระบุพื้นที่เพาะปลูก ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์ และความต้องการของตลาด ทำให้เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้นและเป็นแรงผลักให้ประเทศกว้าไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ  เช่น การวางโซนนิ่งปลูกมะพร้าว เพื่อรองรับความต้องการของตลาดในเมืองจีน ซึ่งในชีวิตประจำวันนิยมดื่มน้ำมะพร้าวมากขึ้น แต่ในจีนไม่มีพื้นที่ปลูกมะพร้าว เป็นต้น

  1. การบริหารจัดการน้ำโดยใช้นวัตกรรม Internet of Things หรือ IoT (Water Management and IoT)

เนื่องจากระบบชลประทาน และน้ำ ถือเป็นหัวใจหลักในการพัฒนาภาคเกษตร และสาเหตุที่เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ ที่ยังยากจนก็เพราะมีปัญหาเรื่องน้ำ ทำให้ได้ผลผลิตที่ไม่ดี หากสามารถนำนวัตกรรมการจัดการน้ำ มาช่วยวางแผนการทำการเกษตร ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ก็จะช่วยแก้ปัญหาได้ เช่น การพัฒนาอุปกรณ์วัดระดับน้ำ โดยใช้ IoT มีซิมโทรศัพท์และพลังงานลมเพื่อสื่อสาร ให้รู้ถึงระดับน้ำในพื้นที่เกษตรต่าง ๆ สามารถบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

  1. เป็นเรื่องของ การพัฒนาเมล็ดพันธุ์และดิน หรือ Seed and Soil

เพราะการเกษตรจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีเมล็ดพันธุ์และดินที่ดีเหมาะกับการเพาะปลูก การเตรียมดินมีความสำคัญถือเป็นเกษตรอุตสาหกรรมในยุคใหม่ ถ้าไม่เตรียมดินให้เหมาะสม ผลผลิตก็จะไม่ได้ตามที่ต้องการ แข่งขันกับต่างประเทศไม่ได้

ปัจจุบันเราก้าวทันเทคโนโลยีในการปรับปรุงดินแล้ว โดยส่วนใหญ่จะทำในไร่นาหรือฟาร์มที่มีขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Mega farming แต่ในเมืองไทยขนาดของไร่นาเป็นแปลงเล็ก หากต่างคนต่างทำจะมีต้นทุนสูงมาก ถือเป็นอีกประเด็นสำคัญที่จะทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาจัดการเพื่อช่วยเกษตรกรไทย

  1. การรับจ้างการทำเกษตรกับการทำการเกษตรพันธสัญญา (Services & Smart Farming vs Contract Farming)

แนวโน้มการเกษตรยุคใหม่ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลก จะเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ หรือ Mega Farming ในต่างประเทศ ถ้าเป็นแถบยุโรปจะทำเกษตรรูปแบบ “สหกรณ์“ (Co-Op) โดยความสำเร็จเกิดขึ้นจาก Entrepreneur Spirit ของผู้นำสหกรณ์ ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทย ส่วนในสหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จจาก “เกษตรพันธสัญญา” (Contract Farming) และ Mega farm เพราะสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการตลาดและการบริหารจัดการจำนวนเกษตรกรลดลงโดยถูกดูดซับไปยังอุตสาหกรรมต่าง ๆ และการบริการทำให้ไม่เกิดปัญหาสังคมเนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศขนาดใหญ่

แต่สำหรับประเทศไทยการพัฒนาภาคเกษตรให้ก้าวไปกับการเปลี่ยนแปลงของโลกโดยนำระบบสหกรณ์และ/หรือเกษตรพันธสัญญามาใช้อาจจะมีปัญหา โดยเฉพาะระบบเกษตรพันธสัญญา เนื่องจากประเทศไทยมีขนาดเล็ก การอพยพหรือย้ายแรงงานภาคเกษตรไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ หรือ การบริการอาจไม่สามารถรองรับได้อย่างพอเพียง ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแนวคิดใหม่โดยนำระบบ Social enterprise หรือ วิสาหกิจชุมชน เข้ามาเป็นโมเดลที่ให้เกษตรกรเป็นผู้ถือหุ้น สร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ที่เรียกว่า  Service Farming หรือ Smart Farming ขึ้นมาทดแทน สามารถตอบโจทย์ความยั่งยืนให้กับเกษตรกร และยังสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เป็น Start up อีกด้วย

  1. การตรวจสอบย้อนกลับ และเครือข่ายการเก็บข้อมูล (Traceability vs Blockchain)

สำหรับภาคการเกษตรนั้นสามารถกล่าวได้ว่า การตรวจสอบย้อนกลับ เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่และสำคัญมากในยุค 4.0 ที่กล่าวกันว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยนโลก ปัญหาของภาคเกษตรที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหลายเรื่องเกิดจากการขาดเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับ เช่น ปัญหาประมงไทย เป็นต้น ต่อไปก็จะเกิดวิทยาการใหม่ที่เรียกว่า Blockchain หรือเครือข่ายการเก็บข้อมูลจะมีการส่งต่อข้อมูลแบบใหม่รู้ได้ถึงที่มาที่ไปสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาอาหารและสร้างความโปร่งใสในการผลิตที่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมากตลอดห่วงโซ่อาหารเป็นไปตามภายใต้หลักการสากลเพื่อได้สินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

  1. การเพิ่มมูลค่าให้สินค้าเกษตร ด้วยการแปรรูป การสร้างแบรนด์อาหารและการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อเจาะตลาดสุขภาพและความงาม (Commodity to Process and Branded Food to Innovate in Health and Beauty)

สินค้าเกษตรของไทยนั้นเป็นที่ยอมรับในเรื่องคุณภาพ แต่ยังขาดเรื่องการเพิ่มมูลค่า การสร้างแบรนด์และการสร้างสรรค์นวัตกรรม รวมถึงการแปรรูปสินค้าเกษตรไทยซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพสินค้าเกษตรไทยให้ไปไกลถึงระดับโลก ทั้งนี้มหาวิทยาลัยซึ่งมีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและภาคเอกชนซึ่งมีความสามารถทางการตลาดและการสร้างแบรนด์ควรร่วมมือกันเพื่อเสริมศักยภาพให้กับสินค้าเกษตรของไทย

  1. การวิจัยและพัฒนาด้านเกษตรและอาหาร (R&D Agro and Food as Regional and Health Technology)

ประเทศไทยจะก้าวไกลจะเป็นแผ่นดินทองด้านเกษตรในยุค 4.0 ได้จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการวิจัยและพัฒนา จะต้องดึงคนเก่ง (Talent) ระดับโลก เชิญนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกด้านไบโอเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับเกษตรและอาหารเข้ามาในเมืองไทย เพื่อช่วยในการ Transform ด้านการเกษตรของประเทศไทยให้รับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและที่สำคัญต้องทำให้เมืองไทยเป็นศูนย์กลางด้านการวิจัยและพัฒนาด้านเกษตรและอาหารในภูมิภาคให้ได้

เกษตร และ บทวิเคราะห์ เทคโนโลยีทางการเกษตร ตลาดขายพืชผลทางการเกษตร ผลกระทบทางการเกษตร งบประมาณและนโยบายรัฐเพื่อการเกษตร และการส่งออกพืชผลทางการเกษตร ที่ได้รับความสนใจ ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา salika