กระดอม สมุนไพรบำรุงร่างกาย บำรุงโลหิตดับพิษร้อนภายในร่างกาย

SA Game

ภาพจาก https://23a0f012-a-62cb3a1a-s-sites.googlegroups.com/site/phuchsmunphirphunbanphakhhenux/chaphlu/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A1.jpg?attachauth=ANoY7cr0nkUXFiutxhRpyhYP4WQTlClj54PXkFkiix0GmgCQ8zNoTsGKu7i1Nh41r-Kx1xNIjbvmhdAvvwZO5mHt_pEnQgtiqcKsgq7_KH7lqjWQ3ErcHoVpPmZ-79vpe837zTCXDqo5kali87GiNPaoEb-QvhWX1jlM4_F7WQxiglxP5Kynzj8ZQPBszGfabTIfeih2WooMn9FM9bv6N5__0722_WlLXiaskQL1uRpXPYOSlc339CjyWD0QUnZ7fGNGLEAlCGRkzsfjwynV6rH_uI2WVrldzwANBkbToBOBgWSCxVeWWUdwAhSD_LboCOlbxvBUvAGb&attredirects=0

สมุนไพรท้องถิ่น กระดอม บำรุงโลหิตดับพิษร้อนภายในร่างกาย บำรุงธาตุในร่างกาย

กระดอม จัดเป็นไม้เถาเลื้อยลำต้นและมีมือเกาะ มีขน และลำต้นมักเป็นห้าเหลี่ยม มักขึ้นทั่วไปตามที่รกร้าง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดินฟ้าอากาศ ชอบดินร่วนและระบายน้ำได้ดี สมุนไพรกระดอม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขี้กาดง ขี้กาน้อย (สระบุรี), ผักแคบป่า (น่าน), ขี้กาลาย (นครราชสีมา), ดอม (นครศรีธรรมราช), ผักขาว (เชียงใหม่), มะนอยหก มะนอยหกฟ้า (แม่ฮ่องสอน), มะนอยจา (ภาคเหนือ), ขี้กาเหลี่ยม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น

มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย พม่า ศรีลังกา ภูมิภาคมาเลเซีย และภูมิภาคอินโดจีน ส่วนในประเทศเทศไทยนั้นมีการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาค

กระดอม หรือ ลูกกระดอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Gymnopetalum chinensis (Lour.) Merr. (ชื่อพ้อง Gymnopetalum cochinchinense (Lour.) Kurz) จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)

SA Game
ภาพจาก https://www.samunpri.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A1/

ใบกระดอม มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ลักษณะของใบมีรูปร่างแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่เป็นรูปไตไปจนถึงรูปสามเหลี่ยม รูปห้าเหลี่ยม หรือรูปแฉก ใบกว้างประมาณ 3-10 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ

ดอกกระดอม ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน มีใบประดับยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ขอบใบเป็นจักแบบลึกแหลม ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาว ส่วนปลายแยกเป็นแฉกรูปหอก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ มีสีขาว

โคนติดกันเล็กน้อย เกสรตัวผู้มี 3 อัน ส่วนดอกเพศเมียจะออกเป็นเดี่ยว ๆ และกลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ มีรังไข่ช่อเดียว ยอดเกสรตัวเมียแยกเป็น 3 แฉก

ผลกระดอม หรือ ลูกกระดอม ผลมีสีแดงส้ม ผลอ่อนแห้งมีสีน้ำตาล ลักษณะของผลคล้ายรูปกระสวยหรือรูปรี แหลมทั้งหัวและท้าย มีความยาวของผลประมาณ 6 เซนติเมตร และมีเส้นรอบวงราว 5-7 เซนติเมตร ผิวสาก มีสัน 10 สัน เนื้อในผลมีสีน้ำตาล ในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปรีจำนวนมาก ลักษณะเป็นริ้ว ๆ มีสีน้ำตาลไหม้ และมีกลิ่นฉุน[1],[2]

สรรพคุณของกระดอม

  1. ผลใช้ต้มน้ำดื่มช่วยบำรุงโลหิต (ผล)[1]
  2. เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (เมล็ด)[1],[2] หรือจะใช้รากก็ได้เช่นกัน[4]
  3. ช่วยดับพิษโลหิต (ผลอ่อน)[1],[4] บางข้อมูลระบุว่าใช้รากก็ได้[4]
  4. ช่วยดับพิษร้อนภายในร่างกาย[1] ช่วยทำให้โลหิตเย็น (ผลอ่อน)[4]
  5. ช่วยแก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น ด้วยการใช้ผลแห้งประมาณ 15-16 ผล (หนักประมาณ 10 กรัม) นำมาต้มกับน้ำพอประมาณ แล้วเคี่ยวน้ำให้เหลือ 1 ใน 3 แล้วเอามาดื่มก่อนอาหารช่วงเช้าและเย็น หรือในช่วงที่มีอาการไข้ (ผลอ่อน)[1],[4] บางข้อมูลระบุว่ารากก็มีสรรพคุณแก้ไข้ได้เช่นกัน[4]
  6. เมล็ดนำมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้รับประทานเป็นยาลดไข้ (เมล็ด)[1],[2]
  7. ใบกระดอมนำมาคั้นเอาแต่น้ำ ใช้หยอดตาแก้อาการตาอักเสบได้ (ใบ)[4]
  8. ช่วยขับน้ำลาย (เมล็ด)[1],[2],[4]
  9. ผลช่วยแก้อาการสะอึก (ผลอ่อน)[1]
  10. ผลอ่อนช่วยในการเจริญอาหาร (ผลอ่อน)[1]
  11. ช่วยในการย่อยอาหาร (เมล็ด)[1],[2],[4] แต่บางข้อมูลระบุว่าใช้รากก็ได้[4]
  12. เมล็ดช่วยขับน้ำดี (เมล็ด)[1]
  13. ผลอ่อนมีรสขม ช่วยบำรุงน้ำดี (ผลอ่อน)[1],[4]
  14. ช่วยแก้ดีฝ่อ ดีแห้ง อาการคลั่งเพ้อ คุ้มดีคุ้มร้าย (ผลอ่อน)[1],[4]
  15. เมล็ดช่วยรักษาโรคในการแท้งบุตร (เมล็ด[1], ราก[4])
  16. ผลกระดอม สรรพคุณช่วยรักษามดลูกหลังจากการคลอดบุตรหรือแท้งบุตร (ผลอ่อน)[1],[4]
  17. ช่วยบำรุงมดลูก (ผลอ่อน)[1],[4]
  18. ช่วยบำรุงน้ำนมของสตรี (ผลอ่อน)[1]
  19. ช่วยถอนพิษผิด แก้เป็นพิษ (ผลอ่อน)[4]
  20. เมล็ดกระดอมช่วยแก้พิษสำแดง ใช้เป็นยาถอนพิษจากการรับประทานผลไม้ที่เป็นพิษ ใช้ถอนพิษจากพืชมีพิษชนิดต่าง ๆ (เมล็ด)[1],[4]
  21. ใบช่วยแก้พิษบาดทะยัก (ใบ)[4]
  22. ในอินเดียใช้รากกระดอมแห้งที่นำมาบดผสมกับน้ำร้อน ใช้เป็นยาทาถูนวดตามกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดเมื่อย (ราก)[2],[4]
  23. สมุนไพรกระดอมเป็นส่วนประกอบหนึ่งในตำรับยาแก้ไข้จันทน์ลีลา ตำรับยาหอมนวโกฐ และตำรับยาหอมอินทจักร์[1]
  24. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของสมุนไพรกระดอม ช่วยยับยั้งการจับตัวกันของเกล็ดเลือดและช่วยทำให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัว[1]

 ประโยชน์ของกระดอม

  • ผลอ่อนของกระดอมสามารถนำมารับประทานได้ แต่ผลแก่หรือผลสุกห้ามรับประทานเพราะมีพิษ (ผล)[1]
  • ผลนิยมนำมาใช้ทำแกงที่เรียกว่าแกงป่าหรือแกงคั่ว โดยผ่าเอาเมล็ดออกก่อนนำมาใช้แกง หรือจะนำมาใช้ลวกจิ้มกินกับน้ำพริกก็ได้เช่นกัน[4]

สมุนไพรไทย แพทย์แผนไทย สมุนไพรประจำบ้าน ที่คนไทยรู้จักกันดี สรรพคุณเป็นยา รักษาโรคได้ ควรมีติดไว้ประจำบ้าน พืชที่ใช้เป็นยารักษาโรค หรือ เสริมสุขภาพ ช่วยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี การหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรกับชีวิตประจำวัน สมุนไพรที่ได้จากส่วนของพืชโดยตรง (พืชวัตถุ) โดยส่วนต่างๆ ที่นำมานั้นมีสารที่สามารถใช้เป็นยาได้ ได้แก่ ใบ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด รากหรือหัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้ สมุนไพรที่ได้จากอวัยวะของสัตว์ (สัตว์วัตถุ) ได้แก่ ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ฯลฯ เช่น ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา สมุนไพรที่ได้จากแร่โดยธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆ ตามกรรมวิธี (ธาตุวัตถุ) นำมาใช้เป็นยา  ติดตามได้ที่ doodido

อ้างอิง

  • ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com.  [14 ต.ค. 2013].
  • ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data.  [14 ต.ค. 2013].
  • สมุนไพรพื้นบ้าน โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: school.obec.go.th.  [14 ต.ค. 2013].
  • ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.  “ลูกกระดอม”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.m-culture.in.th.  [14 ต.ค. 2013].
  • https://medthai.com/