ข้อควรรู้!! สิ่งใดที่เติมลงไปในเครื่องดื่มแล้วทำให้เกิดผลเสียกับร่างกาย

WM

มาดู!! ของ 12 อย่างนี้ไม่ควรใส่ลงไปในเครื่องดื่ม เพราะอาจทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย!!!

ปัจจุบันนี้เครื่องดื่มได้พัฒนามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรสชาติที่หลากหลาย และการปรุงแต่งให้มีกลิ่นหอม มีสีสันที่น่ารับประทาน เอานู่นมาใส่นั่น เอานั่นมาผสมนี่ ให้มีทางเลือกที่หลากหลาย แต่คุณรู้หรือไม่ว่าบางอย่างที่ผสมลงไปในเครื่องดื่มทำให้มีรสชาติที่ดีขึ้นนั้น กลับทำให้เกิดผลเสียตามมาต่อร่างกายอย่างมากจนเราคาดไม่ถึง มาดูกันว่าสิ่งใดที่เติมลงไปในเครื่องดื่มแล้วทำให้เกิดผลเสียกับร่างกายกันบ้าง

ว่ากันว่าความหิวไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ถ้าคนเราหิวมาก อาจจะทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด หัวเสีย หรือพลังเผลอทำอะไรที่ไม่ถูกต้องลงไปได้ แต่สำหรับบางคนแล้วจะไม่ปล่อยให้ตัวเองหิวโดยเด็ดขาด เมื่อหิวเมื่อไหร่ต้องรีบหาอะไรมาทานแก้อาการกันอย่างรวดเร็ว จริงอยู่ที่ว่าความหิวเป็นสิ่งที่คนเราไม่ควรเผชิญบ่อย แต่เมื่อใดก็ตามที่หิวขึ้นมา ไม่ใช่ว่าอาหารทุกชนิดในโลกจะสามารถเข้ามาแก้ไขความหิวได้อย่างฉับพลัน เพราะตามหลักการที่ถูกต้องแล้ว อาหารบางอย่างไม่ควรอย่างยิ่งที่จะรับประทานตอนท้องว่าง เพราะเมื่อไหร่ที่รับประทานเข้าไป อาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้เลย แล้วอาหารอะไรบ้างที่เราไม่ควรที่จะรับประทานบ่อย มาลองหาคำตอบกันได้เลยค่ะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/rauschenberger-4614580/

1. เลมอน เลมอนไม่ควรใส่ลงไปในเครื่องดื่ม ลองถามตัวเองสิว่า “คุ้มค่าเสี่ยงที่จะป่วยไหม?” เนื่องจากคุณมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียจากเลมอนได้มากถึง 50/50 เช่น เชื้อเอ็นเทอโรคอคคัสซึ่งมักจะพบได้ในลำไส้ของมนุษย์ การศึกษาพบว่าเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่จะอยู่รอดได้ในเครื่องดื่ม ดังนั้นนิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าควรหลีกเลี่ยงเลมอนซะ

2. น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลไม่ควรใส่ลงไปในเครื่องดื่มเพื่อควบคุมระดับคอเลสเตอรอลและน้ำหนักตัว คนส่วนใหญ่จึงเริ่มใส่น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลลงไปในเครื่องดื่มเนื่องจากเชื่อว่ามันมีสรรพคุณในการเผาผลาญไขมัน อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรใส่ในปริมาณน้อยเท่านั้นมิเช่นนั้นอาจมีผลข้างเคียงอย่าง “อาการขับเคลื่อนอาหารออกจากกระเพาะใช้เวลานานกว่าปกติ” ซึ่งทำให้ท้องอืดและรู้สึกคลื่นไส้ รวมถึงส่งผลกระทบต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วย นอกจากนี้น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลยังทำลายชั้นเคลือบฟันและทำให้หลอดอาหารกับผิวหนังแสบไหม้ อีกทั้งอาจมีปฏิกิริยากับยาบางชนิดด้วยโดยเฉพาะยารักษาโรคเบาหวานและยาขับปัสสาวะ แถมเชื่อกันว่าน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลยังมีส่วนทำให้สูญเสียเนื้อกระดูกและระดับโพแทสเซียมต่ำในระยะยาว

3. ครีมเทียม ครีมเทียมไม่ควรใส่ลงไปในเครื่องดื่มการศึกษาพบว่าครีมเทียมจะมีน้ำตาลแปรรูปสูงโดยเฉพาะชนิดผงซึ่งมีไขมันทรานส์และน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน ด้วยเหตุนี้คุณจึงควรหลีกเลี่ยงโดยสิ้นเชิง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/myriams-fotos-1627417/

4. น้ำตาล น้ำตาลไม่ควรใส่ลงไปในเครื่องดื่มคุณอาจคิดว่าการเติมน้ำตาลแค่หนึ่งช้อนโต๊ะในกาแฟตอนเช้าไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่รู้หรือไม่ว่าชาวอเมริกันส่วนใหญ่จะบริโภคน้ำตาลถึง 19.5 ช้อนโต๊ะต่อวัน มากกว่าปริมาณที่แนะนำในแต่ละวันซึ่งเท่ากับ 6-9 ช้อนโต๊ะ ทางที่ดีคุณควรเปลี่ยนมารับประทานสารสกัดจากวานิลลาหรืออบเชยแทนน้ำตาล

5. น้ำมันหอมระเหย น้ำมันหอมระเหยไม่ควรใส่ลงไปในเครื่องดื่ม ACHC กล่าวว่าการรับประทานน้ำมันหอมระเหยไม่ปลอดภัยไม่ว่าจะปริมาณเท่าไหร่ก็ตามและอาจส่งผลต่อการควบคุมสารพิษ ยกตัวอย่างเช่นแม้ว่าเปปเปอร์มินต์จะช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหารและลำไส้แต่มินต์ชนิดอื่นอย่างเพนนีรอยัลกลับจะส่งผลเสียต่อตับของคุณ

6. เนยเหลวกับน้ำมัน เนยเหลวกับน้ำมันไม่ควรใส่ลงไปในเครื่องดื่ม บรรดานักวิทยาศาสตร์รู้ดีว่าการดื่มกาแฟใส่เนยหนึ่งแก้วแทนการรับประทานอาหารคือการแทนที่วิตามินและสารอาหารที่มีประโยชน์ด้วยไขมันอิ่มตัวซึ่งจะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นรวมถึงโอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองกับโรคหัวใจด้วย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/cancer-care-foundation-20343736/

7. เม็ดไข่มุก เม็ดไข่มุกไม่ควรใส่ลงไปในเครื่องดื่ม

ณ เวลานี้ไม่มีอะไรมาแรงเท่ากับชานมไข่มุกอีกแล้ว แต่ปัญหาเดียวที่ทำให้ชานมไข่มุกเป็นตัวบั่นทอนสุขภาพของคุณก็คือไข่มุกซึ่งสกัดจากรากมันสำปะหลังนั่นเอง ไข่มุกเหล่านี้เป็นคาร์โบไฮเดรตและไม่มีวิตามินหรือเกลือแร่ใดๆทั้งสิ้น มันต้องต้มในน้ำตาลนานกว่าสามชั่วโมงและปริมาณไข่มุกเพียงหนึ่งในสี่แก้วจะเท่ากับ 160 แคลอรี่เลยทีเดียว

8. เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มชูกำลังไม่ควรใส่ลงไปในเครื่องดื่ม การผสมเครื่องดื่มชูกำลังกับแอลกอฮอล์จะก่อให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “เมาตาค้าง” และทำให้คุณเผลอดื่มในปริมาณที่มากกว่าปกติเนื่องจากคุณจะไม่รู้สึกว่าตัวเองเมา นอกจากนี้ยังมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงต่างๆ เช่น โรคนอนไม่หลับ ใจสั่น มีอาการตื่นตระหนกและรู้สึกวิตกกังวล

9. น้ำเชื่อมแต่งกลิ่น น้ำเชื่อมแต่งกลิ่นไม่ควรใส่ลงไปในเครื่องดื่ม หนึ่งหน่วยบริโภคของน้ำเชื่อมแต่งกลิ่นส่วนใหญ่อย่างโทรานี่จะมีปริมาณน้ำตาลมากถึง 19 กรัม! แต่ขณะเดียวกันทางเลือกอื่นๆที่ปราศจากน้ำตาลก็จะเพิ่มความอยากอาหารและทำให้ผู้คนรับประทานแคลอรี่มากกว่าเดิม

10. สารให้ความหวานแทนน้ำตาล สารให้ความหวานแทนน้ำตาลไม่ควรใส่ลงไปในเครื่องดื่ม กลุ่มนักวิจัยพบว่าการใช้สารให้ความหวานติดต่อกันเป็นเวลานานอย่างหญ้าหวานจะทำให้น้ำหนักตัวและดัชนีมวลกายเพิ่มขึ้นรวมทั้งส่งผลเสียต่อเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ทำให้ระบบหัวใจและหลอดเลือดทำงานแย่ลง แถมยังมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานและมะเร็งอีกด้วย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/shutterbug75-2077322/

11. มะนาว (บางกรณี) มะนาวไม่ควรใส่ลงไปในเครื่องดื่ม อาการแพ้ที่ชื่อว่า “ผื่นแพ้แสง” เกิดจากการที่แสงแดดทำปฏิกิริยากับสารเคมีในมะนาวซึ่งหลายคนอาจเข้าใจผิดนึกว่าเป็นโรคผิวหนัง

12. การเติมคาร์บอเนต การเติมคาร์บอเนตไม่ควรใส่ลงไปในเครื่องดื่ม หากคุณมีอาการท้องอืดหรือรู้สึกอึดอัดหรือเป็นโรคลำไส้แปรปรวนก็ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีการเติมคาร์บอเนตเพื่อป้องกันอาการแย่ลงเนื่องจากฟองในเครื่องดื่มจะไปรบกวนการทำงานของระบบทางเดินอาหาร

จากข้อมูลสิ่งที่ไม่ควรเติมลงไปในเครื่องดื่มที่ DooDiDo นำมาฝากนั้น ก็จะเห็นได้ว่าเป็นสิ่งที่เรามักจะดื่มเป็นประจำ เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มยอดฮิตในปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ลองเปลี่ยนมาดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น และงดปรุงแต่งสารต่างๆ ในเครื่องดื่มใก้น้อยลง เพื่อสุขภาพที่ดีกันนะคะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: http://issue247.com