ปัญหาสุขภาพของสุนัขกับ”โรคคูชชิ่ง” (Cushing’s syndrome)

WM

5 เรื่องจริงของโรคคูชชิ่ง (Cushing’s syndrome) ในน้องหมา

หลายๆ คนที่ชื่นชอบการเลี้ยงสัตว์ คุณจะต้องควรศึกษาให้ดีว่าสัตว์แต่ละชนิดมีการดูแลอย่างไรบ้าง อย่างเช่นสุนัข ที่คุณต้องรู้ข้อมูลการเลี้ยงการดูแลที่ถูกต้อง เพื่อสุขภาพที่ดีของเจ้าตูบนั่นเอง และแน่นอว่าเมื่อไหร่ที่เรากลับมาเจอกับแบบนี้ต้องกลับมาพร้อมกับสาระความดีๆเกี่ยวกับ สัวต์เลี้ยง มาให้เพื่อนได้รับเมือนเดิมน้า กับ 5 เรื่องจริงของโรคคูชชิ่ง (Cushing’s syndrome) เกิดจากการที่ต่อมหมวกไตได้รับสัญญาณกระตุ้นที่มากกว่าปกติมาจากต่อมใต้สมองทำให้ต่อมหมวกไตชั้นนอกมีการสร้างฮอร์โมนคอร์ติซอลมากกว่าปกติ วันนี้เรามีสาระความรู้ของ สัตว์เลี้ยง กับ ปัญหาสุขภาพของสุนัขกับ โรคคูชชิ่ง (Cushing’s syndrome) หากเพื่อนๆทุกคน พร้อมกันแล้วละก็ อย่ารอช้าเลย ได้ดูสาระความรู้ดีๆพร้อมไปดูความน่ารักของสัตว์เลี้ยงจากบทความนี้กันเลยค่าาาาา

หากพูดถึงกลุ่มอาการคูชชิ่ง (Cushing’s syndrome) น้อยคนนักที่จะรู้จัก แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า โรคนี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับน้องหมาเช่นกัน บางทีสุนัขของเราอาจจะกำลังเป็นอยู่ก็ได้ วันนี้ มุมหมอหมา จะพาเพื่อน ๆ ไปทำความความรู้จักกับโรคคุชชิ่ง ผ่านเรื่องจริงต่าง ๆ ทั้งสาเหตุ อาการ การตรวจวินิจฉัย และการรักษา โดยจะขอแฉ ไม่ใช่สิ!! จะมาขอเล่าเบื้องลึกให้เพื่อน ๆ ทุกคนได้กระจ่างกับโรคนี้กันครับ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@annadudkova

1 โรคคูชชิ่งเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน

โรคคุชชิ่ง เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากฮอร์โมนกลูโคคอร์ติซอล (Glucocorticoid) หรือ คอร์ติซอล (Cortisol) มากเกินไป ซึ่งเป็นฮอร์โมนในกลุ่มสเตียรอยด์ที่สร้างจากต่อมหมวกไต จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า โรค Hyperadrenocoticism

โรคนี้ตั้งชื่อตามนายแพทย์ Harvey Cushing ชาวสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ค้นพบและรายงานถึงเนื้องอกชนิดหนึ่งเกิดที่ต่อมใต้สมอง แล้วทำให้ต่อมใต้สมองสร้างฮอร์โมนมากระตุ้นยังต่อมหมวกไต ให้สร้างฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมามากเกินไป ซึ่งฮอร์โมนนี้ช่วยดูแลส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จึงทำให้เกิดกลุ่มอาการมากมายตามมา

2 โรคคูชชิ่งบางประเภทในน้องหมาเกิดจากฝีมือมนุษย์อย่างเรา

โรคคุชชิ่งเกิดได้จากร่างกายสร้างกลูโคคอร์ติซอลขึ้นเอง (Endogenous) ซึ่งอาจเป็นความผิดปกติของต่อมหมวกไตโดยตรง จึงสร้างฮอร์โมนนี้มากเกินไป หรือเกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง เช่น เนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง จึงสร้างฮอร์โมน ACTH มาควบคุมหรือกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตอีกที

นอกจากนี้ โรคคูชชิ่งยังเกิดจากการรับกลูโคคอร์ติซอลจากภายนอกเข้าไป (Exogenous) เข้าไปด้วย ซึ่งการได้รับยาสเตียรอยด์ในรูปแบบต่าง ๆ จากการรักษาโรคบางโรค เช่น โรคผิวหนัง โรคภูมิคุ้มกันไวเกิน หรือการได้รับสมุนไพรที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ๆ ทำให้น้องหมาเกิดโรคนี้ตามมาได้ เราเรียกว่า Iatrogenic Cushing’s syndrome ครับ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@annadudkova

 3 โรคคูชชิ่งทำให้น้องหมามีขนร่วงได้

กลุ่มอาการของสุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้มีมากมาย แต่อาการสำคัญที่ใช้เป็นจุดสังเกตนั้น ได้แก่ ภาวะกินน้ำมากและปัสสาวะมาก ท้องกางเนื่องจากกล้ามเนื้อช่องท้องอ่อนแรง ผิวหนังบางจนมองเห็นเส้นเลือดที่ผิวหนัง โดยเฉพาะตรงบริเวณหน้าท้อง

นอกจากนี้ยังทำให้เกิดปัญหาทางโรคผิวหนังตาามาด้วย ไม่ว่าจะเป็นขนร่วง มีเม็ดสีมากเกินทำให้มีผิวเข้มขึ้น มีเม็ดตุ่มหรือตุ่มหนองตามตัว เป็นต้น โดยการร่วงของขนจะร่วงบริเวณกลางหลังและสะโพก อาจจะร่วงแบบสมมาตร หรือร่วงบริเวณขาและเท้า รวมถึงบริเวณหางด้วย เนื่องจากผลของสเตียรอยด์ทำให้ขนหยุดการสร้าง และหยุดอยู่ที่ระยะเทโลเจน (telogen)

4 เราสามารถตรวจคัดกรองโรคคูชชิ่งเบื้องต้นจากปัสสาวะได้

การตรวจโรคคูชชิ่งนอกจากจะใช้อาการทางคลินิก และการทดสอบการทำงานของต่อมหมวกไต ตลอดจนวิธีการอื่นๆ แล้ว การตรวจวัดระดับคอร์ติซอลต่อครีเอตินีนในปัสสาวะ (urine cortisal/creatinine ratio) ยังเป็นวิธีที่ใช้ช่วยคัดกรองโรคนี้เบื้องต้นได้ ในรายที่สงสัยว่าจะเป็น อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก

โดยที่เจ้าของสามารถรองเก็บปัสสาวะจากสุนัขเองที่บ้านในเวลาเช้า เพราะการมาเก็บตรวจที่โรงพยาบาลสุนัขอาจจะเครียด ทำให้เกิดการหลั่งคอร์ติซอลสูงกว่าปกติ วิธีนี้จัดเป็นวิธีที่ทำง่าย สุนัขไม่ต้องเจ็บตัว มีความไวสูง แต่ความจำเพาะต่ำ จึงไม่สามารถใช้ยืนยันว่าเป็นโรคนี้ได้ อาจจะต้องได้รับการตรวจซ้ำ และร่วมกับใช้วิธีการตรวจอื่น ๆ เพื่อยืนยันต่อไป

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@annadudkova

5 การรักษาและการเฝ้าติดตามโรคคูชชิ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

สุนัขที่เป็นโรคคูชชิ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อเนื่อง และต้องได้รับการตรวจติดตามสม่ำเสมอ ยาที่ถูกนำมาใช้รักษานั้น จำเป็นต้องได้รับทุก ๆ 12-24 ชั่วโมง โดยจะให้ถี่หน่อยในช่วงแรก จากนั้นเมื่ออาการดีขึ้นจึงจะค่อย ๆ ลดความถี่ในการให้ยาลง ยิ่งถ้าสุนัขมีน้ำหนักตัวมาก ก็ต้องได้รับปริมาณยามากขึ้นตามไปด้วย บางตัวต้องปรับระดับยา หากอาการยังไม่ดีหรือกลับมาเป็นอีก รวมถึงต้องได้ยาอื่น ๆ เพื่อควบคุมภาวะแทรกซ้อน เพราะน้องหมาบางตัวอาจจะมีค่าตับสูง มีการติดเชื้อซ้ำ ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนของการวินิจฉัยโดยละเอียดและการรักษาอาจจะสูงถึงหลักหลายพันบาท

โรคในน้องหมานั้นมีความใกล้เคียงกับคน หากแต่รายละเอียดของการวินิจฉัยและการรักษานั้นต่างกัน บางโรคนั้นต้องใช้ระยะเวลารักษาที่ค่อนข้างนาน อย่างโรคคูชชิ่งก็เช่นกัน สุนัขที่ได้รับการรักษาจะมีอาการดีขึ้นตามลำดับภายใน 2-4 สัปดาห์หลังได้รับการรักษา และจะมีชีวิตอยู่ต่อได้นานเฉลี่ย 1-2 ปี (หรือมากกว่า) ทั้งนี้ก็ขึ้นกับสาเหตุและประเภทของโรคด้วย ด็อกไลไลค์ (Dogilike) ก็ขอเป็นกำลังใจเพื่อน ๆ ที่น้องหมากำลังป่วยเป็นโรคนี้นะคะ

เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ ก็จบลงไปแล้วน้า กับ สัตว์เลี้ยง สุดแสนจะน่ารัก กับ “ปัญหาสุขภาพของสุนัขกับ โรคคูชชิ่ง (Cushing’s syndrome) ” DooDiDo หวังว่าเพื่อนๆ ทุกคนจะได้รับความรู้จากบทความนี้ไม่มากก็น้อยนะค่ะ นอกจากนี้ “กลุ่มอาการคุชชิ่ง” เป็นอาการผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อที่ส่งผลกระทบต่อการเผาผลาญ การรักษาไม่ว่าจะเป็นตามแนวทางอายุรกรรมหรือศัลยกรรม ดังนั้น หากเจ้าของสุนัขท่านใดพบว่าสุนัขของท่านมีอาการหรือลักษณะที่น่าสงสัย ควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างเหมาะสมต่อไป

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.dogilike.com