การฝึกให้เด็กมีความจัดการทางด้านอารมณ์ที่ดี เป็นสิ่งสำคัญ!!

WM

มาดู!! กลยุทธ์ฝึกเด็กรับมือเมื่อต้องเผชิญปัญหาทางอารมณ์

สำหรับเด็กๆ เขาก็มีความคิด และความรู้สึกมากมายไม่ต่า่งจากกับผู้ใหญ่เรา ซึ่งพวกเขาสามารถมีทั้งความรู้สึกเบื่อ วิตกกังวล เศร้า ผิดหวัง เขินอาย และหวาดกลัวได้ เด็กจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะในการจัดการอารมณ์ของตนเองให้มีสุขภาพจิตที่ดี สิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองจะต้องคอยดูแลคือการสอนทักษะการเผชิญปัญหา ที่จะสามารถช่วยให้พวกเขากล้าเผชิญกับความกลัว รู้จักการสงบสติอารมณ์ และการให้กำลังใจตัวเอง

เพราะหากปราศจากทักษะการเผชิญปัญหาที่ดีแล้ว เด็ก ๆ มักจะแสดงออก โดยการควบคุมตนเองไม่ได้ เด็กที่ไม่รู้ว่าจะจัดการกับความรู้สึกของตนอย่างไร ก็มักจะหันไปใช้กลยุทธ์การเผชิญหน้ากับปัญหาที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น แอลกอฮอล์ หรือ การเลือกทานอาหารเมื่อโตขึ้น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/publicdomainpictures-14/

กลยุทธ์ในการแก้ปัญหามีหลายประเภท

กลยุทธ์การเผชิญปัญหาแบ่งเป็นสองประเภท ซึ่งรวมถึงทักษะการเผชิญปัญหาที่เน้นการจัดการด้านอารมณ์และทักษะการเผชิญปัญหาที่เน้นการจัดการด้านปัญหา ทักษะทั้งสองประเภทมีความสำคัญต่อการเรียนรู้และนำไปใช้ในชีวิตของเด็ก ๆ

ทักษะการเผชิญปัญหาที่เน้นการจัดการด้านอารมณ์

  • จะช่วยให้เด็กๆ จัดการกับความรู้สึกเครียดให้น้อยลง
  • สอนเด็ก ๆ ให้รู้จักอดทนต่อความเครียดและความพากเพียร
  • เหมาะสำหรับใช้ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
  • ทักษะการเผชิญปัญหาที่เน้นจัดการด้านปัญหา
  • มีส่วนร่วมในจัดการเพื่อเปลี่ยนสถานการณ์
  • ให้เด็ก ๆ รู้จักควบคุมสถานการณ์ที่ยากลำบาก
  • จำเป็นสำหรับสถานการณ์ที่สิ่งต่าง ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงได้

การจัดการกับอารมณ์ 
การฝึกทักษะการจัดการทางอารมณ์จะเกี่ยวข้องกับการฝึกให้เด็กมีความรู้สึกดีขึ้น มีวิธีใดบ้าง

1. รับรู้อารมณ์ความรู้สึก
การฝึกให้เด็กได้รู้จักรับรู้อารมณ์ของตนเอง ว่าขณะนี้รู้สึกอย่างไร เช่น ตอนนี้กำลังโกรธ หรือ กำลังกังวล จะช่วยให้เด็กเอาตนเองออกจากความรู้สึกนั้น ๆ ได้เร็วขึ้น ลองฝึกให้เด็กได้รู้จักกับคำศัพท์ที่จะช่วยในการอธิบายความรู้สึกของพวกเขาออกมา ลองเลือกหนังสือที่สอนเกี่ยวกับความรู้สึก หรือคุยเกี่ยวกับอารมณ์ต่าง ๆ เพราะเมื่อพวกเขาเริ่มแสดงอาการต่าง ๆ ออกมา ผู้ปกครองสามารถฝึกให้เขาอธิบายความรู้สึกเหล่านั้นออกมาได้

2. ฝึกการหายใจ
การฝึกให้เด็กทำใจให้สบายโดยการฝึกหายใจเข้า ออกอย่างช้า ๆ จะช่วยให้พวกเขาเริ่มผ่อนคลายได้ หนึ่งวิธีในการช่วยให้เด็กรู้วิธีการหายใจคือ ให้หายใจเหมือนการเป่าฟองสบู่ โดยให้หายใจเข้าทางจมูกและหายใจออกทางปาก คล้ายกับเวลาที่พวกเขาพ่นฟองสบู่เป็นฟองกลม ๆ หรือให้เด็กลองจินตนาการถึงเวลาขณะดมกลิ่นหอม ๆ ของพิซซ่าเข้าไปลึก ๆ แล้วใช้ปากเป่าพิซซ่าให้หายร้อน การฝึกให้เด็ก ๆ ลองใช้วิธีนี้หลาย ๆ ครั้งจะช่วยให้เขาฝึกลมหายใจได้ดีมากขึ้น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/kaenie-1932138/

3. ฝึกออกกำลังกาย
การออกลังกายเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กได้ปล่อยพลังงานเมื่อพวกเขารู้สึกกังวลหรือเศร้า การออกกำลังกาย เช่น การยกน้ำหนัก วิ่ง หรือปั่นจักรยาน จะช่วยสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและช่วยปรับสมดุลทางด้านอารมณ์ นอกจากนั้นการออกกำลังกาย เช่น การเดินเล่น หรือออกไปวิ่ง จะช่วยให้พวกเขารู้สึกดีขึ้น

4. สร้างงานศิลปะ
การฝึกให้เด็กอยู่กับงานศิลปะเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น การเพ้นท์สีน้ำ ระบายสีรูปภาพ ปั้นดินน้ำมัน หรือประดิษฐ์ผลงานต่าง ๆ จะเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้พวกเขารับมือกับความรู้สึกต่าง ๆ ได้ ผู้ปกครองควรจัดสรรอุปกรณ์ให้พร้อม เพราะเมื่อพวกเขาต้องเผชิญกับความรู้สึกต่าง ๆ พวกเขาจะสามารถนำมันออกมาใช้เองได้

5. อ่านหนังสือ
การอ่านหนังสือที่พวกเขาชื่นชอบ ยังเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดสิ่งรบกวนรอบข้างออกไปได้ชั่วคราว โดยเฉพาะเมื่อเด็กมักจะปล่อยให้ตัวเองหลุดไปอยู่กับเรื่องราวที่ตนเองอ่าน จะเป็นตัวช่วยให้พวกเขารู้สึกสงบ และผ่อนคลายมากขึ้น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/stocksnap-894430/

6. ฝึกพูดคุยแบบคิดบวก
เมื่อเด็ก ๆ รู้สึกเศร้าหรือไม่สบายใจ ความคิดของพวกเขาจะเริ่มเปลี่ยนไปในทางแง่ลบมากขึ้น พวกเขาอาจจะคิดว่า การทำสิ่งนี้จะสร้างความน่าอับอาย หรือ คงไม่มีเพื่อนคนไหนอยากจะเล่นด้วยแน่ ๆ ผู้ปกครองสามารถฝึกให้เด็กลองตอบคำถาม หากสิ่งนี้เกิดขึ้นกับเพื่อนของหนู หนูจะพูดสิ่งนี้กับเพื่อนอย่างไร เด็ก ๆ จะเริ่มนึกถึงคำพูดที่เริ่มไปในทางบวกมากขึ้น เราสามารถฝึกให้เด็กนึกถึงคำเหล่านั้นมากขึ้น เมื่อเกิดเหตุการณ์นั้น ๆ กับตนเอง เพื่อสร้างแนวทางการคิดบวกให้กับเด็ก

การฝึกให้เด็กมีความจัดการทางด้านอารมณ์ที่ดี เป็นสิ่งสำคัญเพราะจะช่วยให้เด็กรู้สึกมีความเครียดน้อยลง ทักษะเหล่านี้จึงเหมาะที่จะนำไปใช้ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น สัตว์เลี้ยงตัวโปรดเสียชีวิต หรือ ไม่สามารถเข้าร่วมทีมแข่งกีฬาได้ ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้เด็กรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ดี ในขณะเดียวกัน การฝึกให้เด็กรู้จักกับทักษะการรับมือกับปัญหา เป็นทักษะที่จะต้องใช้ในการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงสถานการณ์นั้น ๆ เช่น การรับมือกับการถูกเพื่อนบูลลี่ ทักษะนี้จำเป็นเพราะจะต้องรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร เพราะฉะนั้น DooDiDo แนะนำว่าการเรียนรู้และฝึกทั้งสองทักษะจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็ก

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.brainfit.co.th