7 วิธีรับมือกับ “อาการแพ้ท้อง” ที่คุณแมตั้งครรภ์ห้ามพลาด!

WM

ส่วยใหญ่อาการแพ้ท้องจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์

เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ ร่างกายและฮอร์โมนจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาการแพ้ท้องเกิดจากระดับฮอร์โมนที่ชื่อว่า “HCG” (Human Chorionic Gonadotropin) ในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้คุณแม่เกิดความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ จึงเป็นเรื่องปกติที่คุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรกจะมีอาการเวียนหัว คลื่นไส้อยู่เป็นประจำ วันนี้เราจะพาคุณแม่มาดูวิธีรับมือกับ “อาการแพ้ท้อง” กันค่ะ

อาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ เป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งเริ่มจากมีอาการวิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน เหม็นกลิ่นอาหาร โดยส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ จะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ หรือประมาณ 6 สัปดาห์นับจากการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นจะค่อย ๆ ดีขึ้น เมื่อข้ามผ่าน 3 เดือนไปแล้ว

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@enginakyurt

1.ดื่มน้ำเยอะๆ (ดื่มเป็นสองเท่ากว่าปกติ)
การดื่มน้ำมาก ๆ สามารถช่วยป้องกันอาการเหนื่อยล้า อาการบวม และอาการวิงเวียนศีรษะได้เป็นอย่างดี คุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้องควรดื่มน้ำให้มากขึ้นหรืออาจจะดื่มน้ำผลไม้เพิ่มไปก็ได้เช่นกันค่ะ ซึ่งของเหลวเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องลงได้ แถมลูกในครรภ์ยังได้รับประโยชน์จากน้ำที่คุณแม่ดื่มเข้าไปอีกด้วย เพราะน้ำสามารถช่วยให้ร่างกายของลูกน้อยดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นสู่เซลล์ ลำเลียงวิตามิน แร่ธาตุและฮอร์โมนให้กับเซลล์เม็ดเลือด ซึ่งจะส่งผ่านทางรกให้กับลูกในครรภ์ได้ดีขึ้น

2.การทานอาหาร
อาหารรวมทั้งเครื่องดื่มหลายประเภทช่วยให้คุณแม่สบายตัวขึ้น แต่ก็มีอาหารบางอย่างที่ควรหลีกเลี่ยง
– เครื่องดื่มพวกชาสมุนไพรเพิ่มความสดชื่น อย่างชาขิง หรือน้ำขิงสด
– เปลี่ยนเป็นอาหารมื้อย่อย ๆ ทุก 2-3 ชั่วโมงแทนอาหารมื้อใหญ่วันละ 3 มื้อ
– เลือกอาหารย่อยง่าย เพื่อป้องกันท้องอืดแน่นท้อง
– อาหารประเภทโปรตีนจะช่วยลดอาการแพ้ท้องได้ เช่น เนื้อสัตว์ ไขมันต่ำ อาหารทะเล ไข่ ฯลฯ หาของขบเคี้ยวประเภทโปรตีนติดบ้านไว้ เช่น ถั่วเปลือกแข็ง หรือถั่วสีเขียว
– ทานขนมขบเคี้ยวที่ไม่หวานเพื่อแก้อาการวิงเวียน คลื่นไส้ เช่นบิสกิตหรือขนมปังกรอบ
– เมื่อนึกอยากอาหารรสเปรี้ยวให้เลือกยำ สลัด หรือผลไม้สดแทนของดอง
– เลี่ยงอาหารมัน ๆ หรือรสเผ็ดจัด เพราะความเลี่ยนและความร้อนจะกระตุ้นอาการ ส่วนอาหารเย็นๆ จะช่วยลดอาการแพ้ท้องได้ดี
– พยายามอย่าดื่มน้ำระหว่างมื้ออาหาร ดื่มน้ำทีละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ ตลอดวันเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดน้ำ
– อย่าอดอาหารและอย่าปล่อยให้ท้องว่าง หากปล่อยให้ท้องว่างร่างกายก็จะอ่อนล้า ไม่สามารถสู้กับอาการแพ้ท้องได้

3.ทำให้สบายตัวไว้ก่อน
คุณแม่ที่กำลังอยู่ในช่วงแพ้ท้องจะเกิดความไม่สบายตัวได้ง่าย โดยเฉพาะความร้อนจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้วิงเวียน หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีอากาศร้อน ถ้าต้องเดินออกไปทานข้าวกลางวัน ต้องพยายามหลีกเลี่ยงแสงแดด เลือกร้านที่สามารถเดินหลบแดดใต้ชายคา หรือพกร่มและพัดติดตัวไปด้วย
– สวมใส่เสื้อผ้าสบายตัวเนื้อผ้าระบายอากาศดี
– ลดสัมภาระในกระเป๋าให้เหลือแต่ของจำเป็นเท่านั้น จะได้ไม่ต้องเหนื่อยจากการแบกน้ำหนักระหว่างเดินทาง
– หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ท้อง ถ้าเลี่ยงไม่ได้ใช้ผ้าปิดปาก เพื่อให้ได้กลิ่นต่างๆ น้อยลง อมลูกอมหรือสูดยาดมให้ชื่นใจ
– แนะนำให้คุณแม่สร้างบรรยากาศภายในบ้านเปิดประตูหน้าต่างเพื่อช่วยให้อากาศถ่ายเทสะดวก และระบายกลิ่นอับออกไป ปรับมุมนั่งเล่นให้เห็นสวนข้างบ้าน เพื่อให้รู้สึกสดชื่นอยู่เสมอ
– เวลาทำกับข้าว หรือกนิอาหารเสร็จแล้วอย่าลืมเปิดพัดลมระบายอากาศกำจัดกลิ่น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/claudio_scott-4913238/

4.พักผ่อนให้เพียงพอ
สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั้น ร่างกายจะมีอาการอ่อนเพลียมากกว่าปกติ จะมีความรู้สึกว่าต้องการพักผ่อน เพื่อให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานอย่างเป็นสมดุล การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ นอกจากร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์จะรู้สึกอ่อนเพลียแล้ว อาจส่งผลต่ออาการแพ้ท้องที่รุนแรงได้ การนอนไม่เพียงพอ ยิ่งทำให้รู้สึกเวียนหัว เหนื่อยง่าย และกระตุ้นการอาเจียนง่ายขึ้น ถ้าจะให้ดีแนะนำให้คุณแม่นอนตั้งแต่หัวค่ำดีที่สุดค่ะ และหาเวลาพักผ่านช่วงกลางวันบ้าง เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนเต็มที่ ลดอาการเวียนหัว ปรับสมดุลของฮอร์โมนให้เป็นปกติ

5.การเดิน
คุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์หลายๆคนอาจจะไม่เชื่อว่าการเดินจะสามารถช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องได้แต่ผลการวิจัยของชาวอเมริกันได้พบว่าการที่คุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์และมีลักษณะการแพ้ท้องนั้นการเดินจะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้และ ช่วยลดอาการจุกเสียดต่างๆที่เกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์

6.ฝึกสมาธิ ผ่อนคลายความเครียด
ความเครียดเป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้คุณแม่เกิดอาการแพ้ท้อง ซึ่งการนั่งสมาธิสามารถช่วยลดความกังวล ลดความเครียดของคุณแม่ลงได้ คุณแม่ควรหาเวลาทำจิตใจให้สงบ ทุกเช้าควรนั่งสมาธิ เพื่อปรับสมดุลในร่างกาย และปรับสภาพจิตใจให้สู่กับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ภายในร่างกาย จงคิดไว้เสมอว่ายังมีชีวิตน้อยๆ ที่คุณแม่ยังต้องค่อยปกป้องอยู่อีกคน อย่าย่อมแพ้เพียงแค่อาการเล็กๆ น้อยๆ เพราะมันเทียบไม่ได้เลยกับความสุขที่คุณแม่จะได้พบเมื่อครบกำหนดคลอด และได้เห็นหน้าลูกเป็นครั้งแรก

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/stevepb-282134/

7.วิตามินอาหารเสริม
– วิตามินบี 6 และธาตุสังกะสีจะช่วยลดอาการแพ้ท้องได้ อาจขอจากคุณหมอหรือทานอาหารที่มีวิตามินบี 6 มาก เช่น เนื้อหมู ข้าวกล้อง ไข่ ปลา กล้วย ฯลฯ
และอาหารที่มีสังกะสีมาก เช่น นม เนื้อสัตว์ ตับ ไข่ ปลา ปู กุ้ง หอย ถั่ว และข้าวโพดฯลฯ ปรึกษาคุณหมอว่าควรทานFolic Acid (กรดโฟลิค)หรือเปล่า
– ถ้าธาตุเหล็กเม็ดที่ได้จากคุณหมอทำให้มีอาการคลื่นไส้ ลองขอเปลี่ยนเป็นแบบอื่นแทน

ทั้ง 7 วิธีที่ DooDiDo นำมาฝากคุณแม่ตั้งครรภ์ในวันนี้ เป็นวิธีที่จะช่วยให้คุณแม่ได้รับมือกับอาการแพ้ท้องที่จะเกิดขึ้นได้ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ค่ะ คุณแม่ต้องทำความเข้าใจและหาวิธีผ่อนคลาย พยายามอย่าเครียด อย่ากังวลกับอาการที่จะเกิดขึ้นนะคะ ดูแลตัวเองให้ดี พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ หากิจกรรมที่ทำแล้วช่วยให้จิตใจผ่อนคลาย เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์มีพัฒนาการที่ดีสมบูรณ์แข็งแรงตลอดการตั้งครรภ์ไปจนถึงคลอดนั่นเองค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.punnita.com