สาระความรู้ดีๆ เลิกเป็นคนฟุ้งซ่าน คิดมาก ขี้กังวล

WM

Lifestyle การจัดความคิดเลิกเป็นคนฟุ้งซ่าน คิดมาก ขี้กังวล

เราคงต้องยอมรับว่าในปัจจุบันนี้นั้นผู้คนต้องใช้ชีวิตที่ค่อนข้างซีเรียส แข่งขัน และต้องแข่งกับเวลา  และมนุษย์จำเป็นต้องมีสังคม ถ้านั่งจมอยู่กับความกังวล คิดฟุ้งซ่านไปเยอะแยะ ให้ลุกออกไปเที่ยวหรือศสูดอากาศจะช่วยทำให้รู้สึกดีขึ้น เพราะเราต้องพึ่งพากันและกัน ดังนั้น อย่าสร้างโลกส่วนตัวแล้วอยู่แต่ในนั้น ไม่ติดต่อใคร ไม่คุยกับใคร เพราะอยู่เงียบ ๆ คนเดียวก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกดีขึ้นจริงไหมคะ ลองแชตกับเพื่อน วิดีโอคอลหาญาติพี่น้อง เปิดโอกาสให้ตัวเองได้แลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่นดูบ้าง

การจัดการความคิดเลิกเป็นคนฟุ้งซ่าน ไหนใครเป็นสายมโนชอบคิดไปเองคนเดียว คิดมาก หรือกำลังคิดถึงเรื่องเดิมๆ โดยพยายามมองจากล้านแปดแง่มุมอยู่หรือเปล่า? ถ้าคุณมีหลายแง่มุม “มากเกินไป” ในการตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง คุณกำลังถอยไปข้างหลังมากกว่าก้าวไปข้างหน้า วันนี้เรามี ไลฟ์สไตล์ กับ Lifestyle การจัดความคิดเลิกเป็นคนฟุ้งซ่าน คิดมาก ขี้กังวล หากเพื่อนๆทุกคน พร้อมกันแล้วละก็ อย่ารอช้าเลย ได้ดูสาระความรู้ดีๆ จากบทความนี้กันเลยค่าาาาา

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@tjump

7 วิธี ที่จะทำให้คุณเลิกเป็นคนฟุ้งซ่าน คิดมาก ขี้กังวล

แน่นอนว่าตัวคุณเองรู้อยู่แล้ว ว่าการใช้เวลาเป็นชั่วโมงเพื่อตัดสินใจว่าจะเลือกกินอะไรดีในมื้อเที่ยงของวันนี้เป็นเรื่องไร้เหตุผล เช่นเดียวกับการใช้เวลานับสัปดาห์เพื่อตัดสินใจว่าจะรับข้อเสนองานชิ้นนี้ดีไหม? หรือใช้เวลาเป็นปีเพื่อคิดว่าจะแต่งงานกับแฟนคนนี้ดีรึเปล่า?

คุณอาจจะคิดว่า “พอได้แล้วน่า…ตัดสินใจซะทีเถอะ” แต่พอผ่านไปแค่ไม่กี่นาที ความลังเลและความหวั่นวิตกก็เริ่มจู่โจมเข้ามาเรื่อย ๆ แม้คุณจะพยายามสร้างภูมิคุ้มกันกับความรู้สึกเหล่านี้บ้างแล้วก็ตาม

ทุกคนคงเคยผ่านสถานการณ์แบบนี้มาแล้ว และมีวิธีรับมือที่ต่างกันออกไป โดยเว็บไซต์ Quora ได้มีคนไปตั้งคำถามว่า “ฉันควรแก้นิสัยคิดมากนี้ยังไงดี?” ซึ่งก็มีผู้คนมากมายที่มาแชร์วิธีของตัวเอง พร้อมกับร่วมโหวตคำตอบที่สร้างสรรค์ที่สุด และสามารถสรุปได้เป็น 7 วิธีหลัก ๆ ที่จะช่วยให้คุณเลิกเป็นคนคิดมาก ฟุ้งซ่าน และขี้กังวลได้ดังนี้

  1. สังเกตความคิดของตัวเอง

ส่วนสำคัญที่สุดของการทำสมาธิคือ การปล่อยให้ความคิดของคุณลอยผ่านไป แทนที่จะไปยึดติดอยู่กับมันหรือพยายามที่จะหยุดคิดมัน

การฝึกสมาธิแบบเจริญสติ (Mindfulness Meditation) เป็นสิ่งที่ช่วยให้คุณ หยุดหมกมุ่นกับเรื่องในอดีตได้ โดยให้คุณลองสังเกตการณ์ความคิดของตัวเอง แทนที่จะลงไปหมกมุ่นอยู่กับมัน

สตีฟ จอบส์ เองก็เคยอธิบายเกี่ยวกับวิธีการเช่นเดียวกันนี้ให้ วอลเตอร์ ไอแซ็กซัน ผู้เขียนชีวประวัติของเขาฟัง ดังนี้

“ลองนั่งอยู่เฉย ๆ แล้วสังเกตความคิดของตัวเองดู คุณจะรู้เลยว่าความคิดมันไร้ขอบเขตจริง ๆ และเวลาที่คุณพยายามทำให้มันนิ่ง ก็มีแต่จะแย่ลงเท่านั้น แต่จิตใจของคุณจะสงบลงเองเมื่อเวลาผ่านไปสักพัก และเมื่อจิตใจของคุณสงบแล้วมันก็จะมีที่ว่างในการรับฟังสิ่งที่ละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น”

  1. เขียนความคิดของตัวเองลงไป 

อีกวิธีนึง ที่จะช่วยหยุดความคิดฟุ้งซ่านของคุณ ก็คือ การระบายให้กับคนที่มีมุมมองวิธีคิดแตกต่างไปจากคุณได้ฟัง หรือจะใช้วิธีเขียนระบายความคิดของตัวลงไปในกระดาษแทนก็ได้ เพราะการเขียนทำให้เราคิดอย่างเป็นระบบขึ้นมาก ถ้าคุณเก็บความคิดเหล่านั้นไว้แต่ในหัว นอกจากมันจะไปสุมกันจนเป็นภูเขาเลากา มันยังทำให้คุณวนกลับมาคิดเรื่องเดิมซ้ำอยู่อย่างนั้นไม่จบสิ้น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@yrss
  1. กำหนดช่วงเวลาสำหรับ “การหยุดใช้ความคิด”

การกำหนดโซน “หยุดใช้ความคิด” ช่วยห้ามไม่ให้คุณหมกมุ่นกับปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป เช่น การไม่คิดเกี่ยวกับเรื่องยาก ๆ หลังเวลาสองทุ่มเพื่อไม่ให้มันมารบกวนเวลานอนหลับ

Amy Morin ซึ่งเป็นทั้งนักสังคมสงเคราะห์และนักเขียน ได้แนะนำวิธีที่ใกล้เคียงกันไว้ในคอลัมน์หนึ่งของ Psychology Today ว่าให้แบ่งเวลาไว้ประมาณ 20 นาทีต่อวัน สำหรับการสะท้อนความคิดของตัวเอง

“ภายในยี่สิบนาทีนี้ ปล่อยให้ตัวเองวิตกกังวล ครุ่นคิด ฟุ้งซ่านได้เต็มที่ตามต้องการ แล้วพอหมดเวลา ก็ให้เปลี่ยนไปทำสิ่งอื่นที่มีประโยชน์กว่า ถ้าคุณเริ่มคิดมากนอกช่วงเวลาที่กำหนดไว้เมื่อไหร่ ก็ให้เตือนตัวเองว่า ค่อยเอาเก็บไปคิดในช่วงเวลาที่กำหนดดีกว่า”

  1. เบี่ยงเบนความคิดของตัวเอง

ฟังดูง่าย ๆ แต่ที่จริงการจดจ่อกับสองสิ่งไปพร้อมกันนี่มันยากนะ ลองออกกำลังกายหรือเล่นเกมดูเมื่อรู้ตัวว่าตนเองกำลังคิดมาก เพื่อสร้างสมดุลระหว่างอารมณ์และร่างกาย

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็เห็นด้วยกับวิธีนี้ Stepher S. Ilardi ผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Depression Cure กล่าวกับ Fox News ว่า วิธีแก้การคิดมากคือ ให้หากิจกรรมที่เบี่ยงเบนความสนใจของคุณ ซึ่งควรเป็น “กิจกรรมที่ใช้ทั้งร่างกาย ความคิด และการร่วมเล่นกับผู้อื่น เช่น เทนนิส หรือการเดินเที่ยวกับเพื่อนสักคน”

  1. โฟกัสที่สิ่งที่ทำได้ในปัจจุบัน

อีกหนึ่งวิธีแก้นิสัยคิดมากก็คือ เลิกคิดแล้วลงมือทำ อย่าไปโฟกัสในสิ่งที่คุณต้องทำ สิ่งที่ยังไม่ได้ทำ หรือแม้แต่สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว แต่ให้พุ่งความสนใจไปในที่สิ่งที่สามารถทำได้ในปัจจุบันก็พอ ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กแค่ไหนก็ตาม แล้วก็ลงมือทำมันซะ

Bob Migliani ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Embrace of the Chaos เขียนลงในหนังสือพิมพ์ The Huffington Post ว่า เขามักจะเปลี่ยนความกังวลใจเกี่ยวกับอนาคตให้กลายเป็นการกระทำที่จับต้องได้ “ทุกครั้งที่ผมเริ่มกังวลในเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ผมจะลุกจากที่ที่นั่งอยู่ เดินไปที่คอมพิวเตอร์และลงมือเขียนหนังสือของผมต่อ” เขากล่าว

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@alex_boyd
  1. เคารพความคิดเห็นของตัวเอง

เหตุที่คุณยังคงคิดมากจนไม่ยอมตัดสินใจ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคุณไม่เชื่อว่าตัวเองจะตัดสินใจเลือกสิ่งที่ถูกต้อง จงเรียนรู้ที่จะเคารพความคิดเห็นของตัวเอง ยิ่งคิดมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งลังเลในความคิดของตัวเองมากเท่านั้น

  1. คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้

เป็นเรื่องปกติที่จะกังวลว่าคุณเลือกงานผิด แต่งงานกับคนที่ไม่ใช่สำหรับตัวเอง หรือแม้แต่ขับรถกลับบ้านผิดทาง แต่ความผิดพลาดก็ไม่ได้นำไปสู่หายนะเสมอไป แถมยังเป็นโอกาสให้ได้เรียนรู้และเติบโตขึ้นด้วย

นักข่าวชื่อดัง Kathryn Schulz เคยขึ้นไปพูดบนเวที TED Talk เธอกล่าวว่า

“การตระหนักได้ว่าตัวเองทำอะไรพลาด แล้วปรับมุมมองการมองโลกใหม่ได้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ”

“การคิดมากมักเป็นเพราะคุณคิดว่ามันเป็นการตัดสินใจครั้งสุดท้ายของคุณ เปลี่ยนแปลงไม่ได้และต้องถูกต้องเท่านั้น ซึ่งจริงๆ แล้ว คุณไม่ต้องกังวลกับความผิดพลาดเลย และให้เข้าใจไว้ว่าความคิดเห็นหรือความรู้ของคุณนั้นมันเปลี่ยนแปลงได้เสมอตามกาลเวลา แล้วคุณจะรู้สึกสงบและเป็นอิสระจากภายในอย่างแท้จริง”

เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ ก็จบลงไปแล้วน้า กับไลฟ์สไตล์ การชีวิตของคนในยุคนี้ กับ “Lifestyle การจัดความคิดเลิกเป็นคนฟุ้งซ่าน คิดมาก ขี้กังวล ” DooDiDo หวังว่าเพื่อนทุกคนจะได้รับความรู้จากบทความนี้ไม่มากก็น้อยนะค่ะ  นอกจากนนี้ตอนนนี้เป็นเวลากว่า 2 ปีที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับ โควิด-19 เกิดการปรับตัวอย่างรุนแรงทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยชนิดที่เรียกว่าไม่ปรับตัวก็อยู่ไม่ได้ ทำให้มีความปกติใหม่ๆ New Normal เกิดขึ้น เทคโนโลยีต่างๆ อย่าลืมดูแลตัวเองพร้อมกับวางแผนชีวิตของตนเองด้วยนะค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : https://sumrej.com