กรามช้าง สมุนไพรแก้ทอนซิลอักเสบ และแก้ท้องเสีย

WM

ภาพจาก medthai

สรรพคุณและประโยชน์ของสมุนไพร กรามช้าง แก้ทอนซิลอักเสบ แก้ท้องเสีย

กรามช้าง ชื่อวิทยาศาสตร์ Smilax blumei A.DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Smilax perfoliata Blume) จัดอยู่ในวงศ์ข้าวเย็นเหนือ (SMILACACEAE)[1] ต้นกรามช้าง จัดเป็นสมุนไพรเป็นไม้เลื้อยขนาดใหญ่ มีความยาวได้ถึง 10 เมตร กิ่งก้านเรียวมีหนาม[1]

ใบกรามช้าง ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปวงรีถึงรูปไข่แกมสามเหลี่ยม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-18 เซนติเมตรและยาวประมาณ 13-27 เซนติเมตร มีเส้นใบออกจากโคนใบไปจรดปลายใบ 5 เส้น ส่วนก้านใบเป็นสันสามเหลี่ยมมน และมีหูใบเป็นรูปไข่กลับแผ่เป็นครีบ มือเกาะยาวประมาณครึ่งหนึ่งของแผ่นใบ[1]

ดอกกรามช้าง ออกดอกเป็นช่อ ออกเป็นคู่ ๆ ตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่กันคนละต้น โดยช่อดอกเพศผู้จะมีดอกย่อยประมาณ 30-50 ดอก ส่วนช่อดอกเพศเมียจะมีดอกย่อยประมาณ 20-40 ดอก มีกลีบรวมสีเหลืองแกมสีเขียว[1]

ผลกรามช้าง ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้ม[1]

WM
ภาพจาก medthai

สรรพคุณของกรามช้าง

  • ตำรับยาแก้ทอนซิลอักเสบ ระบุให้ใช้รากกรามช้าง รากตาล และรากไผ่ นำมาฝนน้ำรับประทานเป็นยาแก้ทอนซิลอักเสบ (ราก) [1]
  • ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้หัวใต้ดินของต้นกรามช้างนำมาฝนหรือหั่นเป็นชิ้น ๆ โดยใช้ครั้งละ 2-3 ชิ้น นำมาต้มกับน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นยาแก้ท้องเสีย (หัว) [1]
  • ตำรับยารักษารำมะนาดระบุให้ใช้รากกรามช้าง รากเกล็ดลิ่น รากชุมเห็ดเล็ก รากชุมเห็ดเทศ รากงิ้ว รากถั่วพู รากแตงเถื่อน รากฟักข้าว รากปอขาว ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เครือข้าวเย็น ต้นกระไดลิง ต้นมะกอกเผือก นำมาฝนกับน้ำซาวข้าวเจ้ากินรักษารำมะนาด (ราก) [1]
  • ตำรับยาผีเครือเหลือง ระบุให้ใช้รากกรามช้าง รากก่อเผือก รากคำแสนซีก รากไค้ตีนกรอง รากช่ำ รากเล็บเหยี่ยว รากมะพร้าว รากมะตูมป่า แก่นชมพู่ แก่นจันทน์แดง แก่นศรีคันไชย แก่นหาดเยือง ข้าวเย็น เขาเลียงผา ต้นกระไดลิง ต้นหมากขี้แรด นอแรดเครือ ว่านกีบแรด นำมาฝนกับน้ำข้าวเจ้ากินเป็นยาผีเครือเหลือง (ราก) [1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกรามช้าง

มีการวิจัยทางคลินิกในประเทศจีน ได้ใช้กรามช้าง (ไม่ระบุว่าส่วนใด) นำมาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ มากกว่า 10 ชนิด เพื่อใช้รักษาโรคตับอักเสบชนิดบี ซึ่งผลการทดลองพบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นถึง 74.5%[1]

ประโยชน์ของกรามช้าง

หัวใต้ดินสามารถนำมาใช้แทนหัวข้าวเย็นได้ (เข้าใจว่าใช้แทนได้ทั้งหัวข้าวเย็นเหนือและหัวข้าวเย็นใต้) [1]

สมุนไพรไทย แพทย์แผนไทย สมุนไพรประจำบ้าน ที่คนไทยรู้จักกันดี สรรพคุณเป็นยา รักษาโรคได้ ควรมีติดไว้ประจำบ้าน พืชที่ใช้เป็นยารักษาโรค หรือ เสริมสุขภาพ ช่วยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี การหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรกับชีวิตประจำวัน

สมุนไพรที่ได้จากส่วนของพืชโดยตรง (พืชวัตถุ) โดยส่วนต่างๆ ที่นำมานั้นมีสารที่สามารถใช้เป็นยาได้ ได้แก่ ใบ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด รากหรือหัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้ สมุนไพรที่ได้จากอวัยวะของสัตว์ (สัตว์วัตถุ) ได้แก่ ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ฯลฯ เช่น ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา สมุนไพรที่ได้จากแร่โดยธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆ ตามกรรมวิธี (ธาตุวัตถุ) นำมาใช้เป็นยา  ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา : medthai.com

หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “กรามช้าง”.  หน้า 197.