5 วิธีตัวช่วยเปลี่ยนนิสัยไม่ให้ลูกเป็นเด็กขี้เกียจ!!

WM

การเป็นเด็กเกียจคร้านจะทำให้เด็ก ๆ พลาดโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ

พ่อแม่ทุกคนคงไม่ต้องการให้ลุกของเราเป็นเด็กขี้เกียจใช่ไหมคะ เพราะการเป็นเด็กเกียจคร้านจะทำให้เด็ก ๆ พลาดโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และพลาดโอกาสดี ๆ ในชีวิตได้ การที่ลูกไม่ยอมทำอะไรตามที่บอก ชอบนอน เล่นแต่เกมส์ทั้งวัน มีผลต่อการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ในชีวิต วันนี้เรามีวิธีที่ช่วยปรับเปลี่ยนนิสัย ไม่ให้ลูกกลายเป็นเด็กขี้เกียจมาฝาก เพื่อเป็นตัวช่ยให้ลูกได้ปรับเปลี่ยนนิสัยให้ดีขึ้นค่ะ

เวลาบอกลูกให้ทำอะไรแล้วลูกไม่ยอมทำตาม พ่อแม่อาจมองว่าลูกเป็นเด็กขี้เกียจ แล้วทำให้หงุดหงิดลูกไปเลย จริง ๆ ที่ลูกไม่ยอมทำตาม ไม่ได้แปลว่าลูกขี้เกียจ แต่เป็นพัฒนาการตามวัย เป็นพฤติกรรมปกติที่เจอได้ในวัย 3-6 ปีค่ะ แต่ว่าถ้าปล่อยให้ลูกเป็นเด็กขี้เกียจจนเคยตัว นานวันเข้าอาจทำให้ลูกเป็นเด็กขี้เกียจจริงๆ ก็ได้ เรามาหาทางแก้ไขกันเถอะค่ะกับ 6 วิธีเปลี่ยนนิสัยก่อนลูกจะกลายเป็นเด็กขี้เกียจดังนี้ค่ะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@hellosmith

1. ทำให้เป็นเรื่องสนุก
ไม่ว่ากิจกรรมนั้นจะเป็นอะไร ควรเน้นให้ลูกรู้สึกสนุก หรืออยากทำด้วยตัวเองก่อนบังคับ เช่น แม่อาจจะพูดว่า “เรามาเล่นเกมแข่งเก็บของเล่นดีกว่า ดูซิว่าใครจะเก็บของเล่นได้เก่งที่สุด” ควรพูดด้วยท่าทีและน้ำเสียงที่เชื้อเชิญดูน่าสนใจ น่าสนุก การพูดเพียงเท่านี้เด็กก็ยอมทำแล้ว เพราะเขาเห็นว่าเป็นการเล่น ไม่ใช่เป็นกิจกรรมน่าเบื่อที่ต้องทำตามผู้ใหญ่สั่ง

2. เมื่อทำดีก็ต้องชม
เมื่อลูกทำพฤติกรรมที่ดีด้วยตัวเอง เช่น เล่นของเล่นแล้วเก็บเข้าที่โดยที่ไม่ต้องบอก อย่าลืมชมลูกด้วยเพื่อลูกจะได้มีกำลังใจ

3. ใจเย็น ตั้งสติ มองข้ามท่าทีที่ลูกไม่เชื่อฟัง
ไม่ต้องสนใจกับคำว่า “ไม่” หรือพฤติกรรมที่ลูกทำ แต่จัดการด้วยท่าทีที่สงบ เช่น เมื่อบอกให้ลูกไปอาบน้ำ แต่ลูกตอบกลับมาว่า“ไม่” พ่อแม่ควรบอกว่า “แม่รู้ว่าหนูไม่อยากอาบน้ำ แต่ถึงเวลาอาบน้ำแล้ว ถ้าอาบน้ำเสร็จเราค่อยมาเล่นต่อนะคะ” ทำเช่นนี้ ลูกจะรู้สึกว่าเราเคารพในความรู้สึกของเขา ขณะเดียวกันพ่อแม่ยังคงยืนหยัดในสิ่งที่ลูกต้องทำได้ด้วย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@marisahowenstine

4. เตือนล่วงหน้า หรือตกลงกันก่อน
การที่ลูกกำลังทำอะไรที่สนุกอยู่ แล้วพ่อแม่บอกให้หยุดทันที ลูกคงรู้สึกไม่พอใจ ดังนั้นถ้าสามารถเตือนหรือบอกล่วงหน้าก่อนได้ ควรบอกก่อน อาจจะเตือนล่วงหน้าเล็กน้อย ประมาณ 5 นาที และ 3 นาทีก่อนถึงเวลา เพื่อให้ลูกเตรียมใจ แต่ไม่ควรเตือนเกิน 3 ครั้ง เพราะการเตือนที่เกินกว่านี้ อาจทำให้พ่อแม่เริ่มหงุดหงิดแทน และลูกก็คิดว่าเราไม่เอาจริงด้วย

5. ให้ลูกมีตัวเลือก
วัยนี้ไม่ชอบถูกบังคับ พ่อแม่อาจไม่ต้องพูดถึงกิจกรรมที่ต้องทำ แต่ให้ตัวเลือกที่ลูกเลือกได้แทน เช่น เมื่อจะบอกให้อาบน้ำ บอกว่า “ถึงเวลาอาบน้ำแล้ว หนูจะเอาของเล่นอะไรไปเล่นดี ระหว่าง…กับ…” การบอกแบบนี้บางครั้งลูกจะลืมไปเลยว่าไม่อยากอาบน้ำ เพราะมัวแต่สนใจเลือกของเล่นแทนและยอมไปอาบน้ำแต่โดยดี การให้ตัวเลือกควรเป็นอะไรที่มั่นใจว่าจะให้ลูกได้ เรื่องที่ไม่อาจให้เลือกได้ไม่ควรถาม เช่น ไม่ควรถามว่า “หนูจะไปอาบน้ำหรือยัง” เพราะลูกจะรู้สึกว่าเลือกที่จะยังไม่อาบก็ได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@georgebakos

6. ใช้สิ่งล่อใจ
พ่อแม่อาจหาอะไรมาเป็นสิ่งล่อใจเล็กๆ น้อยๆ เช่น บอกลูกว่า “ถ้าหนูช่วยเก็บของเล่นจนเสร็จเราจะได้ไปปั่นจักรยานด้วยกัน” หรืออาจให้รางวัลเป็นสติ๊กเกอร์ หรือดาวก็ได้ รางวัลเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ถึงแม้มูลค่าไม่มาก แต่ได้ผลทางใจกับลูกมากเลยทีเดียว

ความขี้เกียจของลูกเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความหนักอกหนักใจให้คุณพ่อคุณแม่กันเกือบทุกบ้านเลยใช่ไหมคะ คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมนำเอาทั้ง 8 วิธีที่ DooDiDo นำมาฝากไปลองทำตามกันดูนะคะ คงจะพอเป็นตัวช่วยให้ลูกของคุณดีขึ้นบ้าง เพราะถ้าหากปล่อยไว้ไม่รีบแก้ไข เมื่อลูกโตไปเป็นผู้ใหญ่ เขาจะกลายเป็นคนที่ขี้เกียจ และไม่สามารถทำให้ชีวิตของเขามีการพัฒนา และเดินทางไปสู่ความสำเร็จได้ค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.rakluke.com