สาเหตุอะไรบ้างที่ส่งผลทำให้ประจำเดือนของคุณผู้หญิงมาไม่ปกติ??

WM

หากประจำเดือนมาขาดหาย เป็นเรื่องที่ไม่ปกติและไม่ควรละเลย

ประจำเดือนกับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นสิ่งคู่กัน ช่วงอายุที่ผู้หญิงเพิ่มมีประจำเดือน ประมาณ 11-13 ครั้งต่อปี และจะเริ่มความสนใจและความปรารถนาทางเพศอาจพัฒนาขึ้นในช่วงวัยรุ่น แต่นั่นไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องเสมอไป บางครั้งความสนใจเรื่องเพศก็ขึ้นอยู่กับความสนใจของแต่ละคน แต่ในบางครั้งประจำเดือนอาจไม่มาตามกำหนดในช่วงดังกล่าวคือเกิน 35 วัน เกิดได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นความเครียด จากการมีเพศสัมพันธ์สำหรับผู้หญิง แต่บางคนก็ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์แต่ประจำเดือนก็หายไปไม่รู้สาเหตุ มาจากร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่ควบคุมการมีรอบเดือนทำงานผิดปกติ ภาวะขาดประจำเดือนเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายอย่าง มาดูสาเหตุเหล่านั้นกัน

ประจำเดือน (Menstruation) หมายถึงการที่มีเลือดออกมาทางช่องคลอดเป็นประจำทุกเดือนเป็นอาการแสดงความพร้อมของร่างกายสู่การเจริญพันธุ์ประจำเดือนเกิดจากการที่สมองหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองมากระตุ้นรังไข่ให้สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้จะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้นเพื่อเตรียมรอรับการฝังตัวของตัวอ่อนในแต่ละเดือนจะมีไข่ตกเดือนละ 1 ฟองหากไม่มีการปฏิสนธิหรือไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นเยื่อบุโพรงมดลูกที่เตรียมไว้รอรับตัวอ่อนก็จะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/photos/bwOAixLG0uc

ประจำเดือนปกติเป็นอย่างไร?

ผู้หญิงจะมีประจำเดือนทุกๆ 28 – 30 วัน (หรืออยู่ในช่วง 21- 35 วัน)

ผู้หญิงจะมีประจำเดือนมาประมาณ 3-5 วันหรือไม่ควรมาเกิน 7 วัน

ปริมาณประจำเดือนที่ออกมาใน แต่วันไม่ควรเกิน 80 ซีซีหรือเทียบได้กับการเปลี่ยนผ้าอนามัยประมาณ 4 ผืนต่อวัน (แบบที่มีเลือดชุ่มเต็มแผ่น)

ภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea) คืออะไร?

ภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea) หมายถึงภาวะใดภาวะหนึ่งที่ทำให้ไม่มีเลือดประจำเดือนออกมาตามปกติแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

  1. ภาวะขาดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary Amenorrhea) คือผู้หญิงอายุ 18 ปีแล้ว แต่ยังไม่เริ่มมีประจำเดือนซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้หญิงมักจะเริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 12 ปี
  2. ภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary amenorrhea) คือผู้หญิงที่เคยมีประจำเดือนมาก่อน แต่ต่อมาประจำเดือนขาดหายไปอย่างน้อย 6 เดือนหรือ 3 รอบเดือน
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/vdnhieu-20473455/

สาเหตุใดที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ

  1. ความเครียด
  2. ตั้งครรภ์หรือการให้นมบุตร
  3. วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุระหว่าง 45-55 ปีเนื่องจากระดับฮอร์โมนเริ่มลดลงทำให้ไข่ตกไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตกเลย
  4. น้ำหนักเพิ่มหรือลดมากเกินไปสำหรับผู้ที่น้ำหนักตัวน้อยจะมีไขมันน้อยซึ่งจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตกส่วนผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากอาจส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป
  5. การรับประทานยาบางชนิดเช่นยาคุมกำเนิดยารักษาทางจิตเวชยาต้านซึมเศร้าทำเคมีบำบัดยารักษาความดันโลหิตสูงและสารเสพติดอื่น ๆ เป็นต้น
  6. ในบางรายอาจเกี่ยวข้องกับการที่อวัยวะสืบพันธุ์มีความผิดปกติเช่นเนื้องอกหรือการติดเชื้อที่มดลูกภาวะพังผืดในโพรงมดลูกเป็นต้น

ประจำเดือนมาไม่ปกติบอกปัญหาอะไรได้?

  1. เกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ: Polycystic Ovarian Syndrome (PCOS) เป็นความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่พบบ่อยในผู้หญิงช่วงอายุ 18-45 ปีเกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนหลายตำแหน่งรวมทั้งที่รังไข่ทำให้มีฮอร์โมนเพศชายมากกว่าปกติอาการแสดงของฮอร์โมนเพศชายเกินเช่นหน้ามันสิวขึ้นง่ายขนดก
  2. รังไข่เสื่อมก่อนกำหนดผู้ที่ประจำเดือนไม่มาจากสาเหตุนี้สามารถรักษาด้วยยาคุมกำเนิดแบบเม็ดหรือกลุ่มยาฮอร์โมนทดแทนวิธีการ
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@jsnbrsc

ดูแลสุขภาพตนเองเมื่อประจำเดือนมาไม่ปกติ

  1. ลดภาวะเครียด
  2. พักผ่อนให้รู้สึกผ่อนคลาย
  3. เลือกรับประทานอาหารให้ครบถ้วนและเหมาะสม
  4. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ได้แก่ สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น

ปัญหาประจำเดือนขาดหายเป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้หญิง เพราะระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลทำให้ประจำเดือนไม่มาได้ ปัญหาดังกล่าวอาจมาจากเนื้องอกที่ต่อมใต้สมองหรือต่อมไทรอยด์ ทั้งนี้ยังรวมไปถึงระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ หรือระดับเทสโทสเตอโรนสูง ซึ่งทำให้ประจำเดือนขาด หากยิ่งสาวคนไหนที่ประจำเดือน 2 เดือนมาอีก 2 เดือนหายอาจมาจากภาวะน้ำในรังไข่หลายใบ ภาวะนี้เกิดจากรังไข่มีถุงน้ำรังไข่เป็นจำนวนมาก โดยถุงน้ำเหล่านี้จะไม่ปล่อยไข่ให้ตกออกมาจึงทำให้ประเดือนหายไป DooDiDo แนะนำว่าควรรีบไปพบแพทย์เพื่อให้ทำการวินิจฉัยให้ทันท่วงทีนะค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.siphhospital.com