กกลังกา สมุนไพรฟอกเลือด ขับเสมหะ บำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร

SA Game

ภาพจาก https://medthai.com/%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2/

สมุนไพรท้องถิ่น กกลังกา ทำให้เจริญอาหาร ฟอกเลือด ขับเสมหะ บำรุงธาตุ

กกลังกา เป็นสมุนไพรท้องถิ่นมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามภูมิภาค กกขนาก, กกต้นกลม, หญ้าสเล็บ, หญ้าลังกา, กกดอกแดง (พระนครศรีอยุธยา), กกรังกา หญ้ากก หญ้ารังกา (กรุงเทพฯ), จิ่วหลงทู่จู (จีนกลาง), เฟิงเชอเฉ่า (จีนแต้จิ๋ว) กกลังกา

จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้นเหนือดินสร้างช่อดอกและแตกเป็นกอ มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าแข็งสั้นๆ คล้ายจำพวกขิงหรือเร่ว ลำต้นตั้งตรงไม่มีกิ่งก้าน มีความสูงได้ประมาณ 100-150 เซนติเมตร

ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยมค่อนข้างกลมมน มีสีเขียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียวที่ชุ่มชื้นและมีอินทรีย์วัตถุสูง จนถึงน้ำลึก 60 เซนติเมตร ชอบความชื้นสูงและแสงแดดแบบเต็มวัน เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นตามบริเวณที่ที่เป็นโคลนหรือน้ำ เช่น ข้างแม่น้ำ สระ ลำคลอง หรือบ่อน้ำ

กกลังกา มีชื่อสามัญว่า Umbrella plant, Flatsedge และมี ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyperus alternifolius L. ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า เป็นชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyperus involucratus Rottb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cyperus alternifolius subsp. flabelliformis Kük., Cyperus flabelliformis Rottb.) โดยจัดอยู่ในวงศ์กก (CYPERACEAE)

SA Game
ภาพจาก https://medthai.com/%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2/

ใบกกลังกา ใบเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบบาง ออกแผ่ซ้อน ๆ กันอยู่ปลายยอดของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 18-19 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ใต้ท้องใบสาก ในต้นหนึ่ง ๆ จะมีใบประมาณ 18-25 ใบ

ดอกกกลังกา ออกดอกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่มย่อยที่ปลายกิ่ง ช่อดอกแตกแขนงย่อย 20-25 แขนง มีขนาดกว้างประมาณ 12-20 เซนติเมตร มีใบประดับรองรับช่อดอกประมาณ 4-10 ใบ มีขนาดกว้างประมาณ 6-10 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร

แต่ละแขนงจะมีดอกย่อยช่อละ 8-20 ดอก ดอกย่อยจะมีกาบหุ้ม ขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็กเป็นสีขาวแกมเขียว เมื่อดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ก้านดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ มีสีเขียวอ่อน ยาวได้ประมาณ 6-7 เซนติเมตร

ผลกกลังกา ผลเป็นผลแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรียาว รูปรี หรือรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 0.4-0.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.9-1 มิลลิเมตร ผลเป็นสีน้ำตาล เปลือกแข็ง มีเมล็ดเดียว

สรรพคุณของกกลังกา

  • ทั้งต้นรวมทั้งรากและเหง้า มีรสเปรี้ยว หวาน ขมเล็กน้อย เป็นยา เย็น ใช้เป็นยาฟอกเลือด ทำให้เลือดลมไหลเวียนดี (ทั้งต้น)[3]
  • เหง้ามีรสขม ใช้ต้มเอาน้ำดื่มหรือนำมาบดให้เป็นผงละลายกับน้ำร้อนดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ เป็นยาทำให้เจริญอาหาร (เหง้า)[1],[2],[4],[6]
  • ใช้เหง้าต้มกับน้ำดื่มหรือบดเป็นผงละลายกับน้ำร้อนดื่มเป็นยาขับเสมหะ แก้เสมหะ เสมหะเฟื่อง และช่วยขับน้ำลาย (เหง้า)[1],[2],[4],[6]
  • ดอกใช้ต้มกับน้ำดื่มหรืออมกลั้วคอ เป็นยาแก้โรคในปาก เช่น ปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากซีด (ดอก)[1],[2],[3],[4],[5]
  • ใบมีรสเย็นเบื่อ ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาฆ่าพยาธิ ฆ่าเชื้อโรคภายใน (ใบ)[1],[2],[4],[6]
  • หลังการคลอดบุตรของสตรี หากมีอาการปวดท้องน้อยหรือตกเลือด ให้ใช้เหง้ากกลังกานำมาฝนใส่เหล้า แล้วนำไปคั่วจนเนื้อยาเป็นสีคล้ำ นำข้าวสาร 1 กำมือ และยาที่คั่วแล้วปริมาณ 60 กรัม ใส่หม้อนำไปต้ม แล้วจึงนำมารับประทานเป็นยารักษา (เหง้า)[3]
  • ลำต้นมีรสจืด ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท่อน้ำดีอักเสบ ช่วยขับน้ำดีให้ตกลำไส้ และเป็นยาทำลายดีอันผูกไว้ซึ่งพิษ (ลำต้น)[1],[3],[6]
  • ใช้เป็นยาแก้ตัวเหลือง ตาเหลือง แก้ดีซ่าน (ทั้งต้น)[3]
  • ใช้เป็นยาแก้พิษงู ด้วยการใช้เหง้ากกลังกาที่แช่เหล้าไว้นาน 2 อาทิตย์ขึ้นไป นำมาล้างแผลที่โดนงูกัดและใช้เหล้าที่ได้จากนี้รับประทานครั้งละ 1 แก้วยา จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดหรือถอนพิษงูได้ชั่วคราว (เหง้า)[3]
  • ใบใช้ตำพอกเป็นยาฆ่าเชื้อโรคหรือพยาธิที่บาดแผล ซึ่งเป็นตัวนำเชื้อโรคทั้งหมด (ใบ)[1],[2],[4],[5],[6]
  • รากใช้ต้มกับน้ำดื่ม หรือตำกับเหล้าคั้นเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ช้ำในและการตกเลือดจากอวัยวะภายใน ช่วยขับเลือดเน่าเสียออกจากร่างกาย (ราก)[1],[2],[3],[4],[6]
  • ใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย (ทั้งต้น)[3]
  • ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม [3] ยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 20-30 กรัม ส่วนยาสดให้ใช้ครั้งละ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือใช้ตำพอกภายนอกตามต้องการ[3]

ประโยชน์ของกกลังกา

  • ในการใช้งานด้านภูมิทัศน์ จะนิยมนำต้นกกลังกามาปลูกไว้เป็นไม้ประดับตามริมสระน้ำในสวนหรือใช้ปลูกในภาชนะร่วมกับไม้น้ำอื่น ๆ[5],[6]
  • ใช้เป็นวัสดุในงานหัตถกรรมพื้นบ้าน[6]
  • การปลูกต้นกกลังกาไว้ริมขอบน้ำจะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อน นอกจากนี้ต้นกกลังกายังมีคุณสมบัติในการช่วยบำบัดน้ำเสียและช่วยปรับสมดุลทางระบบนิเวศวิทยาได้อีกด้วย[6]

สมุนไพรไทย แพทย์แผนไทย สมุนไพรประจำบ้าน ที่คนไทยรู้จักกันดี สรรพคุณเป็นยา รักษาโรคได้ ควรมีติดไว้ประจำบ้าน พืชที่ใช้เป็นยารักษาโรค หรือ เสริมสุขภาพ ช่วยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี การหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรกับชีวิตประจำวัน

สมุนไพรที่ได้จากส่วนของพืชโดยตรง (พืชวัตถุ) โดยส่วนต่างๆ ที่นำมานั้นมีสารที่สามารถใช้เป็นยาได้ ได้แก่ ใบ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด รากหรือหัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้ สมุนไพรที่ได้จากอวัยวะของสัตว์ (สัตว์วัตถุ) ได้แก่ ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ฯลฯ เช่น ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา สมุนไพรที่ได้จากแร่โดยธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆ ตามกรรมวิธี (ธาตุวัตถุ) นำมาใช้เป็นยา  ติดตามได้ที่ doodido

อ้างอิง

  • หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “กกลังกา”.  หน้า 1-2.
  • หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ).  “กกรังกา”.  หน้า 54.
  • หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  “กกลังกา”.  หน้า 16.
  • หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  “กกลังกา (Kok Rang Ka)”.  หน้า 14.
  • ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  “กกลังกา”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : agkc.lib.ku.ac.th.  [11 ก.ค. 2015].
  • โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม.  “กกลังกา”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.kp.ac.th.
  • https://medthai.com/