8 อาหารที่เหมาะจะเป็น “อาหารมื้อแรก” สำหรับลูกน้อย

WM

คุณแม่สามารถปรับบเปลี่ยนอาหารให้หลากหลายขึ้นในแต่ละมื้อตามช่วงวัยที่เหมาะสม

อีกหนึ่งสิ่งที่จะเป็นเรื่องที่ทำให้แม่ ๆ ทั้งหลายต้องตื่นเต้นก็คือ เมื่อลูกน้อยของคุณแม่ก้าวเข้าสู่วัย 6 เดือน เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม ที่คุณแม่จะเริ่มป้อนอาหารอื่นที่นอกเหนือจากนมแม่ให้ คุณแม่หลายคนอาจกำลังกังวลใจว่าจะให้ลูกทานอะไรเป็นเมนูแรก เพราะเจ้าหนูเตรียพร้อมเปิดรับแล้ว ซึ่งคุณแม่ต้องเริ่มใส่ใจ และให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารเพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการรับประทานอาหารของลูกน้อยค่ะ

เมื่อลูกเข้าสู่วัย 6 เดือนขึ้นไป เป็นเวลาที่ต้องเริ่มหัดให้เบบี๋ได้หม่ำๆ อาหารเสริมเพื่อเป็นส่วนเติมเต็มพัฒนาการ เสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกายลูก นอกจากนมแม่ คุณแม่หลายคนอาจจะลังเลว่า ควรป้อนอะไรให้เขาดีเป็นมื้อแรก เรามีหลากหลายไอเดียเกี่ยวกับอาหารมื้อแรก ให้คุณแม่เตรียมพร้อมนำไปเสิร์ฟให้ลูกน้อยกันค่ะ สำหรับการป้อนอาหารให้เจ้าหนู คุณแม่ต้องใจเย็นๆ พอๆ กับการพิถีพิถันเรื่องการทำอาหารให้ลูก เพราะเด็กแต่ละคนมีพฤติกรรมการกินแตกต่างกัน บางคนกินเก่ง กินเร็ว แต่บางคนก็กินช้า และกินยาก จึงเป็นหน้าที่คุณแม่ ที่ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมของลูก บางทีต้องป้อนนานกว่าจะยอมกิน หรือลูกไม่ยอมกิน อาจจะเป็นเพราะไม่ชอบอาหารนั้น หรืออาจจะยังไม่หิวจริงๆ ซึ่งคุณแม่สามารถปรับบเปลี่ยนอาหารให้หลากหลายขึ้นในแต่ละมื้อตามช่วงวัยที่เหมาะสม

WM
ขอบคุณภาพจาก : https://www.freepik.com/jcomp

1.ข้าว
ข้าวไทยจัดเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับทารกมากที่สุด เพราะมีโปรตีนที่ทำให้ลูกน้อยเกิดอาการแพ้ย้อยกว่าพืชที่นิยมในประเทศแถบตะวันตก เช่น ข้าวสาลี ซึ่งข้าวบ้านเรามีให้เลือกหลากหลาย เช่นข้าวกล้อง ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวกล้องงอก ข้าวมันปู ซึ่งคุณแม่สามารถนำมาบดละเอียด ผสมกับอาหารอื่นๆ เพื่อป้อนเจ้าหนูวัยหัดหม่ำได้เลยค่ะ

2.น้ำผลไม้
เด็กๆ ควรได้รับน้ำผลไม้ แต่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงน้ำผลไม้แปรรูป อย่างน้ำผลไม้สำเร็จรูปนะคะ เพราะถึงแม้จะเป็นน้ำผลไม้ร้อยเปอร์เซ็น แต่ก็จะมีสารกันบูดผสมอยู่ด้วย ไม่ปลอดภัยต่อเจ้าหนูแน่นอน สู้คุณแม่คั้นน้ำผลไม้สด ให้ลูกดื่มจะได้รับวิตามินเต็มที่มากกว่าค่ะ

3.ซุปผัก ซุปกระดูก
ซุปเป็นสุดยอดอาหารของเด็กทุกช่วงวัย เพราะรับประทานง่าย ย่อยง่าย และป้องกันการขาดน้ำ สำหรับเด็กที่ดื่มน้ำน้อยอีกด้วยค่ะ และเรายังสามารถนำผักหรือเนื้อสัตว์ต่างๆ ที่เจ้าหนูยังเคี้ยวไม่ได้ มาต้มเพื่อให้ได้รับสารอาหารจากน้ำต้มซุปเหล่านั้นด้วยนะคะ

4.พืชตระกูลถั่ว และเมล็ดธัญพืช
อาหารกลุ่มนี้มีโปรตีนสูง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ ลูกเดือย การนำมาให้ลูกน้อยรับประทาน ต้องบดอย่างละเอียด และระมัดระวังเรื่องอาการแพ้ของลูก เพราะเป็นกลุ่มอาหารที่เด็กบางคนเกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน หากพบว่าลูกแพ้ธัญพืชชนิดนึง ชนิดอื่นๆ ก็ควรตรวจสอบก่อนด้วยนะคะ

5.ผัก
ขาดไม่ได้เลยก็คือผักต่างๆ เพราะอุดมไปด้วย วิตามินและเกลือแร่ คุณแม่อาจเริ่มด้วยการนึ่งและบดผสมในอาหาร และควรส่งเสริมให้ลูกรับประทานผักเป็นนิสัยตั้งแต่เริ่มต้น ที่สำคัญ คุณแม่ควรเลือกผักปลอดสารพิษ และล้างผักด้วยเกลือ หรือแบคกิ้งโซดา และล้างน้ำสะอาดหลายๆ รอบ ก่อนนำมาทำอาหารให้ลูกนะคะ ผักที่แนะนำสำหรับเจ้าหนูวัยเริ่มกิน ก็เช่น ตำลึง แครอท ฟักทอง ผักบุ้ง แตงกวา ฟักทอง ฟักเขียว ผักกาดขาว เห็ด หอมหัวใหญ่ บล็อกรี่ เป็นต้น

WM
ขอบคุณภาพจาก : https://www.freepik.com/lifeforstock

6.ผลไม้
ผลไม้เนื้อนิ่มต่างๆ เป็นเมนูยอดฮิตสำหรับเจ้าหนูวัย 6 เดือนขึ้นไป แต่งต้องระวังความหวานที่มากเกินไปของผลไม้ อาจทำให้ลูกติดรสหวานจนไม่ทานอย่างอื่นนะคะ ที่นินมนำมาครูดให้เจ้าหนูกินกัน ก็จะมี กล้วยน้ำว้า ม่ะวงสุก มะละกอสุก อะโวคาโด้ ถ้หากเป็นผลไม้เนื้อแข็ง อย่างแอ้ปเปิ้ล สาลี่ ลูกแพร์ ควรเริ่มด้วยการนำไปปั่นละเอียด แต่ถ้หากเริ่มมีฟันแล้ว ก็ลองทำเป็นชิ้นเล็กๆ ให้ลูกรัปประทานได้เลย

7.ไข่
เป็นอาหารที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับเด็กๆ เพราะไข่อุดมไปด้วยโปรตีนและวิตามิน ที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายลูกน้อย โดยเฉพาะระบบกระดูก ควรเริ่มให้รับประทานไข่แดงตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป และเริ่มให้ทานไข่ขาวเมื่อ 12 เดือนขึ้นไป เพราะเด็กอาจเสี่ยงจากการแพ้โปรตีนในไข่ขาวได้ค่ะ

8.เนื้อสัตว์
แน่นอนว่าเนื้อสัตว์อุดมไปด้วยโปรตีน แต่ควรเริ่มให้ลูกทานทีละน้อย และเริ่มเมื่ออายุ 8 เดือนขึ้นไป เพราะเนื้อสัตว์มักจะย่อยยาก แต่ที่ย่อยง่ายที่สุดก็จะเป็นพวกเนื้อปลา สามารถให้ทานปลาน้ำจืดตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป แต่ควรเริ่มปลาทะเลเมื่ออายุ 12 เดือน เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้อาหารทะเลที่อาจเกิดขึ้นได้ในเด็ก

และทั้งหมดนี้ก็เป็นเมนูอาหารที่เหมาะสำหรับลูกน้อยวัย 6 เดือนที่เริ่มหัดทานอาหารมื้อแรกค่ะ DooDiDo แนะนำว่าว่าลูก ๆ ควรได้รับอาหาร 1-2 มื้อเมื่อมีอายุ 6-8 เดือน และเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 2-3 มื้อเมื่อมีอายุ 9-11 เดือน เพราะว่า ช่วง 6 เดือนแรก ลูกจะได้รับสารอาหารพอเพียงจากนมแม่ หลังจากนั้นเจ้าตัวเล็กจำเป็นต้องได้รับพลังงาน และสารอาหารบางชนิดเพิ่มเติมจากอาหารตามวัยค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : https://momandbaby.net