8 สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกน้อยของคุณพร้อมหย่านมแล้ว

WM

“การหย่านมแม่” ตามธรรมชาติเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 6 เดือน

คุณแม่หลายคนวางแผนที่จะให้ลูกน้อยดื่มนมจากเต้าให้นานที่สุด ซึ่งคุณแม่หลายท่านมักจะมีคำถามอยู่เสมอว่าควรให้ลูกหยุดทานนมแม่เมื่อไหร่ดี ช่วงเวลาไหนเป็นเวลาที่ลูกพร้อมที่จะหย่านม เพราะการหย่านมนั้นไม่เพียงแต่สร้างผลกระทบต่อจิตใจของลูกเท่านั้น ยังมีผลต่อความรู้สึกของคุณแม่เพราะทำให้สูญเสียความใกล้ชิดกับลูกน้อยไปอีกด้วย แถมคุณแม่ยังต้องกังวลว่าเมื่อหย่านมแล้ว ลูกจะไม่ได้รับสารอาหารครบถ้วน

ตามปกติแล้ว การหย่านมแม่ตามธรรมชาติเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 6 เดือน เมื่อเริ่มป้อนอาหารตามวัย อาหารจะมาแทนที่นมทีละมื้อ เต้านมแม่ก็จะผลิตน้อยลงตามความต้องการของลูก เป็นการหย่านมแบบค่อยเป็นค่อยไป ทำให้มีการปรับตัวทั้งแม่และลูก ลูกก็ไม่ร้องไห้ แม่ก็ไม่ลำบากคัดเต้า ดังนั้น จึงไม่มีคำตอบที่ตายตัว ว่าลูกควรหย่านมเมื่อไร ตราบใดที่ยังมีน้ำนม ลูกยังได้รับคุณประโยชน์ของนมแม่อย่างเต็มที่ และถึงแม้ไม่มีน้ำนม การได้ดูดนมแม่ก็ยังให้ความสุขทางจิตใจต่อลูก แต่ทั้งนี้ทั้นนั้น หากคุณแม่ต้องการให้ลูกหย่านม หรืออยากรู้ว่าลูกพร้อมหย่านมแล้วหรือยัง สามารถสังเกตพฤติกรรมได้ดังนี้

WM
ขอบคุณภาพจาก : https://www.freepik.com/gpointstudio

สัญญาณบ่งบอกว่าลูกพร้อมแล้วที่จะ “หย่านม”
1. ดูเหมือนไม่สนใจที่จะดูดนมอย่างจริงจัง และหิวมากกว่าปกติ
2. แสดงความสนใจอาหารของคุณ
3. ทำท่าเคี้ยว
4. สามารถงับช้อนได้
5. ชันคอได้ดี
6. สามารถนั่งหลังตรงได้โดยไม่ต้องมีคนประคอง
7. สามารถแลบลิ้นและหดลิ้นได้
8. ฟันน้ำนมซี่เล็ก ๆ เริ่มงอก

WM
ขอบคุณภาพจาก : https://www.freepik.com/freepic-diller

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ เมื่อถึงเวลา “ลูกหย่านม”
– คุณแม่ควรให้ลูกหย่านมเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม และลูกพร้อมที่จะหย่านม
– หากคุณแม่ยังมีปริมาณน้ำนมค่อนข้างมาก ควรค่อยๆ ลดจำนวนครั้งการดูดลงเรื่อยๆ อย่าหยุดทันที เพราะจะทำให้เกิดปัญหาเต้านมคัดและอักเสบตามมา หากจำเป็นต้องหยุดให้นมทันทีควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาหยุดน้ำนม (Parlodel)- การหยุดแบบค่อยเป็นค่อยไป ทำได้โดยให้ลดการดูด 1 ครั้ง ทุก ๆ 3-4 วัน โดยให้ลูกดูดจากขวดหรือถ้วยแทน หากปวดเต้า อาจบีบน้ำนมออกบางส่วนให้หายปวด อย่าปั๊มจนเกลี้ยงเต้า ประคบเย็นบ่อย ๆ ใส่เสื้อชั้นในรัดกว่าปกติ
– ให้ลูกกินนมเฉพาะมื้อที่ลูกขอ สลับกับนมขวด การหย่านมไม่ได้แปลว่าลูกจะไม่ได้รับการดูดนมแม่อีกเลย เพราะแบบนั้นอาจเป็นการทำร้ายจิตใจลูกเกินไป คุณแม่ควรผ่อนผันปรนให้ลูกไม่รู้สึกกดดัน
– หากิจกรรมให้ลูกทำ ดึงดูดความสนใจเขาด้วยวิธีอื่น เพื่อเบี่ยงเบนการมาขอกินนม

สิ่งสำคัญที่สุด คือ ความอดทน การหย่านมในช่วงแรกลูกอาจงอแงมากกว่าปกติ คุณแม่ต้องอดทนและใจแข็ง อย่าดุหรือใส่อารมณ์กับลูก กอดเขา เพื่อให้ลูกรู้ว่าความอบอุ่นจากแม่ไม่ได้มีแค่วิธีเดียว ซึ่งหลังจากลูกอายุ 2 ปี และกินอาหารเสริมเป็นมื้อหลักแทนนมแล้ว ลูกจากค่อยๆ หย่านมไปได้เอง

จากข้อมูลที่ DooDiDo นำมาฝากคุณแม่ในวันนี้ ต้องขอบอกว่าจะเริ่มหย่านมเมื่อไรดีนั้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมทางกายและใจของคุณแม่และลูกค่ะ โดยตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป เด็กจะเริ่มทานอาหาร ได้ 1-2 มื้อ หากลูกของคุณแม่ชอบทานอาหารมากกว่าทานนมและเริ่มลดปริมาณนมที่ทานในแต่ละมื้อลงเองแสดงว่าเด็กเริ่มที่จะหย่านมขวดหรือนมแม่ได้แล้วค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : https://happymom.in.th