กระดึงช้างเผือก สมุนไพรยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย แก้ไข้ ถ่ายเสมหะ

SA Game

ภาพจาก medthai

สมุนไพร กระดึงช้างเผือก เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย แก้ไข้ ถ่ายเสมหะ ยาถ่ายพิษตานซาง

กระดึงช้างเผือก จัดเป็นสมุนไพรพรรณไม้เถาเลื้อยไปตามผิวดินขนาดใหญ่ เถามีลักษณะเป็นเหลี่ยมสีเขียวเข้มและมีขนสีขาวสั้น ๆ สากมือ แต่ขนจะค่อย ๆ หลุดร่วงไปจนเกือบเกลี้ยง และมีมือสำหรับยึดเกาะแยกเป็น 2-3 แขนง พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ในต่างประเทศพบได้ที่จีนตอนใต้ อินเดีย พม่า และในภูมิภาคอินโดจีน

สมุนไพรกระดึงช้างเผือก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขี้กาลาย มะตูมกา (นครราชสีมา), ขี้กาแดง (ราชบุรี), กระดึงช้าง กระดึงช้างเผือก (ประจวบคีรีขันธ์), ขี้กาขม (พังงา), ขี้กาใหญ่ (สุราษฎร์ธานี), มะตูมกา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ขี้กา (ภาคกลาง), กระดึงช้าง (ภาคใต้), เถาขี้กา เป็นต้น

กระดึงช้างเผือก ชื่อวิทยาศาสตร์ Trichosanthes tricuspidata Lour. จัดอยู่ในวงศ์แตง(CUCURBITACEAE)[1],[3]

ใบกระดึงช้างเผือก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับแบบห่าง ๆ ลักษณะของใบมีรูปร่างแตกต่างกัน มีตั้งแต่รูปไข่กว้าง รูปเกือบกลม ไปจนถึงเป็นรูปทรง 5 เหลี่ยม โคนใบเว้าเข้าคล้ายรูปหัวใจกว้าง ๆ ส่วนขอบใบหยักและเว้าลึก 3-7 แห่ง ทำให้ใบมีลักษณะเป็นแฉก 3-7 แฉก

SA Game
ภาพจาก medthai

โดยแฉกกลางจะยาวที่สุด ใบมีขนาดกว้างและยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีเส้นใบออกจากโคนใบประมาณ 3-7 เส้น ปลายเส้นใบยื่นพันขอบใบออกไปคล้ายหนามสั้น ๆ หลังใบเห็นเป็นร่องของเส้นแขนงใบชัดเจน ผิวใบด้านบนสากมือ ด้านล่างมีขนสีออกขาว ก้านใบมีขนหรือเกือบเกลี้ยง[1],[2]

ดอกกระดึงช้างเผือก ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่กันคนละต้น ดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร โดยจะออกตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีขาว มีใบประดับรูปไข่กลับ ขอบใบประดับหยักแบบซี่ฟันหรือแยกเป็นแฉกตื้น ๆ กลีบเป็นรูปหอกป้อม ๆ ขอบหยักแบบฟันเลื่อยหรือเว้าถึงแหลม ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ โคนติดกันเล็กน้อย

ขอบกลีบเป็นชายครุย ส่วนกลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกออกเป็นกลีบ 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 3 อัน อับเรณูเชื่อมติดกันเป็นรูป S ส่วนดอกเพศเมียจะออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายดอกเพศผู้ กลีบดอกเป็นสีเหลืองอมชมพู มีลายเป็นเส้นสีแดง ฐานดอกเป็นหลอดยาว กลีบเป็นรูปไข่กลีบ ปลายแหลมสีขาว ภายในรังไข่มี 1 ช่อง มีไข่อ่อนจำนวนมาก ท่อรังไข่ยาวเล็กเหมือนเส้นด้าย[1],[2],[3]

ผลกระดึงช้างเผือก ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือรูปขอบขนาน ผลอ่อนเป็นสีเขียวเข้ม มีลายทางเป็นเส้นสีขาวหรือสีเขียวอ่อนตลอดผล ผิวมีขน ผลเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงมีลายสีเหลือง ผลมีขนาดประมาณ 3-5 เซนติเมตร เนื้อในผลเป็นสีเขียว มีเนื้อหุ้มเมล็ดสีเทา เมื่อแห้งเนื้อจะโปร่งคล้ายฟองน้ำ ภายในผลมีเมล็ดเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานแบน[1],[2],[3]

สรรพคุณของกระดึงช้างเผือก

  • ดอกใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ดอก)[1],[2]
  • รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย (ราก)[1],[2]
  • ผลใช้เป็นยาถ่ายพิษตานซาง (ผล)[1],[2]
  • ดอกใช้เป็นยาแก้ไข้ (ดอก)[3]
  • ใบใช้ตำสุมกระหม่อมเด็กเป็นยาแก้หวัดคัดจมูก (ใบ)[1],[2]
  • เถาใช้เป็นยาดับพิษเสมหะและโลหิต ชำระเสมหะให้ตก (เถา)[1],[2]
  • ผลใช้เป็นยาถ่ายเสมหะ (ผล)[1],[2]
  • ใช้เป็นยาบำบัดโรคท้องผูกเรื้อรัง ด้วยการใช้กระดึงช้างเผือก 250 กรัม (ไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด), น้ำตาลทราย 100 กรัม และแป้งหมี่ 750 กรัม โดยเริ่มจากเอาไส้กระดึงช้างเผือกออกมาล้างน้ำให้สะอาด ใส่หม้อดินเติมน้ำพอประมาณ แล้วใส่น้ำตาลทรายต้มด้วยไฟอ่อน ๆ แล้วคนให้เละ จากนั้นให้เอาแป้งหมี่เติมน้ำนวดให้เป็นก้อนเหนียว เมื่อฟูแล้วก็นำมาทำเป็นเปลือกขนมเปี๊ยะสำหรับเอากระดึงช้างเผือกที่ต้มเตรียมไว้ยัดเป็นไส้ แล้วนำไปปิ้งหรือนึ่ง ใช้รับประทานต่างอาหารหลัก มากน้อยตามต้องการ (อาจารย์เกรียงไกร เถลิงพล)
  • รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถ่าย (ราก)[3]
  • ใช้เป็นยาขับพยาธิ (ผล)[1],[2]
  • เถาใช้เป็นยาบำรุงน้ำดี (เถา)[1],[2]
  • รากนำมาบดให้เป็นผงรับประทานเป็นยาแก้ตับหรือม้ามโต (ราก)[1],[2]
  • ผลใช้เป็นยาแก้ตับปอดพิการ (ผล)[1],[2]
  • ใบใช้ตำพอกฝี ทาแก้โรคผิวหนัง (ใบ)[3]
  • รากสดใช้ตำผสมกับน้ำมันทาแก้โรคเรื้อน (รากสด)[1],[2]
  • เถาใช้เป็นยาฆ่าเลือด ไร หิด เหา (เถา)[1],[2]

สมุนไพรไทย แพทย์แผนไทย สมุนไพรประจำบ้าน ที่คนไทยรู้จักกันดี สรรพคุณเป็นยา รักษาโรคได้ ควรมีติดไว้ประจำบ้าน พืชที่ใช้เป็นยารักษาโรค หรือ เสริมสุขภาพ ช่วยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี การหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรกับชีวิตประจำวัน

สมุนไพรที่ได้จากส่วนของพืชโดยตรง (พืชวัตถุ) โดยส่วนต่างๆ ที่นำมานั้นมีสารที่สามารถใช้เป็นยาได้ ได้แก่ ใบ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด รากหรือหัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้ สมุนไพรที่ได้จากอวัยวะของสัตว์ (สัตว์วัตถุ) ได้แก่ ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ฯลฯ เช่น ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา สมุนไพรที่ได้จากแร่โดยธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆ ตามกรรมวิธี (ธาตุวัตถุ) นำมาใช้เป็นยา  ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา : medthai.com

  • หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ).  “ขี้กาลาย”.  หน้า 81.
  • หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  “ขี้กาลาย (Khi Ka Lai)”.  หน้า 65.
  • ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้.  “กระดึงช้างเผือก”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th.