Internet of things เทคโนโลยีเกษตรทฤษฎีใหม่และ Big Data

WM

ภาพโดย seungwoo yon จาก Pixabay

 เทคโนโลยีเกษตรทฤษฎีใหม่ Internet of things และ Big Data

Internet of things เทคโนโลยีเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อสนับสนุน แนวพระราชดำริ ที่ทรงเน้นในเรื่องของการค้นคว้าทดลอง และวิจัย ในเรื่องแหล่งน้ำ สภาพภูมิอากาศ สภาพดินที่เหมาะสม ตลอดจนหาพันธุ์พืชและสัตว์ต่าง ๆ โดยสถานีวิจัยในโครงการพระราชดำริกระจายอยู่ภูมิภาค ต่าง ๆ ของประเทศ อย่างมากมาย โดยพระองค์ทรงเน้นให้ลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เพื่อลดความเสียหาย จากปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากดิน ฟ้า อากาศ และตลาด

“แนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่” คือการมุ่งใช้ประโยชน์สูงสุดของพื้นที่และผสานเทคโนโลยี นวัตกรรมง่าย ๆ ที่อาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนการวิเคราะห์จัดเก็บข้อมูลการเพาะปลูก ทั้งดิน น้ำ อากาศ ปัญหาโรคและศัตรูพืช นำมาประมวลผล เพื่อวางแผนการผลิตที่เหมาะสม

ดังนั้น การนำเทคโนโลยีอย่าง  Internet of things(IoT) และ Big Data เข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้เกษตรกรมีข้อมูล เพื่อการวางแผนเพาะปลูกล่วงหน้า ช่วยเพิ่มผลผลิต และประหยัด ต้นทุน ทำให้เกษตรกรไม่ต้อง ทำการเกษตรแบบ พึ่งพาความไม่แน่นอนของธรรมชาติ

ประเทศไทยกำลังถูกท้าทาย จากปัญหาแรงงานภาคการเกษตร ทำให้พืชผลทางการเกษตรอาจไม่เพียงพอต่อการบริโภคในอนาคต อ้างอิงจากรายงานของแบงค์ชาติ ประเทศไทยกำลังขาดแคลนแรงงาน ภาคการเกษตรอย่างหนัก เกษตรกรชาวไทยลดลงถึงปีละ 4 แสนคน และอายุเฉลี่ยยังมากขึ้นด้วยเรียกได้ว่าเป็นวิกฤติของวงการเกษตรไทย ก็ได้ เพราะคนรุ่นใหม่ไม่นิยมทำอาชีพเกษตรแบบดั่งเดิมอีกแล้ว

จำนวนเกษตรกรที่ลดลง ส่งพลกระทบต่อ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ (Food Security) และอุตสาหกรรมเกษตร ในระยะยาวอย่างแน่นอน เนื่องจากการผลิตวัตถุดิบทางด้านอาหารมีน้อย ย่อมส่งผลให้ราคา ขยับตัวสุงขึ้นอย่างแน่นอน และการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพดี

ยิ่งทำได้ลำบากขึ้น โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่าปริมาณอาหารของโลกควรเพิ่มขึ้นราว 70 เปอร์เซ็นให้ทันกับประชากรโลกที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 9,600 ล้านคนภายในปี 2050 โดยเฉพาะประเทศแถบแอฟริกาใต้ เอเชียและเอเชียตะวันออก

WM
ภาพโดย wurliburli จาก Pixabay

ปัญหาดั้งเดิมที่ทำให้คนรุ่นใหม่ ไม่อยากเป็นเกษตรกร ไม่ได้แต่ต่างจากในอดีต นั้น คือ หนัก เหนื่อย ยุ่งยาก และ คาดเดาผลผลิตไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่อง ต้นทุนการผลิต การขาดแคลนแหล่งน้ำ ดินที่เพาะปลูกไม่เหมาะสมกับพืช และการดูแลผลผลิต เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

จากการประเมิน ของ แบงค์ชาติ พบว่า รายได้ของเกษตรกรไทย คิดเป็น 9 เปอร์เซ็นต์ ของประเทศ นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับฉายา ‘อู่ข้าวอู่น้ำ’ ที่เรา ภูมิใจมาอย่างช้านาน

เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง นั้นได้พัฒนามาจนถึงการเกษตร และนำพาการเกษตรก้าวเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรอย่างเต็มรูปแบบ เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาทางการเกษตรไปแล้วก็ได้

เกษตรยุคสมัยใหม่ สามารถทำได้เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัสปลอดสารเคมี สามารถควบคุมความชื้นในดิน ควบคุมอากาศ ควบคุมแสงและ ควบคุมปริมาณการผลิตด้วยก็ว่าได้  ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพและปริมาณเพิ่มขึ้น เราเรียก สิ่งนี้ว่า “Internet of things” หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า IOT

ปัจจุบัน IOT ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ในการเพาะปลูกพืช แบบเกษตรโรงเรือน โดยอุปกรณ์ที่ใช้ทั้งหมดจะถูกเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่น ที่ใช้ในการแสดงผล และเก็บข้อมูล และทำการเกษตรได้อย่างแม่นยำ และสิ่งนี้กลายเป็นแรงดึงดูดสำคัญให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจการทำเกษตรมากขึ้น

มันคือจุดเริ่มต้นของการ ‘กลับบ้าน’ เพื่อเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ นำองค์ความรู้ใหม่ ๆ ไปต่อยอดองค์ความรู้การทำเกษตรจากคนรุ่นเก่า ลดช่องว่างระหว่างภาคเกษตรและภาคสังคมลงได้

ทั้งนี้บริษัท ดีแทค ค่ายมือถือในไทยได้มีการพัฒนาและส่งเสริมให้ คนรุ่นใหม่มุ่งหน้าไปทำการเกษตรที่บ้านเกิดแทนการ เข้ามาหางานทำในเมือง  โดยใช้ชื่อว่า “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” โดยมีการนำร่องทดลองที่ฟาร์มแตะขอบฟ้า จังหวัดสุพรรณบุรี ของคุณปิยะ กิจประสงค์ ที่ผันตัวจากพนักงานออฟฟิศ สู่การ “กลับบ้าน” เพื่อทำการเกษตร

เทคโนโลยี “Internet of things” สามารถเชื่อมโยง กับ ข้อมูลขนาดมหาศาล (Big Data) ที่มีการเก็บบันทึก ไว้เพื่อนำมาวิเคราะห์ และสร้างประโยชน์อย่างมหาศาล มันถูกจัดให้เป็น เทคโนโลยีที่จะนำการเกษตรกว้าไปไกลในอนาคตอันใกล้นี้

เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) คือ การนำระบบเซนเซอร์ มาติดตั้งไว้ตามจุดต่าง ๆ ในแปลงเกษตร เพื่อดูแลทุกกระบวนการผลิตอย่างแม่นยำ ตั้งแต่เริ่มหว่านเมล็ด รดน้ำ ให้ปุ๋ย การเก็บเกี่ยวและคัดเลือกผลผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด ภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสมที่สุด

เทคโนโลยีนี้จะคอยวัด ตรวจสอบ และเก็บค่า ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูก เช่น ความชื้นในอากาศ อุณหูภูมิ ปริมาณน้ำฝน ความชื้นในดิน แมลงศัตรูพืชแล้วนำข้อมูลที่ได้ส่งไปยัง สมาร์ทโฟน หรือ แทบเล็ต ของเจ้าของสวน เพื่อประเมินได้ถูกว่าควรทำอะไรต่อ

ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เกษตรกร มีข้อมูลที่แม่นยำในการวางแผนเพาะปลูกล่วงหน้า ป้องกันหรือลดความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ยังช่วยให้เกษตรกรลดการใช้น้ำ ใช้ปุ๋ย หรือสารเคมีที่ไม่จำเป็นลง เหมือนกับ “FITBIT ของแปลงเกษตร”

การทำเกษตรดั้งเดิมเกษตรกรต้องใช้พื้นที่ จำนวนมากในการเพาะปลูก และไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับสภาพ ดิน ฟ้า อากาศ และ ฝน ได้ ทำให้ต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นในการสร้างผลผลิตในแต่ละครั้ง

รวมถึงความเสียหายที่เกิดจากธรรมชาติ ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ในแต่ละปี เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้การใช้พื้นที่เกษตรลดลง แต่ได้ผลผลิตเท่ากับ หรือมากกว่า พื้นที่แปลงใหญ่ เทคโนโลยีอัจฉริยะนี้ จะช่วยให้เกษตรกรทำงานง่ายขึ้น และพลิกโฉมการทำเกษตรแบบดั้งเดิม เปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคสมัยของ เกษตรยุคดิจิทัล หรือเกษตรอัจฉริยะ

ในเมืองไทย บริษัท Huawei ได้พัฒนาแนวคิดเกษตรอัจฉริยะ ร่วมกับบริษัท Pessl ประเทศออสเตรีย เพื่อนำมาช่วยเหลือเกษตรกรไทย โดย ได้มีการนำเทคโนโลยีนี้มาทดลองใช้ใน เกษตรแม่นยำสูง (Smart Agriculture) บ้างแล้วที่ จังหวัดจันทบุรี โดยมีการเก็บข้อมูล 2 ส่วนหลักๆ คือ

  1. Weather Station หรือเครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นที่
  2. เครื่องวัดความชื้นของพื้นดิน ราก และพืช

ข้อมูลส่วนที่เก็บมาได้แบบ Real-time จะถูกส่งไปที่โทรศัพท์มือถือของเกษตรกร โดยมีแอพพลิเคชั่นเป็นตัวกลาง หากเทคโนโลยีนี้ ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในอนาคต เกษตรกรไทยจะสามารถทำการเกษตรได้มีประสิทธิภาพและแม่นยำขึ้น สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ประเมิน และวางแผน ได้อย่างเป็นระบบไม่ต้องกังวลเรื่องฟ้าดิน อากาศ

ผู้บริโภคเองได้บริโภคผลผลิตการเกษตรที่มีคุณภาพ ปลอดสารเคมี และยาฆ่าแมลง ลดการบุกรุกพื้นที่ป่า และใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลง แต่ได้ผลผลิตมากขึ้นหรือเท่าแปลงใหญ่

เกษตร และ บทวิเคราะห์ เทคโนโลยีทางการเกษตร ตลาดขายพืชผลทางการเกษตร ผลกระทบทางการเกษตร งบประมาณและนโยบายรัฐเพื่อการเกษตร และการส่งออกพืชผลทางการเกษตร ที่ได้รับความสนใจ ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา : thematter