วิธีฝึกสติสมาธิเพื่อควบคุมอารมณ์และการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

WM

เรียนรู้วิธีฝึกสติ สมาธิ เพื่อควบคุมอารมณ์ และการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

ทุกๆ คนต่างมีอารมณ์ที่ปรวนแปรตลอดเวลา ทั้งนี้อาจจะขึ้นอยู่กับตัวเราเอง และสภาพแวดล้อม เพื่อนร่วมงาน ต่างเป็นตัวแปรได้หมด เพราะอารมณ์เครียด อารมณ์แปรปรวน อารมณ์ทุกข์ อารมณ์ไม่พอใจ รวมถึงการขาด สมาธิ ในการทำงาน ล้วนเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่คนทำงาน เพราะมีการแข่งขัน และการทำงานร่วมกับคนหมู่มากมีความจำทน ซึ่งต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ และการต้องพบปะทำงานกับผู้คนหลากหลาย

และบ่อยครั้งเมื่อประสบปัญหาแล้วก็จับต้นชนปลายไม่ถูก นำมาซึ่งความเครียดความหงดุหงิด แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถทำอะไรจิตใจเราได้เลย หากเรามีสติและสมาธิ มาเรียนรู้วิธีฝึกสติสมาธิเพื่อควบคุมอารมณ์และการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกัน

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@jeshoots

ความคิดว้าวุ่นอะไรบ้างในวัยคนทํางาน

ซึ่งหากเราลองสืบค้นต้นตอดี ๆ จะพบว่าปัญหาทั้งหลายล้วนมาจากต้นตอเดียวคือ การพบกับสิ่งที่ไม่พอใจหรือสิ่งที่พบไม่เป็นดั่งใจหวังแล้วจึงเกิดอารมณ์ความรู้สึกขึ้นในใจต่อมา เช่น ความหงุดหงิด ความโกรธ ความผิดหวัง ความน้อยใจ หรือความเครียด เป็นต้น แต่หากเรามีสติ ตระหนักรู้ทันความคิดแง่ลบของเรา เราก็จะสามารถจัดการกับอารมณ์ ความรู้สึก และปล่อยวางลงได้ความคิดว้าวุ่นอะไรบ้างในวัยคนทํางาน ทําไมฉันไม่มีเหมือนเขาเป็นต้น ฉันควรจะทําได้ดีกว่านี้” “ทําไมหัวหน้าทําอย่างนั้น” “ทําไมคนนั้นถึงไม่ทําแบบนี้

เมื่อมีสติ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

  1. สติทำให้เรารู้ตัวเรา

สติเป็นสิ่งที่จําเป็นสําหรับคนทุกช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนวัยทํางานนั้นเป็นวัยที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นมากขึ้น หากยิ่งมีตําแหน่งเป็นหัวหน้างานด้วยแล้ว การฝึกสติสมาธิจะทําให้เราเข้าใจตนเองได้มากขึ้น เช่น รู้ว่าจิตใจเรากําลังขุ่นมัว รู้ว่าตัวเองกําลังทุกข์ เมื่อรู้ทันอารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้ ก็จะช่วยให้เรามองทุกปัญหาในเชิงบวกมากขึ้น เป็นต้น

  1. สติทําให้รู้ทันการเปลี่ยนแปลง

ทุกปัญหาในชีวิตการงานล้วนมาจากรากเดียวกันคือ เมื่อเราพยายามจัดความจริงให้เป็นไปตามใจเรา เช่น อยากให้เพื่อนร่วมงานพูดจาดีกว่านี้ หรืออยากได้เงินเดือนมากกว่านี้ ฯลฯ ทุกความคาดหวังย่อมพาไปพบกับความผิดหวังได้ แต่หากเราจัดการตนเองให้เข้ากับความเป็นจริงได้อย่างมีสติ เรารู้เท่าทันจิตใจของเราในทุกวัน เราก็จะรู้จักปล่อยวางและยอมรับที่จะอยู่กับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างกลมกลืนสอดคล้อง จิตใจเราก็จะสงบ ไม่เรียกร้องและไม่อึดอัด

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@patricktravelist

การฝึกสติและสมาธิเป็นประจําสม่ำเสมอทุกวัน

โดยการนั่งสมาธิวันละ 10 – 30 นาที จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวเรา ดังนี้

-เราสามารถควบคุมการทํางานของร่างกายส่วนต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

-สมองส่วนต่าง ๆ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

-ควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีขึ้น และแสดงออกอย่างระมัดระวังมากขึ้น

-มีความยืดหยุ่นมากขึ้นทั้งในมุมมองต่อโลกและการดําเนินชีวิต

-เห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น

-ตระหนักรู้ตัวเองและสามารถพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น

-ควบคุมความกลัวได้ดี ทําให้มีความกล้ามากขึ้น

-มีคุณธรรม มีความเมตตาต่อตนเองและผู้อื่น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@benwhitephotography

เราสามารถฝึกสมาธิง่ายๆ ด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้

  1. ฝึกหยุดความคิดด้วยการตามรู้ลมหายใจ

คือการฝึกรับรู้ลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูก ลักษณะเหมือนกับที่เราเอาหลังมือรองลมหายใจ แต่ที่ปลายจมูกจะมีประสาทรับรู้ความรู้สึกน้อยกว่าและเบากว่ามาก จะรับรู้ได้จึงต้องหยุดความคิดทั้งมวล

  1. ฝึกจัดการความคิดที่เข้ามาสอดแทรกเพื่อให้จิตสงบ

เมื่อเริ่มรับรู้ลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูกขณะหลับตาได้แล้ว เราจะพบว่าความคิดหยุดลงได้เพียงชั่วคราวแล้วจะกลับมาอีก เพราะคนเรามีสิ่งสะสมอยู่ในจิตใต้สํานึกมากมาย ดังนั้นขั้นต่อไปจึงเป็นการฝึกลมหายใจอย่างต่อเนื่อง โดยไม่สนใจเสียงและสิ่งรบกวนจากภายนอก

  1. ฝึกจัดการกับความง่วงจนจิตสงบและผ่อนคลาย

สมาธิจะแน่วแน่ต้องจัดการกับความง่วง เพราะเมื่อมีสมาธิแล้วก็ควรนั่งสมาธิให้ได้อย่างน้อย 8 – 10 นาที แต่เมื่อความง่วงเข้ามาแทรก เราสามารถแก้ด้วยการยืดตัวตรง หายใจเข้าออกลึก ๆ สัก 4 – 5 ลมหายใจ หรือจินตนาการเป็นหลอดไฟที่สว่างจ้าสักพักแล้วกลับไปรับรู้ลมหายใจให้ต่อเนื่อง หากง่วงจริง ๆ ก็สามารถเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ลุกขึ้นยืน เดิน ดื่มน้ำ ล้างหน้าแล้วกลับมานั่งสมาธิต่อได้

เมื่อฝึกสติจนชํานาญแล้ว DooDiDo บอกเลยว่าจะช่วยให้เราจัดการกับปัญหาภายในใจที่จะสามารถปล่อยวางได้ เพราะเราเข้าใจในธรรมชาติที่ต้องเปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่ต้องไปยึดติดหรือตอบโต้ สิ่งนี้จะส่งผลไปถึงสติในการทํางานร่วมกันหรือสติในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานด้วย

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.health2click.com