ลอยกระทง กับความเชื่อ

ลอยกระทง 2

วัน ลอยกระทง ในแต่ละปีจะจัดขึ้นตามปฏิทินจันทรคติ ซึ่งจะตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำขึ้นสูงสุดอันเกิดจากปรากฎการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่พิธีกรรมการลอยกระทงที่เกี่ยวกับผี ซึ่งเป็นสิ่งที่เหนือธรรมชาติ และอยู่กับผู้คนมายาวนานกว่า 3,000 ปีแล้ว จากข้อมูลจากหนังสือลอยกระทง ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ผีที่เกี่ยวข้องกับการลอยกระทงในช่วงยุคแรกๆคือผีน้ำ และผีดิน แต่ในเวลาต่อมาเพื่อกล่าวยกย่องผีเหล่านั้น เราจึงเรียกว่า พระแม่คงคา และพระแม่ธรณี ในบทความนี้เราจึงจะพาคุณไปรู้จักกับที่มาด้านความเชื่อของประเพณีลอยกระทงกัน

ข้อสันนิษฐานที่มาของการ ลอยกระทง

หลังจากการรับอิทธิพลจากศาสนาพุทธและพราหมณ์จากอินเดียวเมื่อกว่า 2000 ปีที่ผ่านมา บรรดาราชสำนักโบราณในแทบดินแดนสุวรรณภูมิก็ได้ปรับพิธีกรรมการขอขมาผีเพื่อการขอขมาน้ำและดินให้เข้ากับศาสนาที่รับมาใหม่ เป็นการลอยกระทงเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า และเทพเทวดาทั้งหลาย ซึ่งมีหลักฐานที่ปรากฏที่ปราสาทหินบายนในนครธม ที่สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.1700 แต่ชาวบ้านก็ยังเชื่อว่าเป็นการขอขมาพระแม่ธรณีและพระแม่คงคา

ลอยกระทง 1

ลอยกระทง ในประเทศไทย

การลอยกระทงในไทย เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐานปรากฏชัดว่าที่มาเป็นอย่างไร เพราะตามจารึกในสมัยสุโขทัย และเอกสารร่วมสมัยอื่นๆนั้นก็ไม่พบคำว่าลอยกระทง หากดูลึกไปในจารึกของพ่อชุนรามคำแหงก็พบแต่เพียงคำว่าเผาเทียนเล่นไฟ ที่จะสื่อความหมายถึงการทำบุญไหว้พระ ส่วนเอกสารจารึกและพงศาวดารในสมัยกรุงศรีอยุทธยายุคแรกๆ ก็พบแต่ชื่อ ชักโคม ลอยโคม แขวนโคม และลดชุดลอยโคมลงน้ำ ซึงเป็นพิธีกรรมของพราหมณ์ในราชสำนักเท่านั้น หรือแม้แต่สมัยธนบุรีก็ไม่พบชื่อนี้ จนกระทั้งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีคำว่าลอยกระทงปรากฎชัดเจนขึ้นในพระราชพงศาวดารของรัชการที่ 3 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ และเรื่องนางนพมาศ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 3

นางนพมาศและการลอยกระทง

ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นช่วงที่บ้านเมืองและการค้ามั่นคง รัชกาลที่ 3 จึงทรงโปรดให้ฟื้นฟูประเพณีและพิธีกรรมสำคัญต่างๆเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของราชอาณาจักร และได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือตำราท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือ นางนพมาศ โดยสมมติให้เกิดในยุคพระร่วงของราชอาณาจักรสุโขทัย โดยตำรากล่าวว่านางนพมาศเป็นพระสนมเอกของพระร่วง ได้ประดิษฐ์กระทงใบตองเป็นดอกบัวกมุท เพราะเป็นดอกบัวพิเศษที่จะบานในช่วงเวลากลางคืนเพียงปีละครั้งเท่านั้น จึงได้ทำกระทง แต่ประทีป และนำไปลอยกระทงเพื่อสักการะรอยพระพุทธบาท ครั้งเมื่อพระร่วงทอดพระเนตรเห็นลอยกระทงจึงรับสั่งถามถึงความหมาย นางนพมาศจึงทูลว่า แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน

การเผยแพร่ประเพณีสู่ยุคปัจจุบัน

สำหรับประเพณีลอยกระทงที่กระทงทำจากใบตองนั้น ในระยะแรกจะมีแค่ในเฉาพะราชสำนักเท่านั้น แต่ในต่อมาได้แพร่หลายสู่เหล่าบรรดาราษฎร และขยายไปยังหัวเมืองใกล้เคียงในที่ลาบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นที่แพร่หลายไปทั่วประเทศราวปี พ.ศ.2500 หรือก่อนหน้านั้นไม่นานนัก จนในที่สุดก็ถือเป็นประเพณีสำคัญของคนไทยทั้งประเทศ

ความเชื่อกับเพณีในวันลอยกระทง

พิธีกรรมที่เกี่ยวกับน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตของผู้คน แต่ก็มีวัตถุประสงค์หลากหลายขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่น อันได้แก่ บูชาพระพุทธเจ้าในวันสเด็จกละบจากเทวโลกเมื่อครั้งไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หรือสักการะรอยพระพุทธบาท ที่ประทับรอยพระบาทไว้บนหาดทรายที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานทีในอินเดีย หรือการลอยเคราะห์ สะเดาะเคราะห์ หรือแม้แต่อธิฐานขอพรในสิ่งที่ตนเองปรารถนาได้ หรือเพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

บทสรุป

ประเพณีลอยกระทงนั้นมีที่มาอย่างยาวนาน ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่ามีจุดเริ่มต้นที่ใด แต่เป็นที่คาดการณ์ว่ามาจากการไหว้ขอขมาผีต่างๆ ซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องเป็นพระแม่ธรณีและพระแม่คงคา และกลายมาเป็นการลอยกระทงเพื่อพุทธบูชาตามความเชื่อทางศาสนา การลอยกระทงไทยในปัจจุบันนั้นคาดว่ามีที่มาจากพงศาวดารในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีการกล่าวถึงนางนพพาศ ในสมัยราชอาณาจักรสุโขทัย ที่ได้ประดิษฐ์กระทงขึ้นและลอยกระทงเพื่อพุทธบูชา ซึ่งการลอยกระทงเองจุดประสงค์นั้นก็ต่างไปตามความเชื่อแต่ละท้องถิ่นนั่นเอง


แหล่งอ้างอิง

https://www.thaipbs.or.th/news/content/333566

ที่มาของรูปภาพ

https://www.freepik.com/author/jcomp

ติดตามบทความอื่นๆได้ที่ https://doodido.com/