รู้หรือไม่ 6 พฤติกรรมแย่ๆ ที่บั่นทอนสุขภาพใจให้ถดถอย

WM

เช็คด่วน!! 6 อารมณ์ร้าย ที่คุณกำลังทำลายหัวใจตัวเองอยู่

เรื่องของอารมณ์แย่ๆ ที่ใครๆ ก็คงไม่อยากเป็น และไม่อยากพบเจอคนที่มีอารมณ์แบบนี้กันใช่ไหมค่ะ แต่เจ้าอารมณ์นี้มันมักจะแวะเวียนมาทักทายเราอยู่เป็นประจำ โดยที่บางครั้งก็อยู่กับเรานานข้ามวันเลยก็มี ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อหัวใจของเราอย่างมาก ลองมาดูเหตุผลกันว่าทำไม เราควรสลัดอารมณ์ร้าย ๆ เหล่านี้ทิ้งไป หากไม่อยากให้สุขภาพหัวใจมีปัญหาในอนาคตอารมณ์กับสุขภาพใจมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไม่น่าเชื่อ ใครที่มักจะอารมณ์ไม่ดี ชอบเหวี่ยง ชอบวีนเป็นประจำละก็ ระวังให้ดีเชียวโรคหัวใจจะถามหาเอา

ในแต่ละวันของเรามีหลากหลายอารมณ์ความรู้สึกเข้ามากระทบจิตใจ บางทีเผลอ ๆ มีอารมณ์เดียวไปตลอดทั้งวัน ซึ่งถ้าหากเป็นโหมดอารมณ์ดี ก็คงไม่น่าเป็นห่วงอะไร แต่ถ้าอยู่ในโหมดอารมณ์ด้านลบ ขอให้รู้ไว้เลยว่า ทุก ๆ ครั้งที่เราไม่รู้สึกแฮปปี้ละก็ หมายความว่าเรากำลังทำร้ายสุขภาพหัวใจไปทีละนิดโดยไม่รู้ตัว มารู้เท่าทันอารมณ์กันดีกว่าว่า อารมณ์ไหนทำให้หัวใจแข็งแรง และอารมณ์ไหนควรเลิกทำ เพื่อยืดอายุหัวใจให้อยู่กับเราไปนาน ๆ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/robinhiggins-1321953/

1. โกรธ

ใครรู้ตัวเป็นคนขี้โมโห เมื่อมีอะไรไม่ได้ดั่งใจนิดหน่อยก็พาลโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยงแบบน­­ี้ขอแนะนำว่าควรตั้งสติ ระงับอารมณ์โกรธให้บรรเทาลงดีกว่าค่ะ เพราะเวลาที่เราอารมณ์โกรธ ร่างกายจะยิ่งผลิตฮอร์โมนเครียด และหลั่งสารอะดรีนาลีนออกมา ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เกิดการแตกร้าวที่ผนังหลอดเลือด เมื่อผนังหลอดเลือดมีรอยร้าว ก็อาจทำให้มีลิ่มเลือดมาอุดตัน จนทำให้รูหลอดเลือดทั้งหมดอุดตัน จึงมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)

2. เครียด

คนส่วนใหญ่รู้ดีว่าความเครียดส่งผลร้ายต่อหัวใจ แต่ก็ยังเครียดกันเป็นประจำ จากผลการวิจัยชิ้นหนึ่ง เผยว่า ความเครียดบั่นทอนสุขภาพหัวใจมากกว่าปัจจัยอื่น ๆ อย่างเช่น การสูบบุหรี่ การกินอาหารที่มีไขมันทรานส์และน้ำตาล รวมถึงการไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัจจัยเหล่านี้เราสามารถควบคุมและหลีกเลี่ยง­­ได้ แต่ความเครียดนั้นควบคุมได้ยาก และยังนำมาซึ่งอาการผิดปกติของร่างกายอื่น ๆ ตามมาด้วย เช่น ปวดหัว ปวดหลัง นอนไม่หลับ ปวดท้อง เบื่ออาหาร ติดแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ โดยในขณะที่เราเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเครียดออกมาตลอดเวลา กระตุ้นเลือดให้ไหลเวียนมากผิดปกติ ทำให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอลงเรื่อย ๆ มีโอกาสสูงที่สุขภาพหัวใจจะย่ำแย่ลง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/trinhkien91-2878579/

3. ซึมเศร้า หดหู่
หากรู้ตัวว่าเริ่มมีอารมณ์หดหู่ ซึมเศร้า เซ็ง ๆ มาเยือนแล้ว ขอให้รีบวิ่งเข้าหาความบันเทิงโดยด่วน เพราะความหดหู่อาจทำให้เราได้ใกล้ชิดกับโรคหัวใจง่ายขึ้น จากผลการวิจัยเมื่อปี 2011 ของประเทศนอร์เวย์ เผยว่า จากการติดตามประวัติสุขภาพของอาสาสมัคร 63,000 คน พบว่า กลุ่มอาสาสมัครเหล่านี้มักมีอารมณ์หดหู่ และซึมเศร้า และมีความเสี่ยงร้อยละ 40 ที่จะเป็นโรคหัวใจล้มเหลว โดยที่อารมณ์ซึมเศร้า และหดหู่นั้น เพิ่มโอกาสการติดเชื้อในร่างกาย นำไปสู่โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน และโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease) ในที่สุด

4. วิตกกังวล

ความวิตกกังวล เป็นอารมณ์ที่ส่งผลให้หัวใจอ่อนล้า และอาการสามารถรุนแรงขึ้นถึงขั้นทำให้เราเสียชีวิตได้เลย โดยในทุก ๆ ครั้งที่เรามีอารมณ์หวาดระแวง วิตกกังวลจะส่งผลกระทบต่อหัวใจ ดังนี้

– เกิดภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Tachycardia)

เป็นอาการที่หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ หรือเต้นได้เร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที ทั้งที่ปกติแล้ว การเต้นปกติของหัวใจควรอยู่ที่อัตรา 60–100 ครั้งต่อนาที หากอัตราการเต้นของหัวใจของหัวใจเร็วมาก ก็จะส่งผลให้หัวใจวายและเสียชีวิตได้ในที่สุด

– ทำให้ระดับความดันเลือดสูงขึ้น

อาการนี้ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลงเรื่อย ๆ หากเป็นบ่อยครั้งถึงขั้นกลายเป็นโรคประจำตัว ก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคหัวใจล้มเหลวได้ใ­­นที่สุด

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/sweetlouise-3967705/

5. มองโลกในแง่ร้าย
เวลาที่เราอยู่ในอารมณ์คิดติดลบ หรือมองโลกในแง่ร้ายนั้น อีกหนึ่งสิ่งที่จะตามมาก็คือพฤติกรรมที่บั่นทอนสุขภาพ เช่น อดอาหาร กินของที่ไม่มีประโยชน์ สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์ นอนไม่หลับ ซึ่งสาเหตุที่สุขภาพหัวใจถูกบั่นทอนส่วนหนึ่งก็มาจากพฤติกรรมเห­­ล่านี้นั่นเอง

ลองมาเช็กกันเล่น ๆ ว่า อารมณ์ตอนนี้ของเราเข้าข่ายนิสัยของคนที่มองโลกในแง่ร้ายอยู่หร­­ือเปล่า หากเข้าข่ายเกินกว่า 3 ข้อควรหาเวลาไปผ่อนคลายตัวเองบ้าง จะได้คิดบวกมากขึ้น ดังนี้

1. ตีโพยตีพายไปก่อน ทั้ง ๆ ที่เรื่องยังไม่เกิด
2. ประเมินค่าตัวเองต่ำไป คิดว่าตัวเองไม่มีดีเหมือนคนอื่น
3. ครุ่นคิดย้ำ ๆ ถึงสิ่งที่ตัดสินใจผิดพลาดไปแล้ว
4. มองหาข้อเสียของเรื่องนั้น ๆ เป็นอันดับแรก ก่อนทำการตัดสินใจ
5. คิดสรุปแบบเหมารวมเกินจริง มองว่าทุกอย่างรอบตัวมีแต่เรื่องแย่ ๆ เกิดขึ้นกับตัวเอง

6. อิจฉา

เมื่อไรก็ตามที่อารมณ์อิจฉาเกิดขึ้นในใจของเรานั้น ร่างกายจะทำงานเกี่ยวข้องกับระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic nervous system) ตอบสนองกับหัวใจทันที เกิดปฏิกิริยาที่ร่างกายเร่งสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงหัวใจมากขึ้น ทำให้หัวใจเต้นเร็วไม่เป็นจังหวะ ในขณะเดียวกันร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเครียดออกมาด้วย ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ เหมือนกำลังถูกกดดัน รู้สึกแย่กับตัวเอง

ทุกท่านค่ะ อ่านแล้วรู้สึกตกใจเหมือนกันไหมค่ะ เพราะเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับเราแทบจะทุกวัน โดยหารู้ไหมว่าสิ่งเหล่านี้กำลังบั่นทอนสุขภาพหัวใจของเราไปอย่างช้า ๆ แต่เราก็สามารถสร้างเกราะป้องกันให้หัวใจดวงน้อย ๆ ของเราได้ DooDiDo แนะนำด้วยการปฏิวัติตัวเองเสียใหม่ ให้อารมณ์ดี ๆ อยู่กับเราไปนาน ๆ

ขอบคุณแหล่งที่มา: https://health.kapook.com