การป้องกันหนอนในการปลูกพริกเพื่อการเกษตรในเขตเอเชีย

WM

ภาพจาก pixabay

การป้องกันหนอนในพริกเพื่อการปลูกของเกษตรกรเขตเอเชีย

มีการสำรวจข้อมูลจากผู้รับซื้อพริกผ่าน สื่อออนไลน์ พบว่า มีการรับซื้อพริกอย่างหลากหลาย เมื่อแบ่งกลุ่มสายพันธ์ พบว่า สายพันธุ์พริกยอดนิยมที่ตลาดต้องการมีอยู่ 10 สายพันธุ์ ดังนี้

  1. พริกชี้ฟ้า เป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้ามหรือออกสลับ รูปใบหอก กว้าง 1-4 เซนติเมตร ยาว 2-4 เซนติเมตร เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5-1.5 เมตร มีดอกสีขาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกห้อยลง เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร
    เกสรตัวผู้ 5 อันออกเดี่ยวตามซอกใบและปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมกัน  มีผล รูปทรงกระบอกยาว ปลายเรียวแหลม โค้งงอ ยาว 6-9 เซนติเมตร ผิวมันสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีแดง มีเมล็ดแบนสีนวลจํานวนมาก
    มี ชื่อเรียก ที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่ละท้องถิ่น คือ พริกชี้ฟ้า พริกเดือยไก่ พริกบางช้าง พริกหนุ่ม (ภาคเหนือ) พริกมัน (กรุงเทพฯ) พริกแล้ง (เชียงใหม่) พริกซ่อม พริกขี้หนู พริกนก พริกแด้ (เหนือ) พริกขึ้นก ดีปลีขึ้นก (ใต้) ดีปลี (ปัตตานี) ปะแกว (นครราชสีมา) หมักเพ็ด พริกแกว (อีสาน) เป็นต้น แบ่งสายพันธุ์ได้ 2 กลุ่ม คือ
  • 1.1 เพื่อใช้ประกอบอาหารสด พันธุ์ที่ปลูกมีทั้งพันธุ์พื้นเมือง พันธ์ลูกผสมที่พัฒนาวิจัยโดยหน่วยงานราชการและเอกชน เช่น พันธุ์มันบางช้าง พันธ์หนุ่มมอดินแดง
  • 1.2 เพื่อใช้แปรรูปทำซอสพริก เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกเช่นกัน มีทั้งสายพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ลูกผสมที่พัฒนาวิจัยโดยหน่วยงาน เช่น พันธุ์หยกสวรรค์ พันธุ์หยกสยาม พันธุ์แม่ปิง 80 พันธ์เรตฮอต TA100
  1. พริกจินดา พริกขี้หนูผลใหญ่ใช้ทั้งในรูปพริกแห้ง พริกสด และซอสพริก มีแหล่งผลิตที่สําคัญ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง จัดอยู่ในกลุ่มพืชเศรษฐกิจของไทย
    ผลจะชี้ขึ้น มีขนาดเล็กเรียวยาว เมื่อสุกจะสีแดงเข้มใช้ได้ทั้งผลผลิตสดและแห้ง มีเมล็ดมาก น้ำหนักดี ทนต่อโรค ปลูกได้ตลอดทั้งปี เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 60-90 วัน ต้นทรงพุ่ม กว้างประมาณ 50-60 เซนติเมตร ต้นสูงประมาณ 45-60 เซนติเมตร อายุเก็บเกี่ยวหลังการย้ายกล้าประมาณ 90 วัน
  1. พริกยอดสน สายพันธุ์มีความโดดเด่นในด้านการปลูกง่าย ทนแล้ง เนื้อพริกบาง เมล็ดพริกมาก นิยมนำมา ทําพริกป่นจะมีกลิ่นหอม รสชาติเผ็ดปานกลาง แหล่งปลูกที่สําคัญอยู่ในเขตจังหวัดภาคอีสาน
  1. พริกพันธุ์ห้วยสีทน สายพันธ์มาจากการปรับปรุงพันธุ์และคัดพันธุ์พริกจินดา มี ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดงจัด ความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ก้านผลค่อนข้างยาว และรสเผ็ดจัด ความสูงประมาณ 1.5 เซนติเมตร แตกกิ่ง ประมาณ 3-5 กิ่ง เก็บเกี่ยวผลสุก อายุ 120 วัน หลังปลูก
  1. พริกขี้หนูสวน มีขนาดเล็ก แต่มีรสเผ็ดมาก ลําต้นเป็นไม้พุ่มตั้งตรง ใบเรียวผิวเรียบ ดอกเดี่ยวสีขาวรูปร่างและขนาดของผลเปลี่ยนแปลงไปตามพันธุ์สภาพอากาศ และอุณหภูมิในแต่ละ ท้องถิ่น สูงประมาณ 1-4 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยว ใบรูปร่างทรงไข่
  1. พริกกะเหรี่ยง เป็นสายพันธุ์ที่นิยมนำมาทําเป็นพริกตากแห้ง เผ็ดและหอม  มีลักษณะเด่น ทนทานต่อสภาพแวดล้อม โรคแมลง และ ทนทานต่อสภาวะอากาศ ปลูกมากตามชายแดนของจังหวัดกาญจนบุรี มีลําต้นใหญ่ นิยมนําไปทําซอสพริก
  1. พริกหยวก เป็นพืชฤดูเดียว ใบเป็นใบเดี่ยว พุ่มสูงประมาณ 1-2 ฟุต ใบปลายแหลม ดอกเดี่ยวสีขาวหรือขาวอมม่วงผลเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นผลสีส้มหรือสีแดง มีกลิ่นฉุน พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ พันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ลูกผสมต่าง ๆ
  1. ซูเปอร์ฮอต พริกขี้หนูพันธุ์ลูกผสม ต้นสูงใหญ่ ขนาดผล ยาว 5-7 เซนติเมตร ผลดิบสีเขียว-เขียวเข้ม ผลสุกสี แดง-แดงเข้ม อายุการเก็บเกี่ยว 60-65 วัน ผลผลิตต่อไร่สูง เก็บเกี่ยวได้เร็ว มีรสเผ็ด เนื้อผลหนาและแน่นไม่เน่าง่าย ขนส่งระยะทางไกลได้ นิยมนําไปแปรรูป เป็นพริกป่น พริกแกง น้ำพริก ซอสพริก น้ำจิ้มไก่ เป็นต้น
  1. พริกเหลือง พริกที่มีความต้องการในการบริโภคของคนไทยอย่างต่อเนื่อง เพราะรสชาติที่มีความหอมเฉพาะตัวและมีสีสรร เมื่อนํามาประกอบอาหาร
  1. พริกอัคนีพิโรธ พริกอัคนีพิโรธ หรือ “พริกพิโรธร้อยครก” เป็นพริกที่ใช้ใน อุตสาหกรรมยาและเครื่องสําอาง มีรสเผ็ดร้อน
WM
ภาพจาก pixabay

แต่เนื่องจาก ในปัจจุบันกลางวันอากาศร้อน กลางคืนอากาศอุณหภูมิลดต่ำ ทำให้กรมวิชาการเกษตรออกมาเตือนให้เกษตรกรผู้ปลูกพริก เฝ้าระวังหนอนกระทู้หอม ที่ออกจากไข่กัดกินผิวใบบริเวณส่วนต่าง ๆ ของพริก เช่น ใบ ดอก และผลพริก

กรณีที่มีปริมาณมากจะมีความเสียหายรุนแรง ผลผลิตพริกเสียหาย และคุณภาพผลผลิตไม่เป็นที่ต้องการของตลาด วิธีป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน คือ

  1. วิธีเขตกรรม ให้เกษตรกรไถตากดินและเก็บเศษซากพืชอาหาร เพื่อฆ่าดักแด้เป็นการลดแหล่งสะสมและขยายพันธุ์
  2. วิธีเขตกรรม วิธีกล ชีววิธี และการใช้สารเคมี สำหรับ วิธีกล ให้เกษตรกรเก็บกลุ่มไข่และหนอนไปทำลาย จะช่วยลดการระบาดลงได้
  3. ชีววิธีในระยะที่ตัวหนอนมีขนาดเล็กและพบการระบาดน้อย ให้ใช้สารจุลินทรีย์ เช่น เชื้อไวรัสหนอนกระทู้หอม (นิวคลีโอโพลิฮีโดรไวรัส) อาทิ DOA BIO V1 (กรมวิชาการเกษตร) หรือในช่วงเวลาเย็นให้เกษตรกรพ่นด้วยเชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis subsp. aizawai หรือ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki

 หากพบการระบาดมาก

ให้เกษตรกรใช้สารเคมีในการกำจัด โดยใช้สารฆ่าแมลงคลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% เอสซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

หรือสารคลอร์ฟีนาเพอร์ 10% เอสซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอินดอกซาคาร์บ 15% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

หรือสารอีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารสไปนีโทแรม 12% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

หรือสารเมทอกซีฟีโนไซด์ 24% เอสซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารลูเฟนนูรอน 5% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

โดยพ่นซ้ำตามการระบาด และควรพ่นในระยะที่ตัวหนอนมีขนาดเล็ก หลีกเลี่ยง การพ่นสารฆ่าแมลงชนิดเดียวติดต่อกันหลายครั้ง และควรใช้สารฆ่าแมลงสลับกลุ่มกัน เพื่อป้องกันการสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงชนิดนั้นได้

เกษตร และ บทวิเคราะห์ เทคโนโลยีทางการเกษตร ตลาดขายพืชผลทางการเกษตร ผลกระทบทางการเกษตร งบประมาณและนโยบายรัฐเพื่อการเกษตร และการส่งออกพืชผลทางการเกษตร ที่ได้รับความสนใจ ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา เกษตรกว้าไกล , เทคโนโลยีชาวบ้าน