การให้ความสำคัญกับอาหารสมอง ด้วยการเลือกอาหารที่เหมาะสม

WM

หากเราไม่อยากเป็นโรคความจำเสื่อม เราควรบำรุงสมองของเราให้ดี

เมื่ออายุของเราเพิ่มมากขึ้นทุกปี ความจำของเราก็ต้องเสื่อมไปตามสภาพร่างกาย อาการของโรคความจำเสื่อมจะเกิดขึ้นทีละนิดๆ เกิดความสับสน อาทิ ลืมเรื่องงานที่คุยไปเมื่อสักครู่ ลืมเวลานัด หลงทางในเส้นทางที่ใช้ประจำ การลืมว่าเราเอาของไปวางไว้ตรงไหน ไม่ว่าจะเป็นกุญแจรถ กุญแจบ้าน ลืมปิดไฟให้ห้อง ลืมปิดเตาแก็ส ลืมถอดปลั๊กไฟ  หรือลองสังเกตอะไรง่ายเลย ลองนึกดูว่าอาหารที่เราทานไปมื้อแรกตอนเช้า เราได้ทานอะไรเข้าไปถ้ายังนึกออกแบบทันทีแสดงว่าเรามีความจำดีอยู่

แต่หากใครที่ลืมว่าอาหารมื้อเช้าเราทานอะไรไป ให้คุณเริ่มสงสัยตัวเองเลยว่า เราเริ่มมีอาการความทรงจำเสื่อม เริ่มจำเรื่องเล็กน้อยๆไม่ได้ หรือหากใครบางคนมีอาการหนักเป็นภาวะความทรงจำเสื่อมแบบรุนแรงอาจถึงขั้น ลืมวิธีการใช้ชีวิตประจำวัน หากเราไม่อยากแก่ไปเป็นโรคความจำเสื่อม เราควรบำรุงสมองของเราให้ดี วันนี้เรามีสาระความรู้ ไม่อยาก ถ้าอยากความจำดี เพียงเลือกกิน มาฝากกัน

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@judmackrill

สมองดี เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ เพราะสมองมีบทบาทต่อการทำงานของอวัยวะหรือระบบอื่น ๆ ด้วย เช่น ระบบประสาท การเคลื่อนไหวของแขน ขา ไปจนถึงการเดิน การทรงตัว และความจำ ปัจจุบันคนไทยมีความเสี่ยงในการเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและสมองเพิ่มขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งการมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ดังเช่นหลาย ๆ ประเทศที่กำลังก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุ ยิ่งเราอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อโรคระบบประสาทมากเช่นกัน จากสถิติพบว่า ในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่งอยู่ในกลุ่มโรคระบบประสาทเฉลี่ย 4 นาทีต่อคน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน

ซึ่งโรคหลอดเลือดสมองตีบเป็นสาเหตุอันดับ 2 ของโรคที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากทั่วโลกรองจากโรคมะเร็ง การรักษาสมองให้คงประสิทธิภาพอยู่กับเราไปได้นานที่สุดจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมองเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่าย ๆ คุณเอกสิทธิ์ จิตธรรม นักโภชนาการ-กำหนดอาหารวิชาชีพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้ให้คำแนะนำว่า ในแต่ละวันหากเราเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมองบ้างก็จะช่วยเสริมสร้างการทำงานของเซลล์สมอง ป้องกันการเสื่อมเร็วกว่าเวลาที่ควรจะเป็น เหมือนกับการออกกำลังกาย หรือการเลือกรับประทานอาหารบำรุงส่วนอื่น ๆ เพราะสมองก็ต้องการการดูแลเพื่อให้ฟิตแอนด์เฟิร์มด้วยเช่นกัน

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/stevepb-282134/

สารอาหารช่วยสมองฟิต

  • สารอาหารที่มีส่วนช่วยบำรุง สนับสนุนการทำงาน และชะลอความเสื่อมของสมอง ได้แก่ วิตามินชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะวิตามินบี 1 บี 6 บี 12  วิตามินซี และวิตามินอี ซึ่งมีอยู่ในอาหารหลายประเภท ดังนี้
  • วิตามินบี 1 มีมากในอาหารจำพวกข้าวแข็ง ๆ ไข่แดง ปลา ถั่วเหลือง
  • วิตามินบี 6 แนะนำให้รับประทานไข่ เนื้อสัตว์ จมูกข้าว ข้าวโพด กล้วย
  • วิตามินบี 12 ช่วยสนับสนุนการทำงานของกระแสประสาท ทำให้ความจำระยะสั้นดีขึ้น ลดความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุราว 4 เท่า อาหารที่เหมาะสมประกอบด้วยไข่ เครื่องในสัตว์ นม เนื้อสัตว์อื่น ๆ ที่มีไขมันต่ำ
  • วิตามินซี มีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระ พบในผลไม้จำพวกกีวี ฝรั่ง มะละกอ ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง
  • วิตามินอี มีมากในผักคะน้า ผักโขม ถั่ว อัลมอนด์ น้ำมันรำข้าว ธาตุเหล็ก ซึ่งจะช่วยส่งออกซิเจนเลี้ยงสมอง
  • อย่างดไขมัน คาร์โบไฮเดรต ไข่แดง

มีความเข้าใจผิดในการเลือกรับประทานอาหารหลายประเภท เพราะคิดว่าอาหารเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อร่างกายมากกว่าก่อให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารประเภทไขมัน คาร์โบไฮเดรต และไข่แดง ซึ่งจริง ๆ แล้วอาหารทั้ง 3 ประเภทนี้มีความสำคัญมากกว่าส่งผลกระทบต่อร่างกาย หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม 1) ไขมัน  ร่างกายคนเรายังต้องการไขมันและโครงสร้างสมองก็มีไขมันอยู่ถึง 60% การรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งไขมันที่ดีจะช่วยให้ร่างกายอบอุ่นและสร้างความแข็งแรงให้เซลล์สมอง อาหารที่ให้โอเมก้า 3 สูง ประกอบด้วย ปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู ปลาน้ำจืด เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลาจะละเม็ด รวมถึงไข่แดง สาหร่ายทะเล เมล็ดเซีย เมล็ดฟักทอง งา น้ำมันมะกอก น้ำมันทานตะวัน อาหารเหล่านี้ล้วนมีส่วนประกอบของไขมันดีซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย 2) คาร์โบไฮเดรต

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/congerdesign-509903/

อาหารบำรุงสมองทานบ่อยแค่ไหน

มีกรดอะมิโนบางประเภทที่ร่างกายสร้างขึ้นเองไม่ได้ แต่จำเป็นต่อสมอง เช่น ทริปโตเฟน พบได้ในเนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่ว กล้วย นมอุ่น ๆ และนมถั่วเหลือง ส่วนกลูตาเมท เป็นสารธรรมชาติ พบมากในโปรตีน เช่น ไก่ หมู ปลา ซึ่งถ้าเราได้รับในปริมาณที่ต่ำเกินไปจะส่งผลต่อการเรียนรู้และจดจำ แต่หากได้รับมากเกินไปก็อาจไปทำลายเซลล์ประสาทได้ “มีสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาทและสมองที่เราไม่อาจละเลย ได้แก่ กลุ่มสารอาหารจำพวกกรดอะมิโนที่มีส่วนในการสร้างกาบา ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ เช่น กลูตามีน ซึ่งเราได้จากการรับประทานอาหารประเภทข้าวกล้อง จมูกข้าว หรือธัญพืชอื่นๆ ควรรับประทานเฉลี่ย 4 – 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ร่วมด้วยปลา ข้าวโอ๊ต กล้วย เป็นต้น”  เพราะใคร ๆ ก็ต้องการมีสมองที่ดีอยู่กับตนเองให้นานที่สุด การให้ความสำคัญกับอาหารสมอง ด้วยการเลือกอาหารที่เหมาะสมร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้มีสมองที่เปี่ยมประสิทธิภาพอยู่กับเราไปได้นาน ๆ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับอาหารสอง ที่ช่วยบำรุงสองของเราให้ดี อาการขี้ลืมสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย บางครั้งเราต้องทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ทำให้ขาดสมาธิ, นอนไม่พอ หรือแม้แต่การกินยานอนหลับทั้งนี้ DooDiDo ขอแนะนำให้ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของคนในครอบครัวว่ามีใครที่มีอากรา หลงๆ ลืมๆ ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยายหรือพี่น้องของเราที่ดูเป็นคนขี้ลืมทั้งๆที่อายุยังน้อย ควรรีบนำมาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านสมองและระบบประสาท เพื่อทำการวินิจฉัย และหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไปนะค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.bangkokinternationalhospital.com