วิธีจัดการสมาธิสั้นให้อยู่หมัด ช่วยเด็กรับมือกับโรคได้ดีขึ้น

WM

ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@jasonsung

8 วิธีรับมือกับเด็กสมาธิสั้น ที่พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจ

คุณพ่อคุณแม่หลายบ้านคงจะเคยได้ยินโรคสมาธิสั้นกันมาบ้างใช่ไหมคะ ซึ่งอาการของเด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่จะพบว่าเด็กชายมักเป็นเด็กที่มีสมาธิสั้นมากกว่าเด็กหญิงค่ะ อาการที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ การที่ลูกของคุณพ่อคุณแม่อยู่ไม่นิ่ง ซุกซน ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก การทำกิจวัตรประจำวัน และการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น เมื่อรู้แล้วว่าลูก หลาน เป็นโรคสมาธิสั้น เราสามารถดูแลอย่างสร้างสรรค์ได้ง่ะาย ๆ ด้วยวิธีที่เรานำมาฝากวันนี้ค่ะ

สมาธิสั้นในเด็กเป็นภาวะของการทำงานที่ผิดปกติ ซึ่งถือเป็นเรื่องท้าทายสำหรับบุคคลรอบข้างที่ต้องใช้ชีวิตด้วย เช่น คุณครู หรือ พ่อแม่ผู้ปกครอง หากลูกของท่านมีภาวะสมาธิสั้น พวกเขาอาจเกิดความวิตกกังวลหรือเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าได้มากขึ้น เนื่องจากรู้สึกแย่กับสิ่งที่เป็น รวมถึงวิธีที่ผู้อื่นตอบสนองกับพวกเขาเมื่อต้องเข้าสังคม โดยสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกของคุณอาจมีอาการสมาธิสั้น มีดังต่อไปนี้ พูดวกไปวนมา พูดโพล่งออกมา จดจ่อกับการเรียนไม่ได้ มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น มักทะเลาะเบาะแว้งกับผู้อื่น แม่หลาย ๆ คนเป็นกังวลไม่น้อยจริง ๆ เพราะไม่รู้ว่าจะต้องดูแลอย่างไร แต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยาก และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเขาได้จากหลายๆ วิธี ดังนี้

มุมเด็กทำการบ้าน
ขอบคุณภาพจาก: ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/jutheanh-1371556/

วิธีในการดูแลเด็กสมาธิสั้นมีอยู่ 8 วิธี เพื่อช่วยเด็กรับมือกับโรคได้ดีขึ้น

1. จัดมุมที่เงียบสงบไว้ให้เด็กได้ทำงาน หรือทำการบ้าน ห่างจากโทรทัศน์ไม่ให้มีเสียงเข้ามารบกวนสมาธิ และจัดของใช้ที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อลดสิ่งเร้าที่ดึงความสนใจของเด็ก

2. ใช้การสื่อสารที่สั้น กระชับ ชัดเจน ให้เด็กทวนคำสั่งว่ามีอะไรบ้าง เนื่องจากเด็กสมาธิสั้นมักมีความอดทนในการฟังต่ำ

3. ฝึกฝนวินัยในเด็ก สร้างกรอบกฎเกณฑ์ มีตารางเวลาชัดเจน ไม่ปล่อยปละละเลยหรือตามใจจนเคยตัว

4. เบี่ยงเบนความสนใจ เมื่อเด็กดื้อหรือซนมากให้หากิจกรรมอื่นมาแทน

5. ให้เด็กออกกำลังกายและทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว เพื่อช่วยลดพลังงานส่วนเกิน ช่วยให้มีสมาธิและลดความเครียด

เด็กพักผ่อน
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@lzzbest

6. การนอนหลับให้เพียงพอก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้เด็กมีสมาธิและมีสุขภาพที่ดี

7. ลดระยะเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลง แต่ทำบ่อยขึ้น เน้นเรื่องความรับผิดชอบและอดทน ตั้งเป้าหมายของกิจกรรมให้ง่ายๆ สั้นๆ อย่างชัดเจนและเสร็จเป็นชิ้นๆ ไป

8. ควรให้คำชมหรือรางวัลเมื่อเด็กทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เด็กทำพฤติกรรมที่ดีต่อไป

9. ผู้ปกครองควรเป็นตัวอย่างที่ดี และช่วยฝึกเด็กให้มีวินัย อดทนรอคอย บริหารเวลาและจัดระเบียบในการทำกิจกรรม

10. ติดต่อและประสานงานกับครูอย่างสม่ำเสมอ ในการช่วยเหลือเด็กด้านการเรียนและการปรับตัวในโรงเรียน

หากคุณพ่อคุณแม่เรียนรู้ เข้าใจ และยอมรับกับโรคสมาธิสั้นที่เกิดในลูกของคุณได้ ก็ลองทำตามวิธีรับมือกับลูกที่สมาธิสั้นที่ DooDiDo นำมาฝบอกกล่าวกันในัวนนี้นะคะ เพราะคุณพ่อคุณแม่นั้นจะมีส่วนช่วยให้ลูก ๆ มีความสุขกับการเรียน การใช้ชีวิตประจำวันได้สมวัย และเสริมสร้างพฤติกรรมที่ดีให้กับลูกได้ ทำให้เด็กโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาวะที่ดีขึ้น ดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขนั่นเองค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.thaihealth.or.th, www.rakluke.com,www.nakornthon.com,www.brainandlifecenter.com