ข้อควรรู้ปัญหาโรคโรคโพรงกระดูกสันหลังของเจ้าตูบ (DLSS)!!

WM

มารู้จักกับ!! โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบ (DLSS)

ใครที่กำลังเลี้ยงเจ้าตูบอยู่แล้วละก็วันนี้แน่นอว่าเมื่อไหร่ที่เรากลับมาเจอกับแบบนี้ต้องกลับมาพร้อมกับสาระความดีๆ เกี่ยวกับ สัวต์เลี้ยงมาให้เพื่อนได้รับเมือนเดิมค่ะ กับโรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบ (DLSS) เกิดจากหมอนรองกระดูกที่เสื่อมตามอายุ  มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อเส้นใยชั้นเปลือกนอก ปล่อยให้เนื้อเยื่อกระดูกอ่อนตรงกลางซึ่งมีลักษณะ คล้ายวุ้นแตก (rupture) หรือเลื่อน (herniation) ออกมากดทับรากประสาทและเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบๆ วันนี้เรามีสาระความรู้ของ สัตว์เลี้ยง กับ ควรรู้ปัญหาโรคกระดูกของเจ้าตูบ (DLSS)หากเพื่อนๆทุกคน พร้อมกันแล้วละก็ อย่ารอช้าเลย ได้ดูสาระความรู้ดีๆพร้อมไปดูความน่ารักของสัตว์เลี้ยงจากบทความนี้กันเลยค่าาาาา

สำหรับโรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบ (Degenerative Lumbosacral Stenosis หรือ DLSS) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการที่มีการเสื่อมของโครงสร้างรอบ ๆ โพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบ ทำให้เกิดการตีบแคบจนเกิดการกดทับเส้นประสาทที่อยู่บริเวณนั้น

อาการเด่นชัดของ โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบ คือ จะพบอาการปวดที่บริเวณหลังด้านท้าย (Low Back Pain) ซึ่งพบได้บ่อยในสุนัขขนาดใหญ่และอายุมาก สาเหตุของการเกิดโรคมักจะมาจากหลากหลายความผิดปกติอาจเกิดจากสาเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@alvannee

การเกิดหมอนรองกระดูกเคลื่อนมากดทับเส้นประสาท cauda equina

การบวมของเส้นเอ็นตรงรอยต่อกระดูกสันหลังส่วนเอวและก้นกบ

การงอกของกระดูกที่สร้างขึ้นใหม่ตรงรูที่เส้นประสาทออกมา

บริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอวและก้นกบในภาวะปกติ ไม่พบการกดทับเส้นประสาท cauda equina (รูปที่ 1B) บริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอวต่อก้นกบในภาวะโรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบ พบการกดทับเส้นประสาท cauda equina จากการเคลื่อนของหมอนรองกระดูก (ภาพประกอบโดย ผศ.น.สพ.ดร. นิรุตติ์ สุวรรณณา)

โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบมักมีรายงานบ่อยในสุนัขพันธุ์เยอรมันเชพเพิร์ด ซึ่งเป็นสุนัขที่นิยมนำมาฝึก เพื่อใช้งาน เช่น ใช้เป็นสุนัขตำรวจ หรือ สุนัขทหาร เป็นต้น

ในประเทศไทยนอกจากสายพันธุ์ดังกล่าวยังสามารถพบได้ในสายพันธุ์อื่นได้อีก

  • ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์
  • โกลเด้น รีทรีฟเวอร์
  • บางแก้ว
  • ดัลเมเชียน
  • รวมทั้งพันธุ์ผสม เป็นต้น

นอกจากนี้สามารถพบในสุนัขพันธุ์เล็กได้บ้าง เช่น พูเดิ้ล มินิเจอร์พินเชอร์ เป็นต้น

หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้มักมาจากการที่สุนัขมีกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวอย่างหนัก เช่น การกระโดด การวิ่ง หรือ การฝึก เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เหนี่ยวนำทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อกระดูกเอวและก้นกบอย่างรุนแรงและเป็นประจำ ทำให้เร่งการเสื่อมของหมอนรองกระดูกที่ตำแหน่งนี้ รวมทั้งการบวมของเส้นเอ็น และตามมาด้วยการเกิดกระดูกงอกจนเกิดการทับเส้นประสาทในที่สุด

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/ri_ya-12911237/

อาการของโรค

อาจจะพบเพียงอาการปวดหลังบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอวต่อก้นกบ โดยไม่พบอาการทางระบบประสาทใด ๆ หรือพบอาการทางระบบประสาทร่วมด้วยก็ได้ โดยอาการทางระบบประสาทที่พบเกิดจากการที่มีการกดทับเส้นประสาทที่วางตัวอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกเอวและก้นกบที่ชื่อว่า เส้นประสาท cauda equina นั่นเอง

สุนัขอาจแสดงอาการเพียงแค่เจ็บบริเวณท้ายตัว ลุกยาก เดินขึ้นบันไดลำบาก เดินขาแข็ง ๆ ยืนย่อขาหลังต่ำ ๆ จนกระทั่งมีอาการขากะเผลก ไม่ใช้หลังรับน้ำหนัก เนื่องจากมีการกดทับเส้นประสาทและปมประสาทตรงตำแหน่งของรูที่ออกมาจากกระดูกสันหลัง ทำให้สุนัขต้องยกขาขึ้น เพื่อลดความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น อาการนี้ หากดูผิวเผินจะคล้ายกับอาการของโรคกระดูกและข้อต่อ เช่น ข้อสะโพกเสื่อม เอ็นหัวเข่าขาด กล้ามเนื้ออักเสบ เป็นต้น จำเป็นต้องพาไปพบสัตวแพทย์ เพื่อวินิจฉัยแยกโรคระหว่างโรคกระดูกและข้อกับโรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบนี้

หากการกดทับเส้นประสาทที่รุนแรงมากขึ้นจะพบอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย ได้แก่ อาการอ่อนแรงของขาหลัง เกิดอัมพฤกษ์หรือถึงขั้นอัมพาตได้ อาจพบว่ามีการควบคุมการขับถ่ายผิดปกติร่วมด้วย ได้แก่ พบอาการปัสสาวะไหลหยดออกมาเป็นระยะ และไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้ โดยจะพบว่าประสาทที่กล้ามเนื้อหูรูดที่ก้นไม่สามารถบีบรัด เพื่อกลั้นอุจจาระได้ นอกจากนี้สามารถพบอาการอัมพาตของหางได้เช่นกัน โดยสุนัขจะไม่สามารถกระดิกหรือแกว่งหางได้ พบอาการหางตก ยกหางไม่ขึ้น โดยเฉพาะเวลาขับถ่ายอุจจาระ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@alvannee

การวินิจฉัยโรค

(ภาพซ้าย) ภาพถ่ายเอ็กซเรย์ของรอยต่อของกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบพบกระดูกงอก (ภาพขวา) ภาพ MRI พบการงอกของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท cauda equina (ภาพประกอบโดย ผศ.น.สพ.ดร. นิรุตติ์ สุวรรณณา)

เมื่อพบอาการเหล่านี้ สัตวแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการตรวจเบื้องต้น ทั้งการตรวจร่างกายทั่วไป การตรวจกระดูก ข้อต่อและกล้ามเนื้อ รวมทั้งการตรวจระบบประสาท บางครั้งอาจต้องตรวจเลือด เพื่อประเมินสุขภาพโดยรวมทั่วไปร่วมด้วย และต้องทำการถ่ายภาพเอ็กซเรย์กระดูกสะโพก กระดูกขา หัวเข่า ข้อเท้า รวมทั้งกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบ เพื่อหาความผิดปกติภาพถ่ายเอ็กซเรย์อาจพบการตีบแคบของรอยต่อของกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบ บางครั้งอาจพบการงอกของกระดูกตรงบริเวณนั้นได้เช่นกัน

การยืนยันการวินิจฉัยสามารถทำได้โดยการทำ MRI จะทำให้เห็นลักษณะการตีบแคบจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@alvannee

การรักษาโรค

การรักษาโรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบนั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ หากสุนัขมีเพียงแค่อาการปวดจะใช้วิธีรักษาโดยการให้ยาลดปวดร่วมกับยาลดอักเสบและต้องควบคุมกิจกรรม งดกระโดด งดขึ้นลงบันได สามารถทำกายภาพบำบัดเพิ่มเติมได้ นอกจากนี้ยังมีการแพทย์ทางเลือกต่าง ๆ ที่สามารถช่วยลดอาการปวดได้ เช่น การรักษาด้วยเลเซอร์ การฝังเข็ม เป็นต้น

ไปเป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ ก็จบลงไปแล้วน้า กับ สัตว์เลี้ยง สุดแสนจะน่ารัก กับ “ ควรรู้ปัญหาโรคกระดูกของเจ้าตูบ (DLSS) ” DooDiDo หวังว่าเพื่อนๆ ทุกคนจะได้รับความรู้จากบทความนี้ไม่มากก็น้อยนะค่ะ  ในกรณีที่สุนัขมีอาการปวดรุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา หรือมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย แนะนำให้ทำการรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อลดการกดทับเส้นประสาท อาจจำเป็นต้องใส่วัสดุเข้าไป เพื่อยึดตรึงตรงรอยต่อกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกสันหลังให้มากยิ่งขึ้น หากเจ้าของสงสัยว่าสุนัขของท่านเริ่มมีอาการของโรคนี้หรือไม่ให้รีบนำไปพบสัตวแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมต่อ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.baanlaesuan.com