คุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือกับความรู้สึกเบื่อของลูกได้อย่างไร?

WM

ห้ามพลาด 5 วิธี รับมือ เมื่อเด็ก รู้สึกเบื่อ

ในช่วงแต่ละวัยของเด็กๆ ที่เขาเติบโตมาพร้อมการพัฒนาการแต่ละวัยนั้น เราเชื่อว่าในช่วงวัยเด็กเป็นวัยที่อดทนได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นทั้งผู้ปกครองหรือพี่เลี้ยงที่คอยดูแล ก็คงจะเคยได้ยินเด็ก ๆ มักจะพูด “หนูเบื่อ” หรือใช้คำพูดที่เรามักได้ยินบ่อย ๆ ว่า “ไม่มีอะไรจะทำเลย” เราเข้าใจได้ว่าสำหรับผู้ปกครองนั้น อาจจะเป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยอยากจะได้ยินเท่าไหร่นัก และเราคงคิดในใจว่า ก็มีของเล่น ให้เล่นเยอะแยะมากมาย ถ้าเบื่อก็ลองไปอ่านหนังสือดูสิ หรือออกไปเล่นข้างนอกบ้างก็ได้ แต่อย่าลืมว่า เหตุการณ์เหล่านี้ อาจจะทำเด็กเกิดความหงุดหงิดและเบื่อกับความเบื่อของเขามากขึ้นก็เป็นได้

เมื่อเด็ก ๆ บอกว่า พวกเขาเบื่อ และพวกเขาไม่อยากมีความรู้สึกเบื่ออีกแล้ว ผู้ปกครองสามารถใช้เหตุการณ์นี้ในการคุยกับเด็ก ๆ เพื่อเป็นโอกาสที่ดีในการพูดคุยเพื่อให้เด็ก ๆ ได้รู้สึกดีขึ้น โดยนักจิตวิทยาด้านพัฒนาการเด็กได้กล่าวไว้ว่า มันเป็นสิ่งสำคัญมากที่เราจะช่วยสอนให้เด็ก ๆ มีประสบการณ์เกี่ยวกับความรู้สึกเบื่อ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสและฝึกให้เด็ก ๆ ได้รู้จักใช้ทักษะการแก้ปัญหาที่ดี เพื่อช่วยให้เขาพัฒนาทักษะทางด้านการแสดงออกทางด้านจินตนาการและสร้างความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/greyerbaby-2323/

ทำให้เด็ก ๆ เข้าใจว่า ความน่าเบื่อเป็นสิ่งที่โอเค ความน่าเบื่ออาจเป็นความรู้สึกที่ไม่สบายนัก เด็ก ๆ อาจจะอดทนไม่ได้เมื่อเกิดขึ้น และมักถูกมองว่า มันเป็นเรื่องแย่ พ่อแม่และผู้ปกครองควรทำให้เด็ก ๆ เข้าใจว่า เมื่อเด็ก ๆ บอกกับเราว่า “เขารู้สึกเบื่อ” และพวกเขารู้สึกเบื่อที่จะต้องรู้สึกแบบนี้ตลอดเวลา ผู้ปกครองสามารถใช้โอกาสนี้ในการช่วยพูดคุยให้เขารู้สึกสบายใจมากขึ้นและบอกพวกเขาว่ามันจะผ่านไปได้

Tovah Klein นักจิตวิทยาด้านพัฒนาการเด็กได้กล่าวไว้ มันเป็นสิ่งสำคัญมากที่เด็ก ๆ จะได้ฝึกประสบการณ์ในการรับมือด้านความรู้สึกเบื่อ เพราะสิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้เด็ก ๆ รู้จักพัฒนาตนเองในการใช้ทักษะการแก้ไขปัญหา อีกทั้งยังสามารถช่วยพัฒนาความสามารถทางด้านการจินตนาการและความสนใจ ความอยากรู้อยากเห็นให้เด็ก ๆ อีกด้วย

และในขณะที่เด็ก ๆ มีความรู้สึกเบื่อ การได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องและรับมืออย่างถูกวิธีนั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ผู้ปกครองสามารถที่จะเรียนรู้วิธีรับมืออย่างถูกวิธี เรามาดู 5 วิธีในการรับมือ เมื่อเด็ก ๆ เกิดความรู้สึกเบื่อกัน

1. บอกให้เด็ก ๆ เข้าใจว่าความรู้สึกเบื่อเป็นเรื่องที่โอเค

ความรู้สึกเบื่อที่เกิดขึ้น อาจทำให้เด็ก ๆ เกิดความรู้สึกไม่สบาย เพราะฉะนั้นอาจทำให้เด็ก ๆ เกิดความรู้สึกที่ว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะอดทน และอาจถูกมองในแง่ลบได้ สิ่งที่ผู้ปกครองควรทำคือ พยายามทำให้รู้สึกเด็ก ๆ รู้สึกสบาย สร้างความเข้าใจให้เด็กรับรู้ว่าความเบื่อที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ เมื่อเด็ก ๆ พูดกับเราว่า เขารู้สึกเบื่อ เราก็ควรจะบอกเขาว่ามันเป็นเรื่องโอเคที่ทุกคนจะรู้สึกเบื่อกันได้ และมันไม่ใช่เรื่องเลวร้ายอะไร พวกเราทุกคนก็รู้สึกเบื่อกันได้ในหลาย ๆ ครั้ง ผู้ปกครองต้องพยายามพูดคุยและหาวิธีร่วมมือกับเด็ก ๆ ว่าจะทำอย่างไรให้ความรู้สึกเบื่อนั้นหายไปได้ เมื่อเด็ก ๆ พร้อมที่จะรับฟังและให้ความร่วมมือ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/marvelmozhko-6693180/

2. “ออกไปเล่นสิ” ไม่ได้หมายความว่า เป็นการไม่ดูแล

ในขณะที่เป้าหมายของเราคือ พยายามกำจัดความเบื่อออกไป การพยายามมองหากิจกรรมเพื่อให้เด็ก ๆ ได้สนุกด้วยตนเองในแบบของเขานั้น ผู้ปกครองควรที่จะคอยช่วยเหลือให้เขารับมือกับความน่าเบื่อนั้นได้ และควรระมัดระวังกับกิจกรรมที่เขาทำด้วยว่าปลอดภัยหรือไม่ หากผู้ปกครองอนุญาตให้ความเบื่อมาครอบงำและไม่ดูแลอย่างเหมาะสม เด็ก ๆ อาจพบเจอกับปัญหาได้ ซึ่งนักบำบัดกิจกรรมเด็ก Dr. Brandon Smith จากมหาวิทยาลัย John Hopkins ที่บัลติมอร์ ได้แนะนำให้ผู้ปกครองควรดูแลและใส่ใจกับกิจกรรมที่เด็ก ๆ เล่นข้างนอก และตรวจสอบว่าบริเวณภายนอกหรือในบ้านนั้นปลอดภัย สะอาด มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยาและเครื่องมือปฐมพยาบาล และปราศจากอันตรายต่อเด็ก

3. การเล่น

นักจิตวิทยาด้านพัฒนาการเด็กกล่าวว่า ความเบื่อคือสัญญาณอย่างหนึ่งที่เด็ก ๆ รู้สึกว่ากิจกรรมแต่ละวันนั้นมากเกินไป ในแต่ละวันที่เด็ก ๆ จะต้องทำกิจกรรมที่แน่นและเคร่งครัดตามที่ผู้ปกครองกำหนด เขาอาจจะไม่สามารถเรียนรู้วิธีและออกแบบความคิดหรือจินตนาการของเขาเองได้ ว่าจะต้องทำอะไรในแต่ละวัน สำหรับผู้ปกครองที่รู้สึกว่าเด็ก ๆ อาจทำกิจกรรมในแต่ละวันที่แน่นหรือรัดตัวจนเกินไป นักจิตวิทยาเด็กแนะนำว่า ให้ผู้ปกครองลองสร้างพื้นที่สำหรับมุมผ่อนคลายให้เด็ก ๆ ในบ้าน หรือลองจัดตารางเวลาให้พวกเค้าได้มีช่วงเวลาในการผ่อนคลายในแต่ละวัน เพื่อเป็นการพักสมองและผ่อนคลายตนเองได้บ้าง เช่น สถานที่นั่งเล่นในการอ่านหนังสือ การเขียน หรือ วาดรูประบายสี หรือมุมที่สามารถมองออกไปนอกหน้าต่าง เด็ก ๆ ควรมีช่วงเวลาในการพักอย่างน้อย 30 นาที ทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่าย และอาจจะแบ่งช่วงเวลาในการพักช่วงเล็ก ๆ ระหว่างวันเพิ่มเติมได้

4. เป็นแหล่งข้อมูลในการให้คำปรึกษาเด็ก ๆ

ผู้ปกครองจะต้องทำหน้าที่คอยให้คำปรึกษา สำหรับเด็ก ๆ ที่ไม่สามารถเรียนรู้วิธีจัดการกับความเบื่อได้ด้วยตนเอง หากเด็ก ๆ เคยชินกับการได้รับการดูแลหรือคอยช่วยเหลือให้รู้สึกสนุกสนานตลอดเวลาหรือเคยชินกับการเล่นตลอดเวลา ผู้ปกครองอาจจะต้องคอยให้คำปรึกษา เช่น ลองพูดกับเด็ก ๆ ว่า “วันนี้เราจะทำอะไรกันดี” “หนูอยากช่วยคุณแม่เข้าครัวทำอาหารด้วยกันไหม” หรือ “หนูอยากจะหาอะไรอย่างอื่นเล่นแทน” เมื่อผู้ปกครองได้เริ่มลองให้คำแนะนำหรือลองถามดูแล้ว ก็ลองปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเด็ก ๆ ในการคิดและตัดสินใจ และอธิบายให้เด็ก ๆ เข้าใจว่า ถ้ารู้สึกเบื่อก็ไม่เป็นไรนะ ซึ่งนักจิตวิทยากล่าวไว้ว่า เมื่อเด็กได้ลองเลือกหรือตัดสินใจทำสิ่งที่เขาเลือกแล้ว เขามักจะมีความคิดหรือไอเดียในการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองได้มากขึ้น หรืออีกวิธีหนึ่งในการเตรียมรับมือกับความเบื่อของเด็ก ๆ ที่จะเกิดขึ้น คือ การเตรียมพร้อมในการจัดเตรียมกิจกรรมต่าง ๆ ล่วงหน้า เพื่อเป็นแนวทางไอเดียให้เด็ก ๆ จัดการกับความเบื่อได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/skitterphoto-324082/

5. ประเมินไอเดียของความเบื่อ

คุณเองรู้สึกท้อแท้หรือไม่ เมื่อได้ยินคำว่า “หนูเบื่อ” แทบทุกครั้ง หากเป็นเช่นนั้น การที่ช่วยเด็ก ๆ ให้รับมือกับความเบื่อยิ่งเป็นเรื่องยาก หากผู้ปกครองรู้สึกท้อแท้ทุกครั้งที่ได้ยินคำพูดที่เด็ก ๆ บอก พวกเขาจะสามารถสัมผัสความรู้สึกของผู้ปกครองถึงพลังแง่ลบได้ และส่งผลให้เด็ก ๆ รู้สึกแย่อีกด้วย ซึ่งจะนำพาซึ่งความรู้สึกไม่ดีทั้งสองฝ่าย

ในขณะที่มีพ่อแม่ และผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่มักจะบอกให้เด็ก ๆ ลอง ออกไปเล่น เพื่อกำจัดความเบื่อทิ้ง แต่ความจริงคือ ไม่ใช่ทุกครั้งที่จะได้ผลกับวิธีนี้ มีเด็ก ๆ จำนวนมากที่ต้องการคำแนะนำจากผู้ใหญ่ตลอดเวลา แม้ว่าจะเป็นการจัดการที่ถูกวิธีก็ตาม ซึ่งในบางครั้งผู้ใหญ่อาจมองว่าความเบื่อเป็นสิ่งที่ไม่ดี ซึ่ง DooDiDo คิดว่าหากผู้ปกครองได้ลองสอนให้เด็กรู้จักรับมือกับความเบื่อแล้ว ยังเป็นการช่วยพัฒนาทักษะการเป็นตัวของตัวเองและพัฒนาความคิดของตนเองให้ดีขึ้นอีกด้วย

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.brainfit.co.th